http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ภาวะ AVF เสียงดังในหู สู่โรคทางสมอง

ภาวะ AVF เสียงดังในหู สู่โรคทางสมอง

อาการเสียงฟู่ที่ได้ยินในหู อาจเป็นอาการของโรคทางสมองอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ (Dural arteriovenous fistulas: DAVF) หากมีอาการควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ภาวะ AVF หรือภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดแดงกับโพรงหลอด เลือดดำบริเวณเยื่อหุ้มสมอง อาจส่งผลต่อการระบายเลือดกลับของสมองจะขึ้นกับตำแหน่งและความผิดปกติของโพรงหลอดเลือดดำ ภาวะนี้มีการแบ่งเป็น 2 ลักษณะตามการรบกวนการระบายเลือดกลับของสมอง ได้แก่ 1.ชนิดไม่รุนแรง 2.ชนิดรุนแรง จะเป็นชนิดที่รบกวนการระบายเลือดกลับของสมอง โดยจะส่งผลให้เกิดภาวะความดันในหลอดเลือดดำสมองสูง เนื่องจากไม่สามารถระบายเลือดออกได้ จึงทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดและภาวะเลือดออกตามมาในที่สุด

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการแสดงของภาวะชนิดไม่รุนแรง จะเกิดขึ้นตามตำแหน่งของหลอดเลือดดำที่ถูกรบกวน เช่น ผู้ป่วยมีภาวะเสียงดังรบกวนในหูตามจังหวะชีพจร ซึ่งเกิดจากการรบกวนโพรงหลอดเลือดดำที่ฐานกะโหลกบริเวณหู อาการต่อมาที่พบได้บ่อย คือ เสียงฟู่ สัมผัสได้บริเวณต่างๆ รอบศีรษะ และภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง เป็นอีกหนึ่งภาวะที่สามารถพบได้ เกิดจากการดูดกลับของน้ำเลี้ยงสมองส่วนใหญ่ต้องผ่านโพรงหลอดเลือดดำ ภาวะชนิดรุนแรงอาการส่วนใหญ่จะเกิดจากภาวะความดันในหลอดเลือดดำสมองสูง ได้แก่ ความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวผิดปกติ และแขนขาอ่อนแรง ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคมักเกิดตามหลังภาวะโพรงหลอดเลือดดำในสมองอุดตัน เป็นภาวะที่พบมากในผู้ป่วยเพศหญิง อาจเกิดตามหลังอุบัติเหตุทางศีรษะและความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด แต่บางครั้งก็ไม่สามารถหาสาเหตุได้ชัดเจน

การวินิจฉัยผู้ป่วยทำได้โดยแพทย์ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบฉีดสี หรือหากต้องการข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น แพทย์อาจพิจารณาผู้ป่วยส่งตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทโดยตรง เนื่องจากความซับซ้อนของสาเหตุการเกิดโรค จึงทำให้การป้องกันเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ตาม การดูแลและตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการรักษาโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และหลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะโรคนี้ได้ ปัจจุบันสถาบันประสาทวิทยามีการพัฒนา การรักษาโดยวิธีการใช้รังสีร่วมรักษา และการรักษาผ่านทางสายสวนหลอดเลือด โดย ไม่ต้องผ่าตัดเปิดสมอง ทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

https://www.thaihealth.or.th/Content/55502

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,309
Page Views2,005,415
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view