http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เตือน ซื้อยาปฏิชีวนะรักษาสัตว์ทางออนไลน์ สุดเสี่ยง อันตรายถึงตาย

เตือน ซื้อยาปฏิชีวนะรักษาสัตว์ทางออนไลน์ สุดเสี่ยง อันตรายถึงตาย

อย. เตือน อย่าซื้อยาปฏิชีวนะรักษาสัตว์ผ่านช่องทางออนไลน์ เสี่ยงได้รับยาไม่มีคุณภาพ หรือยาปลอม และอาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษาไม่ได้ผลอาจทำให้สัตว์ตายได้ ขณะนี้กฎหมายไม่อนุญาตให้ขายยาใด ๆ ทางอินเทอร์เน็ต หากพบแจ้งเบาะแสที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application

           เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบพบการโฆษณาขายยาสัตว์ทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอี-มาร์เกตเพลส เฟสบุ๊ก เว็บไซต์ เป็นต้น โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เช่น กาน่ามัยซิน ซัลเฟต ชนิดฉีด (Kanamycin Sulfate injection) โดยเกษตรกรสั่งซื้อไปใช้ในฟาร์มของตนเองนั้น ขอเรียนว่า อย. มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกาน่ามัยซิน ซัลเฟต เป็นยาอันตราย มีสรรพคุณใช้ทำลายเชื้อแบคทีเรีย ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์หรือเภสัชกร ผลิตภัณฑ์ยาไม่ใช่สินค้าทั่วไป กฎหมายไม่อนุญาตให้ขายยาผ่านทางสื่อออนไลน์ การขายยาในลักษณะนี้จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่ง อย. ได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดแล้ว ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการกำหนดให้ต้องขายยาในร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นยาสัตว์ก็ตาม เนื่องจากเภสัชกรประจำร้านจะต้องแนะนำวิธีใช้ยาที่ปลอดภัย การซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ผู้ซื้อไม่สามารถทราบได้เลยว่าเป็นยาจริงหรือยาปลอม มีประสิทธิภาพ หรือมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงไร หรือสัตว์อาจได้รับผลข้างเคียงจากยาจนถึงแก่ชีวิต นอกจากนี้การใช้ยาปฎิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อที่ไม่ถูกต้อง นอกจากไม่สามารถรักษาการติดเชื้อได้แล้ว อาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา ในอนาคตหากมีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยก็จะทำให้การรักษาด้วยยาดังกล่าวไม่ได้ผล

           ขอเตือนไปยังผู้ขายยาให้ระงับการขายยาทางออนไลน์ทันที แม้ว่าจะเป็นร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งนอกจากจะถูกดำเนินคดีทางอาญาแล้ว อาจเป็นเหตุให้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขายยาอีกด้วย ส่วนอี-มาร์เก็ตเพลสขอให้บล็อกร้านค้าออนไลน์ที่โฆษณาขายยา เพราะหากตรวจพบการโฆษณาขายยาผ่านช่องทางดังกล่าวก็จะมีความผิดฐานขายยาและถูกดำเนินการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ขอให้คำนึงไว้เสมอว่า สัตว์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญในการใช้ยาเพื่อรักษาหรือป้องกันโรคด้วย โดยเลือกใช้ยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและขายตามช่องทางที่กฎหมายกำหนดภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์หรือเภสัชกร และหากเป็นกลุ่มยาควบคุมพิเศษก็ต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งจึงจะสามารถซื้อขายยาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์และร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตได้ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือระบบสืบค้นข้อมูลการอนุญาตทางเว็บไซต์อย. www.fda.moph.go.th และหากพบการลักลอบผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาสายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application รองเลขาธิการฯ อย.กล่าวในที่สุด

https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/1909?fbclid

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,624
Page Views2,008,787
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view