http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคพังผืดในปอด อาการคล้ายโควิด-19

โรคพังผืดในปอด เป็นโรคปอดชนิดหนึ่งที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดจนเกิดแผลเป็นและพังผืด มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งโรคพังผืดในปอด กับโรคโควิด-19 มีอาการคล้ายกันมาก และเป็นโรคหายากที่ยังไม่ทราบสาเหตุ

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะทำงานโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม (ILD assembly) จัดกิจกรรม "เติมเต็มลมหายใจ" การสัมมนาผ่านทางช่องทางออนไลน์เฟซบุ๊ก เพจรู้ไว้ไอแอลดี ให้ความรู้โรคพังผืดในปอด (Fibrotic-ILD (Fibrotic-Interstitial Lung Disease) โรคหายากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า "โรคพังผืดในปอด หรือ Fibrotic-ILD (Fibrotic-Interstitial Lung Disease) เป็นกลุ่มโรคหายากที่เกิดการอักเสบตรงเนื้อเยื่อในปอด เดิมมีความท้าทายในการคัดกรองวินิจฉัยโรคอยู่แล้ว เนื่องจากอาการคล้ายโรคปอดและระบบหายใจอื่น ๆ ที่แพทย์คุ้นเคย เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในเพศชาย ภาวะหัวใจล้มเหลวในเพศหญิง วัณโรค มะเร็งปอด โรคหัวใจ แต่การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ยิ่งทวีความท้าทายให้กับแพทย์และผู้ป่วย เนื่องจากมีอาการคล้ายโรคโควิด-19 ทั้งอาการหอบเหนื่อย ไอแห้ง และการอักเสบที่ปอด ผู้ป่วยจึงควรเข้าใจโรคเพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยอาการที่บ่งชี้ว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคพังผืดในปอด ได้แก่ มีอาการไอ หรือหอบเหนื่อยมานานกว่า 2 เดือน โดยหาสาเหตุอื่นไม่พบ และไม่เคยสูบบุหรี่ ส่วนแพทย์หากสงสัยและส่งวินิจฉัยเพิ่มเติม หากมีผลเอกซเรย์ปอดที่ผิดปกติ ฟังเสียงหายใจผิดปกติที่ชายปอดทั้ง 2 ข้าง คล้ายเสียงลอกแถบตีนตุ๊กแก และออกซิเจนปลายนิ้วต่ำเมื่อออกกำลัง

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวต่อว่า   โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมต่อคนไทย รวมทั้งผลกระทบต่อคนไข้ที่เป็นโรคพังผืดในปอด ที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทั้งการเข้ารับยา ทำกายภาพบำบัด การเข้าถึงการรักษาด้วยออกซิเจนที่ทำได้จำกัด ไม่สามารถตรวจที่โรงพยาบาลตามนัด ถูกเลื่อนหรือส่งยาทางไปรษณีย์ ออกซิเจนขาดแคลน ในขณะเดียวกันโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบผู้ป่วยที่เข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ช้าเกินไป เช่น การเอกซ์เรย์ปอด การตรวจสมรรถภาพปอด และการตรวจชิ้นเนื้อ นั้นช้าลง ทำให้ผลการรักษาอาจออกมาได้ไม่ดี อีกด้านหนึ่ง ปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่จะถูกโจมตีโดยโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยทั้งหมดจะมี 30-50% ที่เกิดปอดอักเสบที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ ในจำนวนนี้เมื่อหายดีแล้ว อาจจะมีผู้ป่วยหนึ่งในหมื่น หรือน้อยกว่า นั้นเกิดปอดเป็นพังผืดถาวรใกล้เคียงกับโรคพังผืดในปอด หรือ Fibrotic-ILD ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเรื้อรัง รบกวนชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม

รศ.นพ.กมล แก้วกิติณรงค์ ประธานคณะอนุกรรมการโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า "โรคพังผืด ในปอดพบได้บ่อย ในประเทศตะวันตกมีความชุกของโรคอยู่ที่ 90-100 คน ต่อ 100,000 ประชากรต่อปี ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่เป็นทางการ แต่จากการรวบรวมของสมาคมฯ ในโครงการ IPF Registry ซึ่งเป็นโรคพังผืดในปอดชนิดไม่ทราบสาเหตุ เก็บรวบรวมผู้ป่วยได้กว่า 131 คน สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการอักเสบในปอดเกิดจากปัจจัยภายนอก คือ การหายใจรับทั้งสารมลพิษอินทรีย์ สารมลพิษอนินทรีย์ และปัจจัยภายใน เช่น ภาวะภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (autoimmune dysfunction) ทำให้เกิดการอักเสบในปอด และอาจจะไม่ทราบสาเหตุ แพทย์จะใช้ประวัติการตรวจร่างกายร่วมกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดความละเอียดสูง (HRCT) โดยอาจพิจารณาร่วมกับการประเมินทางผลปฏิบัติการอื่น ๆ ร่วมด้วย

