http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ยกระดับบัตรทอง รักษาทุกโรงพยาบาลปฐมภูมิ

ยกระดับบัตรทอง รักษาทุกโรงพยาบาลปฐมภูมิ

การยกระดับบัตรทองไปอีกขั้น ด้วยนโยบาย “ไปรับบริการที่หน่วยบริการ ปฐมภูมิไหนก็ได้” ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สิทธิได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเริ่มนำร่องใน พื้นที่ กทม. ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป

ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง กำเนิดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 18 ปี ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการรักษา ลดภาระค่าใช้จ่ายไม่ให้มีใครต้องล้มละลายจากการรักษา แถมทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นต้นแบบการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ถือเป็น "ของดี" ที่คนไทยสามารถอวดชาวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ปีนี้ระบบหลักประกันสุขภาพย่างเข้าสู่ ปีที่ 19 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงถือโอกาสยกระดับบัตรทองไปอีกขั้น ด้วยนโยบาย "ไปรับบริการที่หน่วยบริการ ปฐมภูมิไหนก็ได้" ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สิทธิได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเริ่มนำร่องใน พื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวถึงรายละเอียดของนโยบายนี้ว่า ก่อนหน้านี้ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพต้องลงทะเบียนกับหน่วยบริการปฐมภูมิที่ใดที่หนึ่ง และต้องไปรักษาที่หน่วยนั้น หากมีการเจ็บป่วยเกินศักยภาพของหน่วยบริการ จะมีการส่งต่อไปหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่า

นพ.จเด็จ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม บางครั้งประชาชนมีความสะดวกไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิอื่นด้วย  ไม่เฉพาะแค่ที่ลงทะเบียน ไว้อย่างเดียว เช่น ในพื้นที่กรุงเทพฯ การลงทะเบียนหน่วยบริการประจำไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง และมีหน่วยบริการรับส่งต่อเพียงแห่งเดียว ประชาชนบางส่วนอาจไม่สะดวกในการรับบริการในคลินิกที่ลงทะเบียนไว้

"ดังนั้นในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงได้มอบนโยบายแก่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพชุดใหม่ว่า ควรแก้ปัญหาในจุดนี้เพื่อยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดโอกาสให้ประชาชนไปรับบริการในคลินิกอื่นๆ หรือหน่วยบริการปฐมภูมิอื่น เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ใกล้บ้าน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกในการไปรับบริการมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเกิดกรณีที่ สปสช.ยกเลิกสัญญากับคลินิกชุมชนอบอุ่น 190 แห่ง สปสช.จึงถือโอกาสนี้ใช้นโยบายใหม่เข้ามานำร่องในเขต กรุงเทพมหานคร (กทม.) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป" นพ.จเด็จ กล่าว

รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สำหรับบริการใหม่นี้ จะแบ่งพื้นที่ในกรุงเทพฯ เป็น 6 โซน แต่ละโซนมีหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือศูนย์บริการสุขภาพของ กทม. ที่ประชาชนสามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้เฉลี่ยประมาณ 100 แห่ง

"เชื่อว่าเพียงพอที่จะอำนวยความสะดวกในการไปรับบริการใกล้บ้าน ส่วนโรงพยาบาลรับส่งต่อ จากเดิมที่มีโรงพยาบาลเดียว จะปรับ ให้แต่ละโซนมีโรงพยาบาลรับส่งต่อ 7-10 แห่ง ช่วยให้ประชาชนไม่จำเป็นต้องกังวลว่าในกรณีที่เจ็บป่วยมากๆ แล้วจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลที่ไม่มั่นใจ มีความหนาแน่น หรือเตียงไม่พอ อย่างไรก็ดี โดยหลักการแล้ว สปสช.อยากให้ทุกโซนมีโรงพยาบาลระดับ Super Tertiary หรือโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูง 1 แห่ง แต่ในทางปฏิบัติบางเขตพื้นที่ก็ไม่มีโรงพยาบาลลักษณะนี้ เช่น เขตลาดพร้าว ดังนั้น ในทางปฏิบัติก็อาจเป็นโรงพยาบาล (รพ.) ราชวิถี หรือ รพ.รามาธิบดี ที่รับดูแลให้ เป็นต้น" นพ.จเด็จ กล่าว

นอกจากนี้ นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า ในส่วนของหน่วยบริการที่จะเข้ามาร่วมให้บริการนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่งจะมีประชากรที่ต้องดูแลในพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 10,000 คน และอีกส่วนคือ คลินิกที่เป็นหน่วยร่วมบริการ เช่น คลินิกเวชกรรมที่เปิดช่วงเย็น คลินิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็น คลินิกโรคกระดูกและข้อ คลินิกสูตินรีเวช คลินิกเด็ก ฯลฯ ซึ่งแต่เดิมไม่มีในระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้เมื่อประชาชนต้องการพบแพทย์เฉพาะทางต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาล

