http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะเลี่ยงการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

แนะเลี่ยงการบริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ เสี่ยงอาหารเป็นพิษ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะเลี่ยงการบริโภคอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เนื่องจากไม่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อนเสี่ยงปนเปื้อนพยาธิ และหากไม่มีการปรุงประกอบอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาจทำให้เสี่ยงอาหารเป็นพิษตามมาได้

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าวซึ่งเป็นที่ฮือฮาในโลกออนไลน์ หลังผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์คลิปที่ตัวเองโพสต์ลงในแอปพลิเคชั่น TikTok ซึ่งเป็นคลิปขณะเทส้มตำลงจาน เป็นส้มตำปูที่สดมาก เพราะเป็นปูนาตัวเป็น ๆ 3 ตัว ที่เดินพล่านอยู่ในจานนั้น การบริโภคอาหารลักษณะนี้ถือว่าไม่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ไม่ผ่านการปรุงสุกหรือไม่ผ่านความร้อนเลย หรือใช้ความร้อนในระเวลาสั้น ๆ เช่น ส้มตำหลากหลายรูปแบบ ลาบหมู ก้อยเนื้อ รวมถึงอาหารประเภทยำต่าง ๆ ที่มักจะรวนเนื้อสัตว์พอสุกเท่านั้นแล้วใส่เครื่องปรุง และเน้นรสชาติที่เผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัด อาจทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในอาหาร ที่นำมาเป็นวัตถุดิบได้ ดังนั้น จากข่าวที่นำเสนอเป็นส้มตำปูนา จึงทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงพยาธิใบไม้ในปอด เพราะเวลากินปูดิบ ๆ เข้าไปก็มีโอกาสกินไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิตัวนี้เข้าไป ซึ่งนํ้าย่อยในกระเพาะไม่สามารถฆ่าให้ตายได้ แม้พยาธิตัวนี้จะไม่สามารถแพร่พันธุ์ในตัวคนเราได้ แต่จะชอนไชเข้าไปในปอดฟักตัวอยู่ประมาณ 1 เดือน จนทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด และทำให้เสียชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัยหากเป็นเมนูส้มตำปู ควรนำปูมากลวกสุกด้วยความร้อนก่อนนำมาปรุงอาหาร

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า  การปรุงประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นเมนูใด ก่อนนำวัตถุดิบมาปรุง ต้องล้างน้ำให้สะอาดเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารเคมีตกค้าง และต้องปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อนให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ต้องสุกถึงข้างในไม่ควรปรุงรสชาติเผ็ดจัดหรือเปรี้ยวจัดจนเกินไป ที่สำคัญคือให้เลือกซื้อจากร้านที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย หรือ Clean Food Good Taste ของกรมอนามัยรับรอง ที่สร้างความมั่นใจในเรื่องความสะอาดปลอดภัยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ร้านอาหารหรือแผงลอยจำหน่ายอาหารต้องมีการปกปิดอาหาร ผู้ปรุงไม่ใช้มือหยิบจับอาหารปรุงสำเร็จโดยตรง สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม

“ทั้งนี้ กรมอนามัยได้ออกกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2561 เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561 และคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคและพิทักษ์สิทธิของประชาชนในการรับบริการด้านอาหาร ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนักในอาหาร รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น” รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/53312

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,739,684
Page Views2,004,646
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view