http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

พัฒนาห้องแล็บ ช่วยตรวจหาเบาหวาน

พัฒนาห้องแล็บ ช่วยตรวจหาเบาหวาน

คนไทยป่วยเป็นโรคเบาหวานกว่า 4.8 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นมานานหลายปี มักจะพบปัญหาของการเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออาจสูญเสียอวัยวะและทำให้เสียชีวิต

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่จำเป็นต้องใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยัน โดยเฉพาะการตรวจหาระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีหรือไม่ ที่เรียกว่า การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C ; HbA1C)ช่วยสนับสนุนให้แพทย์ประเมินผลการรักษา ติดตามอาการ รวมถึงป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะยาวได้

สำหรับประเทศไทยการตรวจ HbA1C ในปัจจุบันมีความหลากหลาย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฝ่ายปฏิบัติการด้านเชื้อถ่ายทอดทางการ ให้เลือด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข เห็นถึงความจำเป็นในการประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจ HbA1C ดำเนินแผนทดสอบความชำนาญการตรวจ HbA1Cตั้งแต่ปี 2559 เพื่อประเมินผลการตรวจ HbA1C ของห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการสมาชิกกับค่าที่กำหนด (Assigned value) จาก International Federation of Clinical Chemistry (IFCC) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงระดับนานาชาติที่กำหนดค่ามาตรฐานของการทดสอบ HbA1cที่ได้รับมาตรฐานมีความน่าเชื่อถือ

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตรวจ HbA1C แห่งชาติในปีงบประมาณ 2564 นี้ กรมวิทย์จัดส่งตัวอย่างให้กับห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก 250 แห่งทั่วประเทศ จำนวน 3 ครั้งต่อปี โดยตัวอย่างทดสอบที่ส่งให้สมาชิก คือ Human whole blood ซึ่งไม่มีความแตกต่างจากตัวอย่างคนไข้ในการปฏิบัติงานจริง โดยชุดตัวอย่างได้ถูกแบ่งบรรจุจัดเตรียมร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจาก National GlycohemoglobinStandardization Program (NGSP) ในระดับ level I laboratory

ตัวอย่างที่ถูกแบ่งบรรจุแล้วตรวจสอบความเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity test) และความคงตัว (Stability test) โดยผ่านการวิเคราะห์ทางสถิติ ตามมาตรฐาน ISO13528 : 2015 ทำให้มั่นใจในความถูกต้องของชุดตัวอย่างและหากพบว่าผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการสมาชิกไม่ถูกต้อง ทางคณะผู้ดำเนินการจะร่วมปรับปรุงจนสามารถให้ผลการตรวจที่ถูกต้องจากนั้นจะมอบประกาศนียบัตรให้กับห้องปฏิบัติการสมาชิกที่เข้าร่วมแผนทดสอบความชำนาญฯครบทั้ง 3 ครั้งและมีการรายงานผลตรงเวลา

การเข้าร่วมแผนทดสอบความชำนาญจะทำให้ห้องปฏิบัติการสามารถนำข้อมูลไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ การตรวจวิเคราะห์ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ผู้รับบริการมั่นใจในผลการตรวจวิเคราะห์ สามารถตรวจติดตามสุขภาพและความเสี่ยงประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจให้การรักษาและปรับขนาดยาที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้องส่งผลดีต่อการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานของประเทศไทย” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/53517

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,387
Page Views2,005,493
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view