"โรคพังผืดในปอด มีโอกาสเพิ่มความรุนแรงเป็นโรคพังผืดในปอดชนิดลุกลาม หรือ PF-ILD (Progressive Phenotype ILD) เกิดพังผืดหรือแผลเป็นบริเวณถุงลมและหลอดลมฝอย ทำให้ออกซิเจนผ่านไปที่ปอดและกระแสเลือดยากขึ้น ผู้ป่วยจะหายใจหอบเหนื่อย ทำให้อวัยวะขาดออกซิเจนและทำงานไม่เต็มที่ แผลเป็นที่ปอดจะไม่หายกลับมาเป็นเนื้อปอดปกติ ดังนั้น หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคพังผืดในปอดแล้ว ผู้ป่วยต้องไปตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังการลุกลามของโรคอย่างใกล้ชิด ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดส่งผลต่อการรักษา จึงได้เปิดตัวไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานต์ "ปอดโปร่ง" (O2LUNG) เพื่อช่วยติดตามการรักษา ผู้ป่วยสามารถบันทึกอาการผิดปกติและส่งให้แพทย์ได้ โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล ขณะที่แพทย์สามารถเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ด้วย"   รศ.นพ.กมล กล่าวถึงโรคพังผืดในปอด

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อุปนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า "โรคพังผืดในปอดที่มีอาการลุกลามมีความรุนแรงมากกว่ามะเร็งหลายอย่าง ผู้ป่วยจะมีการสูญเสียการทำงานของปอดอย่างต่อเนื่อง ทุกข์ทรมาน หายใจลำบาก และเสียชีวิตเมื่อปอดทำงานต่อไม่ได้ หรือภาวะหายใจวาย เทียบกับอัตรารอดชีวิตภายใน 5 ปี มะเร็งปอดเฉลี่ยอยู่ 20% โรคพังผืดในปอดไม่ทราบสาเหตุ 35% มะเร็งลำไส้ 60% มะเร็งเต้านม 85% และมะเร็งต่อมลูกหมาก 87% นอกจากนี้ โรคพังผืดในปอด วินิจฉัยไม่ง่ายและมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่นอยู่นาน และหากได้รับการรักษาที่เหมาะสมช้า ทำให้อัตราการรอดชีวิตน้อยลง เช่น ได้รับการรักษาช้า 1 ปี มีอัตราการเสียชีวิต 8% รักษาล่าช้า 1-2 ปี มีอัตราเสียชีวิต 18% รักษาล่าช้า 2-4 ปี มีอัตราเสียชีวิต 27% และรักษาช้ากว่า 4 ปี มีอัตราเสียชีวิต 32%

รศ.นพ.ฉันชาย กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันมียาต้านพังผืดในปอดซึ่งเป็นยาแบบมุ่งเป้า (targeted therapy) ที่ได้รับการรับรองครอบคลุมทั้ง 3 ข้อบ่งชี้ ประกอบด้วย พังผืดในปอดแบบไม่ทราบสาเหตุ พังผืดในปอดจากโรคหนังแข็ง และพังผืดในปอดชนิดลุกลาม ซึ่งสามารถที่จะชะลอการลุกลามของโรค ลดการกำเริบแบบเฉียบพลัน และลดอัตราการเสียชีวิตได้อีกด้วย โดยมีการรักษาชนิดอื่น ๆ ควบคู่ เช่นการบำบัดด้วยออกซิเจน การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการและคุณภาพชีวิตที่ดี วิธีป้องกันโรคพังผืดในปอดที่ดีที่สุดคือใส่หน้ากากหรือเครื่องป้องกันหากต้องอยู่ในภาวะเสี่ยง และหลีกเลี่ยงอย่าให้ปอดติดเชื้อ

https://www.thaihealth.or.th/Content/55364

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,713
Page Views2,008,878
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view