http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เเนวทางการจัดการสภาพเเวดล้อมและมูลฝอยติดเชื้อในศูนย์พักคอย

เเนวทางการจัดการสภาพเเวดล้อมและมูลฝอยติดเชื้อในศูนย์พักคอย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทีมลงพื้นที่ร่วมดำเนินงานศูนย์ความร่วมมือภาครัฐและประชาคมเพื่อผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมแนะแนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมและมูลฝอยติดเชื้อในศูนย์พักคอยให้เหมาะสม เน้นสถานที่โล่ง โปร่ง ไม่แออัด และสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในขณะนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยรอเตียงในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายหน่วยงานจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ รองรับผู้ป่วยที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด-19 โดยแยกผู้ป่วยออกมาจากบ้าน นำมาพักคอยที่ศูนย์ โดยมีการคัดกรองอาการและดูแลในเบื้องต้น เพื่อรอการส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล ลดปัญหาการแพร่ระบาดและติดเชื้อของคนในครอบครัวและชุมชน

ซึ่งล่าสุดกรมอนามัย ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมจัดทีมลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับชุมชน สำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ รวมถึงให้คำแนะนำการเตรียมการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ชุดแรกรับ ถุงขยะ คลอรีน ชุดตรวจคุณภาพน้ำ และจะลงพื้นที่สำรวจอีกครั้งก่อนเปิดให้บริการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน และเมื่อเปิดให้บริการแล้ว จะมีการติดตามการดำเนินงาน ทั้งในเรื่องของการจัดการน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก การจัดการขยะติดเชื้อ เส้นทางการขนส่งอาหารและขยะ ในกรณีของครอบครัวจะดูแลด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ดูแลด้านส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัย และลงพื้นที่กับกรมสุขภาพจิต เพื่อดูแลสภาพจิตใจต่อไป

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับสถานที่เพื่อใช้เป็นที่แยกกักตัวในชุมชนนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น ศาลาวัด หอประชุมโรงเรียน เป็นต้น 2) สถานที่ใช้แยกกักไม่ควรเกิน 200 คน เพื่อลดความแออัด และ 3) มีแนวทางปฏิบัติการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) ด้านการจัดการขยะติดเชื้อ ผู้ปฏิบัติงานเก็บรวบรวมขยะติดเชื้อต้องสวมชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมจัดให้มีภาชนะบรรจุ (ถุงแดง) และภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อ (ถังแดง) อย่างเพียงพอ มีการเก็บรวบรวมและเคลื่อนย้ายขยะติดเชื้อตามเส้นทางและเวลาที่กำหนด จัดให้มีที่พักรวมขยะติดเชื้อที่แยกเฉพาะและสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ รวมถึงประสานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาเก็บขนไปกำจัดอย่างถูกต้อง  2) ด้านการกำจัดน้ำเสีย ควรมีการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสมก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก มีระบบการฆ่าเชื้อโรคที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาที่ปล่อยน้ำเสีย 

3) ด้านการจัดการส้วมและสิ่งปฏิกูล ให้ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป ทิ้งไว้อย่างน้อย10 นาที เน้นเช็ดถูบริเวณจุดเสี่ยง เช่น ที่รองนั่งโถส้วม ฝาปิดโถส้วมที่กดชักโครก ราวจับลูกบิด กลอนประตู ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวที่เตรียมไว้หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5 เปอร์เซ็นต์ และต้องสวมถุงมือยาง รองเท้ายาง ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาด

https://www.thaihealth.or.th/Content/54987

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,329
Page Views2,003,247
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view