http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะควบคุมอาหาร ลดเสี่ยงไตเรื้อรัง

แนะควบคุมอาหาร ลดเสี่ยงไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรัง เป็นอาการของอวัยวะไตเสื่อมหรือไตวาย ผู้ป่วยควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดอาหารเค็ม ควบคุมน้ำหนักตัว และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

นาวาอากาศเอกหญิง วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี และพลอากาศโท นายแพทย์ อนุตตร จิตตินันทน์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า เบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่ง ของการเกิดโรคไตเรื้อรัง ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรได้รับการตรวจการทำงานของไต และตรวจปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยปีละครั้ง เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นสิ่งสำคัญ ในการทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง

ทำให้มีไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ และเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ด้วยการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควบคุมของหวานของมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

ความดันโลหิตสูง เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรังอันดับสอง และความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ ด้วยการลดอาหารเค็ม ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และรับประทานยาลดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

นิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไตเรื้อรัง การป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีข้ออักเสบ จากการที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น หากเป็นนานๆ และไม่สามารถควบคุมระดับกรดยูริกให้ปกติ อาจทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังได้ และการมีกรดยูริกสูงก็เป็นปัจจัยเร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมระดับกรดยูริกด้วยการควบคุมอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ผักมียอด เช่น ชะอม กระถิน เห็ด และรับประทานยาลดกรดยูริกตามที่แพทย์สั่ง

โดยสรุปอยากให้ทุกคนหมั่นตรวจสุขภาพไตเป็นประจำ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดโรคไต หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเองเป็นประจำ และอย่าหลงคำโฆษณาและหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพร ยาหม้อ หากทุกคนปฏิบัติตามเคล็ดลับที่แนะนำได้ ก็จะป้องกันการเกิดโรคไตดังที่ทุกคนปรารถนา

https://www.thaihealth.or.th/Content/53459

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,408
Page Views2,005,515
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view