http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ATK เป็นขยะติดเชื้อ แนะกำจัดอย่างถูกวิธี ลดเสี่ยงโควิด-19

ATK เป็นขยะติดเชื้อ แนะกำจัดอย่างถูกวิธี ลดเสี่ยงโควิด-19

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนที่ใช้ ATK ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ต้องกำจัดอย่างถูกวิธี  เนื่องจากเป็นขยะติดเชื้อ เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการที่กระทรวงสาธารณสุข อนุมัติให้ประชาชนสามารถซื้อชุด ATK ใช้ตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองได้ กรณีที่มีการนำชุดตรวจโควิด-19 มาตรวจด้วยตนเองนั้น จะก่อให้เกิดขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อจากครัวเรือนมากขึ้น เช่น ตลับทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยด ไม้ Swap รวมถึงเอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ โดยชุดตรวจ ATK ที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยง ต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคต่อผู้จัดเก็บขยะได้ ซึ่งภายหลังการตรวจเชื้อด้วย Antigen Test Kit หรือชุดตรวจโควิด-19 ให้คัดแยกขยะออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ขยะที่ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น เอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ขยะประเภทนี้ให้เก็บรวบรวมทิ้งถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิดมิดชิดได้เลย

2) ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น ตลับหรือแผ่นทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยด ไม้ Swap ขยะประเภทนี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง ต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป เพราะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้ จึงขอให้ผู้ที่ใช้ ATK กำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค  โดยมีแนวทางการจัดการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 

1) กรณีในพื้นที่หรือชุมชนมีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ   ให้เก็บรวบรวมขยะติดเชื้อเป็นประจำทุกวัน ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น โดยถุงชั้นแรกที่สัมผัสขยะติดเชื้อ มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่น  บริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาว  ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง แล้วเคลื่อนย้ายไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ ประสานไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการเก็บ ขน ขยะติดเชื้อในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  เพื่อกำหนดวิธีการนำขยะติดเชื้อไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป

2) กรณีในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ หรือระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อเข้าไม่ถึง   ให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุงใบแรกที่บรรจุขยะติดเชื้อแล้วให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ   หรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่นแล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น  สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง ซึ่งขยะที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ นำไปกำจัดเป็นขยะทั่วไป 

ทั้งนี้ ภายหลังจัดการขยะติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ทันที

https://www.thaihealth.or.th/Content/55607

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,277
Page Views2,003,195
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view