http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

พัฒนาชุดตรวจโควิดในอาหาร สร้างความมั่นใจผู้บริโภค

พัฒนาชุดตรวจโควิดในอาหาร สร้างความมั่นใจผู้บริโภค

กรมวิทยาศาสตร์ฯ” พัฒนาชุดตรวจแอนติบอดี้โควิด-19 ที่ปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์และอาหาร มีความแม่นยำ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าการเตรียมพร้อมห้องปฏิบัติการ (แล็บ) เพื่อรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย สธ. โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย ด้วยเทคนิค Real-time RT PCR ซึ่งเป็นวิธีตรวจมาตรฐาน ที่องค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ พร้อมทั้งดำเนินงานตามนโยบาย “1 แล็บ 1 จังหวัด 100 ห้องปฏิบัติการ” รายงานผลใน 1 วัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาเชื้อโควิด-19

“ขณะนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองแล้ว 236 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมเกือบทุกจังหวัด เหลือเพียง 1 จังหวัด จะพัฒนาให้ตรวจได้ทั้งหมด สามารถรองรับการตรวจได้มากกว่า 20,000 ตัวอย่างต่อวัน (แบ่งเป็นศักยภาพการตรวจในกรุงเทพมหานคร 10,000 ตัวอย่างต่อวัน และศักยภาพการตรวจในต่างจังหวัด 10,000 ตัวอย่างต่อวัน หรือ 835 ตัวอย่างต่อเขตสุขภาพ ปัจจุบันมีจำนวนตัวอย่างที่ได้รับการตรวจสะสมรวม 1,217,873 ตัวอย่าง” นพ.ศุภกิจ กล่าว

นอกจากนี้ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ สยามไบโอไซเอนซ์ ร่วมวิจัยพัฒนาและผลิตชุดตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยวิธี Real-time RT-PCR สนับสนุนการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อให้รวดเร็วและทั่วถึง สร้างความมั่งคงด้านสุขภาพของประเทศไทย มีแหล่งผลิตชุดน้ำยาภายในประเทศ เพื่อการให้บริการตรวจคนไทย ตลอดจนสนับสนุนการคัดกรองเพื่อกักกันในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งเสริมการควบคุมและป้องกันโรคภายในประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีชุดน้ำยาตรวจ Real-time RT-PCR สำหรับโควิด-19 รองรับไปตลอด ช่วงระยะเวลาการระบาดของโควิด-19 มีการสำรองชุดน้ำยาตรวจไว้ใช้กว่า 700,000 ตัวอย่าง

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้พัฒนาชุดตรวจหาแอนติบอดี้ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ทั้งชนิด IgM และ IgG เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้หลักการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา ด้วยวิธีอิมมูโนโครมาโตกราฟี ชนิดอ่านผลด้วยตาเปล่าจากตัวอย่างซีรัม พลาสมา และเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งชุดตรวจนี้ เป็นการตรวจคัดกรองเท่านั้น และจะให้ผลที่มีความแม่นยำในกรณีที่ใช้กับตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อที่มีอาการมากกว่า 15 วัน

ทั้งนี้ การทดสอบและการแปรผลต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ และควรตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส ร่วมกับระดับแอนติบอดี้เพื่อเพิ่มความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคโควิด-19

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังได้พัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมเชื้อโควิด-19 ปนเปื้อนในบรรจุภัณฑ์และอาหาร โดยใช้ชุดน้ำยา DMSc COVID-19 Real-time RT-PCR Kit ซึ่งห้องปฏิบัติการได้ผ่านการเข้าร่วมแผนทดสอบความชำนาญการตรวจเชื้อโควิด-19 ผลอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ และพร้อมให้บริการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ประมาณเดือนธันวาคม 2563 ในตัวอย่างทุเรียนแช่แข็ง และบรรจุภัณฑ์ในราคา 7,000 บาทต่อตัวอย่าง

ใช้ระยะเวลาการตรวจประมาณ 3 วันทำการ เนื่องจากทุเรียนเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่สร้างมูลค่าให้กับประเทศไทยอย่างมาก เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ส่วนอาหารทะเลแช่แข็งชนิดอื่นๆ ขณะนี้อยู่ในกระบวนการทดสอบความใช้ได้ของวิธี ซึ่งจะเปิดให้บริการในลำดับต่อไป” นพ.ศุภกิจ กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/53440

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,352
Page Views2,005,458
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view