http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เชื้อดื้อยา CRE ในเด็ก ภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เชื้อดื้อยา CRE ในเด็ก ภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เชื้อดื้อยา หรือเชื้อแบคทีเรียดื้อยา มีสาเหตุสำคัญจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกวิธี เช่นเดียวกับการเกิดเชื้อดื้อยา CRE ในเด็ก ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้นาน 6-9 เดือน ทำให้สามารถก่อโรคไปยังระบบอื่นของร่างกายได้

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เชื้อดื้อยา CRE(Carbapenem-Resistant-Enterobacteriaceae) เป็น "เชื้อแบคทีเรีย" กลุ่ม Enterobacteriaceae (แบคทีเรียแกรมลบทรงแท่งที่พบในลำไส้) ที่ดื้อต่อยากลุ่ม Carbapenem ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อ โดยเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ Klebsiella pneumoniae, Escherichia Coli และ Enterobacter spp

รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เชื้อดื้อยา หรือเชื้อแบคทีเรียดื้อยา มีสาเหตุสำคัญจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียมีการปรับตัวและพัฒนาการดื้อยา จนไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะที่มีอยู่เดิม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรักษาโดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพ้ยาและอาจเกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ รวมทั้งยังส่งผลให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานยิ่งขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้น หรือกรณีรุนแรงที่สุด คือ ไม่มียาปฏิชีวนะใดที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้

นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวเสริมว่า เชื้อดื้อยา CRE สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้นาน 6-9 เดือน ทำให้สามารถก่อโรคไปยังระบบอื่นของร่างกาย และแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้ โดยมักพบการดื้อยา เมื่อร่างกายของคนเรามีความอ่อนแอ หรือได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน  ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยา CRE ในเด็ก คือ ดูแลบุตรหลานให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง โดยไม่ซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง เพื่อป้องกันการเกิดแบคทีเรียดื้อยา

นอกจากนี้เชื้อดื้อยา CRE สามารถแพร่กระจายเชื้อโดยการสัมผัส ผู้ดูแลผู้ป่วย ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ญาติ จึงควรหมั่นล้างมืออย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา CRE เมื่อพบอุบัติการณ์การในโรงพยาบาล

https://www.thaihealth.or.th/Content/54886


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,802
Page Views2,008,968
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view