http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะป้องกันปอดอักเสบ ลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อน

แนะป้องกันปอดอักเสบ ลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อน

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี แนะประชาชนดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เมื่อเป็นหวัดรักษาให้หายขาด หลีกเลี่ยงอากาศเย็น ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ฉีดวัคซีน และลดพฤติกรรมเสี่ยงป้องกันปอดอักเสบ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปอดอักเสบที่พบได้บ่อยคือปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการรับเชื้อในชุมชน ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา โดยเชื้อจะเข้าสู่ปอดทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบ สามารถรับเชื้อได้จากการไอจาม หรือหายใจรดกัน ซึ่งจะเอาเชื้อที่อยู่ในรูปละอองฝอยขนาดเล็กเข้าสู่ปอด การสำลักเชื้อที่อยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนลงสู่ปอด เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร หรือสารคัดหลั่ง การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต และการลุกลามจากการติดเชื้อของอวัยวะข้างเคียง สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัยแต่มักพบบ่อยในผู้มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ 1.เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หอบหืด

3.ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ 4. ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการให้เคมีบำบัด หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน 5.ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการ ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอกขณะหายใจหรือไอ มีไข้ เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก หอบ คลื่นไส้อาเจียน หนาวสั่น ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การหายใจล้มเหลว ไตวายเฉียบพลัน หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาปอดอักเสบเป็นการรักษาร่วมกับป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ทางแพทย์จะรักษาผู้ป่วยด้วยวิธี 1. ให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรีย 2.รักษาแบบประคองอาการ สำหรับโรคที่ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง เช่น การติดเชื้อ RSV 3.การรักษาภาวะแทรกซ้อน มักเกิดในกรณีของกลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรงมาก เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว

การป้องกันโรคจึงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ ได้แก่ 1.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อน วัคซีนป้องกันที่ใช้บ่อยคือ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดทุกปีก่อนฤดูฝนและฤดูหนาว โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ มี 2 ชนิด คือ วัคซีนแบบโพลีแซคคาไรด์ สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงและผู้สูงวัย และวัคซีนแบบคอนจูเกต สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ – 5 ปี ผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและผู้มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

2.ไม่สูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำลายกระบวนการป้องกันในระบบทางเดินหายใจ 3.ดูแลสุขอนามัยทั่วไป เช่น ล้างมือ หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น 4. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสีย หรืออากาศเย็น 5.เมื่อเป็นหวัดควรรักษาให้หายขาด 6.ไม่ดื่มเหล้า 7.สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

https://www.thaihealth.or.th/Content/54002


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,725
Page Views2,008,890
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view