http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เพิ่มช่องทางเข้าถึงผ่าน Mobile Application

จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เพิ่มช่องทางเข้าถึงผ่าน Mobile Application

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนให้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยฉบับล่าสุดและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลผ่าน Mobile Application

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษามานานและรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2560-2564 เพื่อส่งเสริมการผลิตและใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยอย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้สนับสนุนให้เกิดสมุนไพรที่เป็น Product Champion เช่น ไพล บัวบก ขมิ้นชัน กระชายดำ รวมทั้งพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนให้มีการใช้สมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย 

แม้กระทั่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังมีการใช้สมุนไพร เช่น ขิง หอมแดง มะนาว กระชาย และฟ้าทะลายโจร ในการดูแลสุขภาพและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และอุปสรรค สำหรับธุรกิจสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย มีประเด็นสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ คือ ความไม่แน่นอนของคุณภาพวัตถุดิบหรือมาตรฐานของวัตถุดิบ

สำหรับปี พ.ศ.2564 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ.2564 (Thai Herbal Pharmacopoeia 2021) หรือ THP 2021 ขึ้น ประกอบด้วย มาตรฐานยาสมุนไพรทั้งหมด 109 มอโนกราฟ ได้แก่ วัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งมีมาตรฐานใหม่ 8 มอโนกราฟ ได้แก่ รากช้าพลู ไคร้เครือ กระวาน กัญชา ดอกจันทน์ ลูกจันทน์ ยาชงฟ้าทะลาย และยาชงมะขามป้อม รวมทั้งการนำมอโนกราฟสารสกัดกัญชาและยาน้ำมันกัญชาหยอดใต้ลิ้นจากตำรายาของประเทศไทย ฉบับเพิ่มเติม ปี 2020 (Thai Pharmacopoeia II Volume I Part 1 Supplement 2020) มาไว้ในฉบับเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้และอ้างอิง รวมถึงมีการปรับปรุงภาคผนวกที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย อาทิ ภาคผนวกการปนเปื้อนของเชื้อจุลชีพในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร (Microbial Contamination)

นอกจากนี้ ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลใน THP 2021 โดยผ่าน Mobile Application ชื่อว่า “Thai Herbal Pharmacopoeia” ทั้งระบบ Android และ iOS หรือทางเว็บไซต์สำนักยาและวัตถุเสพติด www.bdn.go.th/th/home ทั้งนี้ THP 2021 เป็นตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ประกอบด้วย ข้อกำหนดมาตรฐานทั้งทางด้านเภสัชเวทและพฤกษศาสตร์และทางด้านเคมี-ฟิสิกส์ รวมถึงข้อมูลด้านความปลอดภัย ขนาดการใช้ยาเบื้องต้น และการเก็บรักษาของยาสมุนไพร ซึ่งได้รับการยอมรับสำหรับการอ้างอิงตามกฎหมายในประเทศไทย และยังมีประโยชน์เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

ใช้ในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน ป้องกันการปนปลอมยาสมุนไพรที่พบมากในปัจจุบัน เพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้สมุนไพร ลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ เพิ่มการพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนธุรกิจการส่งออกสมุนไพรไทยด้วย

https://www.thaihealth.or.th/Content/55349


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,218
Page Views2,003,134
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view