"แต่ในระบบใหม่นี้ สปสช.ได้เพิ่มเข้ามา และหวังว่าจะช่วยให้บริการพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการบริการพิเศษเฉพาะทางต่างๆ ได้มากขึ้น หลังจากออกประกาศเชิญชวนหน่วยบริการเอกชนให้เข้าร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ขณะนี้มีคลินิกเวชกรรมติดต่อเข้ามาแล้วประมาณ 50 แห่ง ส่วนคลินิกที่สมัครเข้ามาเป็นหน่วยร่วมบริการมี 63 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่ขอข้อมูลไปแล้วและอยู่ระหว่างการตัดสินใจ ซึ่งคาดว่าใน 1-2 วันนี้ จะมีสมัครเข้ามาเพิ่มอีก

ผมขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนคลินิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่างๆ ให้เข้าร่วม โดย สปสช.จะจ่ายในลักษณะ free schedule ท่านเคยเก็บค่าบริการจากประชาชนอย่างไร ก็เปลี่ยนมาเก็บที่ สปสช.แทน เราได้เปิดโพสต์อัตราการจ่ายต่างๆ ในเว็บไซต์แล้ว หากท่านเห็นว่าเป็นราคาที่พอรับได้ ก็ขอเชิญชวนเข้า มาเป็นหน่วยร่วมบริการช่วยให้บริการประชาชนไปกับเรา" นพ.จเด็จ กล่าว

รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวย้ำว่า ในส่วนของประชาชนที่สงสัยว่าวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ขอเรียนว่าไม่ต้องทำอะไร คนที่มีหน่วยบริการประจำอยู่แล้วก็ไปใช้บริการเหมือนเดิม คนที่มีปัญหาถูกยกเลิกหน่วยบริการประจำ สปสช.จะหาคลินิกใหม่ให้ หรือถ้ายังไม่มีที่ลง ก็ยังสามารถไปหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่ายที่ไหนก็ได้เหมือนเดิม โดยวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ สปสช.จะประกาศรายชื่อ คลินิกที่สมัครเข้ามาทั้งหมด รวมกับคลินิกชุมชนอบอุ่น 134 แห่งที่มีอยู่เดิม เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบว่าจะไปรับบริการที่ไหนได้บ้าง

ด้าน นพ.ชวินทร์ ศิรินาค รองปลัด กทม. กล่าวว่า "พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง" ผู้ว่าฯกทม. ได้มอบนโยบายว่า กทม.ต้องช่วยเหลือพี่น้องประชาชนร่วมกับ สปสช.อย่างเต็มกำลัง โดยขณะนี้มีสถานพยาบาลที่เหลืออยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ กทม. 136 แห่ง และหน่วยงานของ กทม.ที่มีสถานพยาบาลก็มีอีก 2 ส่วน คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ใน 50 เขต อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักอนามัย กทม. และโรงพยาบาลอีก 11 แห่ง อยู่ในสังกัดสำนักการแพทย์ กทม. และยังมี รพ.วชิรพยาบาล ภายใต้การกำกับของ กทม.อีก 1 แห่ง ซึ่งในระบบบริการใหม่นี้ ศูนย์บริการสาธารณสุขในแต่ละเขต

นอกจากทำหน้าที่ให้บริการระดับปฐมภูมิแล้ว ยังเป็น Regulator ให้คำปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ กำกับดูแลคลินิกเอกชนที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในเขตนั้นๆ ทั้งคลินิกปฐมภูมิ และคลินิกร่วมบริการ เช่น เขตลาดพร้าวมีศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง มีคลินิกที่สมัครกับ สปสช. อาจมีทั้งคลินิกเด็ก คลินิกด้านกระดูก คลินิกสูตินรีเวช ซึ่งคลินิกทั้งหมดเหล่านี้จะร่วมกันให้บริการประชาชนโดยมีศูนย์บริการสาธารณสุขกำกับดูแลข้อมูล ให้คำแนะนำให้ทำตามระบบของ สปสช. ตลอดจนดูเรื่องมาตรฐานด้านกายภาพต่างๆ

"การดูแลสุขภาพในรูปแบบพื้นที่เขต จะทำให้รู้ว่าในพื้นที่นั้นๆ ปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตนั้นๆ เป็นโรคอะไรบ้าง เช่น เขตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตเล็ก แต่มีผู้สูงอายุมากที่สุด ถ้ารู้สภาวะ รู้บริบทของพื้นที่ จะทำให้หน่วยบริการด้านสาธารณสุขออกแบบกิจกรรมโครงการตอบสนองการแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง" นพ.ชวินทร์ กล่าว

ทั้งนี้ นพ.ชวินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า พื้นที่ กทม.มีความซับซ้อนต่างจากจังหวัดอื่นๆ การพัฒนาระบบบริการจึงต้องดึงภาคเอกชนเข้ามาช่วยให้มากขึ้น ซึ่งหากการยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่ กทม.ได้รับการตอบรับดี จะสามารถพัฒนาโมเดลเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่นๆ นำไปขยายผลการให้บริการในพื้นที่เขตเมืองของจังหวัดนั้นๆ ต่อไปได้

https://www.thaihealth.or.th/Content/53382

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,139
Page Views2,005,245
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view