http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะวิธีปฏิบัติตัวเมื่อแอมโมเนียรั่วไหล

แนะวิธีปฏิบัติตัวเมื่อแอมโมเนียรั่วไหล

รมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เตือนสารแอมโมเนียที่พบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ หากเกิดการรั่วไหลอาจเกิดอันตรายได้ แนะวิธีปฏิบัติตัว เพื่อความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้าง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่า แอมโมเนีย เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายสูง ต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นสารกัดกร่อนผิวหนัง ดวงตา ปอด และระบบการหายใจ ซึ่งแก๊สมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี เข้าสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้รับอันตราย ซึ่งในกรณี ที่ได้รับปริมาณน้อย จะมีอาการไอ หลอดลมตีบ แต่หากได้รับสารในปริมาณมากหรือเป็นระยะเวลานาน จะมีอาการทางเดินหายใจส่วนบนบวม ไหม้หรืออุดกั้น จนเกิดเสียงผิดปกติขณะหายใจเข้าได้ ซึ่งในบางกรณีอาจมีความรุนแรงถึงขั้นทำลายปอด นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายมักพบอาการอื่น ๆ ร่วม ได้แก่  กล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ หายใจดังวี๊ด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก น้ำท่วมปอด ปอดอักเสบ ขาดออกซิเจน หากสัมผัสผิวหนัง จะทำให้ระคายเคืองและไหม้ได้ 

หากสัมผัสตา จะทำให้เยื่อบุตาขาวอักเสบ น้ำตาไหล ระคายเคืองกระจกตา ตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้ อาการระยะยาว ผู้ที่สัมผัสแก๊สเป็นระยะเวลานาน อาจมีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย การทำงานปอดผิดปกติ ซึ่งหากเกิดการรั่วไหลของแก๊สแอมโมเนียในปริมาณน้อย  เริ่มแรกให้แยกผู้คนออกห่างจากบริเวณที่รั่วไหลเป็นระยะทาง 30 เมตร ในเวลากลางวัน และ 100 เมตรในเวลากลางคืน หรือหากมีการั่วไหลในปริมาณมาก ให้แยกผู้คนออกห่างจากบริเวณรั่วไหลเป็นระยะทาง 150 เมตร ในเวลากลางวัน  และ 800 เมตร ในเวลากลางคืน

นายแพทย์สมบูรณ์  ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติม แนวทางการระงับเหตุฉุกเฉินการรับสารแอมโมเนีย เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ การกินหรือการซึมผ่านผิวหนัง อาจทำให้เสียชีวิต ไอระเหย อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและการกัดกร่อนอย่างรุนแรง การสัมผัสกับก๊าซอาจทำให้เกิดแผลไหม้บาดเจ็บสาหัสหรือเนื้อตายจากความเย็นจัด หากสารลุกไหม้อาจทำให้เกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง/เป็นพิษ ซึ่งแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุก่อนถึงโรงพยาบาล มีดังนี้ ให้เคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุไปยังที่อากาศบริสุทธิ์ ให้คนไข้นอนราบกับพื้น หายใจช้า ๆ เปิดตาเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าบางชุบน้ำเปียกปิดปากและจมูกระหว่างขนย้ายออกจากพื้นที่  ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนแอมโมเนียออกทันที แต่ในกรณีเสื้อผ้าที่เย็นแข็งติดผิวหนัง ต้องทำให้อ่อนตัวก่อนถอดล้างร่างกายด้วยน้ำอุ่นสะอาดอย่างน้อย 15 นาที กรณีที่แอมโมเนียสัมผัสตา ให้ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ โดยเปิดน้ำไหลผ่านตา อย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว  กรณีที่แอมโมเนียสัมผัสผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่

กรณีหายใจเอาก๊าซแอมโมเนียเข้าไป ควรรีบเคลื่อนย้ายจากที่เกิดเหตุไปไว้ในที่อากาศถ่ายเท ถ้าผู้ประสบเหตุหายใจอ่อนให้ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ นาน 2 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที แต่หากหัวใจหยุดเต้นให้ปั๊มหัวใจทันที กรณีกลืนกินแอมโมเนีย ให้บ้วนปากด้วยน้ำมาก ๆ และดื่มน้ำ 1 แก้ว และทำให้อาเจียนโดยใช้ยาขับเสมหะหรือวิธีการล้วงคอ ยกเว้นในรายที่หมดสติ ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที และหากอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของแอมโมเนีย ให้เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมใช้งานเสมอ

https://www.thaihealth.or.th/Content/53306

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,305
Page Views2,005,411
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view