http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะประชาชน งดกินหมูดิบ เสี่ยงป่วยโรคไข้หูดับ

แนะประชาชน งดกินหมูดิบ เสี่ยงป่วยโรคไข้หูดับ

เมื่อวันที่ 6 ก.ย. นพ.พงษ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รอง ผอ.รพ.น่าน เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่จังหวัดน่านพบการระบาดของโรคติดเชื้อหูดับจากเนื้อหมูใน 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ภูเพียง, เมือง, ท่าวังผา, นาน้อย และ อ.แม่จริม มีผู้ป่วยซึ่งเป็นชายทั้งหมดรวม 12 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนักวิกฤติต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 2  ราย นอกจากนี้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นพ่อเฒ่าอายุ  86 ปี มีอาการติดเชื้อเข้าเยื่อบุประสาทและในกระแสเลือด ทำให้มีอาการคอแข็ง และหูไม่ได้ยิน กระทั่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา

นพ.พงษ์เทพ กล่าวว่า จากการสอบสวนโรคชาวบ้านได้ซื้อเนื้อหมูจากรถเร่ ที่วิ่งเข้า ไปตระเวนขายตามหมู่บ้าน จากนั้นนำมาทำเมนูลาบกินแบบดิบ ๆ สุก ๆ และเนื้อหมู ดังกล่าวมีเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในต่อมทอนซิลของ หมู ทำให้ติดเชื้อโดยผู้ป่วยทุกคนจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง หากผู้ป่วย มีโรคประจำตัว หรือเป็นผู้ดื่มสุราเป็นประจำ อาจส่งผลให้ติดเชื้อเข้าเยื่อบุประสาท ทำให้ คอแข็ง  หูไม่ได้ยิน ถ้าติดเชื้อเข้ากระแสเลือด จะมีความดันโลหิตลดลง จนช็อกเสียชีวิต ในที่สุด

รอง ผอ.รพ.น่าน ระบุอีกว่า อย่างไรก็ตามโรคหูดับมักระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ดังนั้นจึงขอแจ้งเตือนประชาชนควรเลือกซื้อหมูจากแหล่งขายที่เชื่อถือได้ จากโรงชำแหละที่ได้มาตรฐาน  และงดเมนูอาหารแบบดิบ ๆ สุก ๆ เพื่อความปลอดภัย

สำหรับโรคหูดับเป็นโรคที่เกิดในสุกร เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปกติจะอยู่ในสุกรเกือบทุกตัว ฝังอยู่ในต่อมทอนซิลของสุกร แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคแต่เมื่อร่างกายอ่อนแอ เครียดหรือป่วยโรคจะไปกดภูมิคุ้มกัน แบคทีเรียตัวนี้จะเพิ่มจำนวน ทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้หมูป่วยและตายได้ โดยโรคหูดับสามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง คือ 1. การบริโภคเนื้อสุกร เครื่องในสุกรหรือเลือด ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ปิ้งย่างที่ไม่สุก 2. ทางบาดแผล  รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสโรคหรือสุกรที่เป็นโรค

ขณะที่อาการของผู้ป่วยเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายใน 3 วัน จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดตามข้อ มีจ้ำเลือดตามตัว ตามผิวหนัง ซึม คอแข็ง ชัก มีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึก หากเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองและกระแสเลือด ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ และเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับประสาทหูชั้นใน เชื้อเลยลุกลามทำให้เกิดหนอง บริเวณปลายประสาทรับเสียง และปลายประสาททรงตัว ทำให้หูตึง หูดับ จนกระทั่งหูหนวก เวียนศีรษะและเดินเซตามมาได้ อาการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ผู้ป่วยจะเสียการได้ยินและอาจเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ส่วนการป้องกันโรคหูดับ คือไม่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่สุก ไม่กินหมูป่วยหรือหมูที่ตายจากโรค ควรเลือกบริโภคหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน สวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากสุกรที่ป่วย ล้างมือ ล้างเท้าหรืออาบน้ำให้สะอาดหลังสัมผัสสุกร เมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกร และกำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกรป่วย

https://www.thaihealth.or.th/Content/55263

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,372
Page Views2,003,290
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view