http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย.– ปคบ. ทลายโรงงานลักลอบผลิตเครื่องสำอางเถื่อน ย่านบางมด

อย.– ปคบ. ทลายโรงงานลักลอบผลิตเครื่องสำอางเถื่อน ย่านบางมด

วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) โดย พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง, พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา, พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ, พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อมด้วย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลง    ผลการปฏิบัติ กรณีจับกุมผู้ลักลอบผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต    

           สืบเนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีประกาศเรื่อง ผลการตรวจสอบหรือวิเคราะห์เครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ กรณีครีมสมุนไพรสาหร่าย ยี่ห้อ MEIYONG (ครีมตลับสีขาว ฝาสีน้ำเงิน ทาก่อนนอน) ตรวจพบสารไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก , ครีมสมุนไพรสาหร่าย ยี่ห้อ MEIYONG (ครีมตลับสีขาว ฝาสีเขียว ทาเช้า - ก่อนนอน) ตรวจพบสารประกอบของปรอท ซึ่งเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ กฎหมายกำหนดโทษสำหรับผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  แต่ปรากฏว่ายังพบผู้ลักลอบผลิตเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวออกมาจำหน่ายในท้องตลอด จึงได้ประสาน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สืบสวนหาแหล่งผลิตและตัวผู้กระทำความผิดต่อไป

             ต่อมา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สืบสวนจนทราบแหล่งผลิตเครื่องสำอางรายใหญ่ จึงได้นำหมายค้น เข้าตรวจค้นบ้านพัก ย่านแขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ พบว่าบ้านหลังดังกล่าวถูกใช้เป็นสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ประเภทครีม จำนวนหลายยี่ห้อ เช่น ครีมสมุนไพรมะระ ยี่ห้อ Kissing , ครีมขมิ้นเฮอร์เบิล , ครีมสมุนไพรบ้านตะวัน , ครีมบำรุงผิวหน้า ยี่ห้อเลนาว , พีแคร์ครีม สมุนไพรขิง , ครีมไข่มุกผสมบัวหิมะ และพบเครื่องจักร , อุปกรณ์ในการผลิตครีม จำนวนหลายรายการ ตรวจสอบพบว่าครีมดังกล่าว ไม่ได้ขออนุญาตในการผลิตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ตรวจยึดเป็นของกลางนำส่งพนักงาสอบสวน กองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

             จากการตรวจสอบพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางที่สงสัยว่ามีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง (เครื่องสำอางที่เคยประกาศผลวิเคราะห์แล้ว)”  มีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ , ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางไม่จดแจ้ง” มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ , ฐาน “ผลิตเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากไม่ถูกต้อง” มีอัตราโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

              พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ฝากความห่วงใยถึงพี่น้องประชาชน ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งที่น่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน และแจ้งเตือนผู้ที่กำลังกระทำความผิด ลักลอบผลิตและจำหน่าย เครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที ถ้าตรวจพบจะดำเนินคดีถึงที่สุด หากพี่น้องประชาชนพบเห็นการกระทำความผิดสามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน ปคบ.1135 หรือเพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภค

              ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญทั้งเรื่องการแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด 19 ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย จึงได้มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเร่งรัดดำเนินการเพื่อคุ้มครองประชาชน สำหรับปฏิบัติการในครั้งนี้สามารถยึดวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องสำอาง ยาสเตียรอยด์ที่ลักลอบใส่ในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของกลางได้เป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้เป็นเครื่องสำอางที่ อย. เคยตรวจพบสารห้ามใช้จำพวก สเตียรอยด์ สารปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก ซึ่ง อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทลายแหล่งลักลอบผลิตและจำหน่ายพร้อมแจ้งเตือนประชาชนอยู่หลายครั้ง เช่น ครีมเหมยหยง ครีมโสมผสมบัวหิมะ ครีมประทินผิวฝาน้ำเงิน ฝาน้ำตาล เป็นต้น เครื่องสำอางเหล่านี้มักขายทางตลาดนัด ร้านเช่าในห้างสรรพสินค้า หรือช่องทางออนไลน์ จึงขอเตือนประชาชนให้เพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อเครื่องสำอาง อย่าซื้อเพียงเพราะหลงเชื่อคำโฆษณาว่า เครื่องสำอางนี้ช่วยรักษาสิว ฝ้า กระ รอยดำลดลง ช่วยให้ผิวกระจ่างใส ให้ผลเร็ว เพราะมักพบว่า มีการลักลอบใส่สารห้ามใช้ ซึ่งเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จากผิวที่ดูขาวจะกลายเป็นดำคล้ำ เป็นฝ้าถาวร หรือรอยแผลเป็นถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อนซื้อขอให้ตรวจสอบเลขที่จดแจ้งและติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือ
ไลน์ @fdathai หากพบการลักลอบผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/2080?fbclid


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,269
Page Views2,003,187
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view