http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

บริโภคเนื้อสุกๆดิบๆ เสี่ยงโรคไข้หูดับ

บริโภคเนื้อสุกๆดิบๆ เสี่ยงโรคไข้หูดับ

จากข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์ ของกรมควบคุมโรค  พบโรคไข้หูดับ ในประเทศไทยในปี 2562 (ตั้งแต่ 1 มกราคม-31สิงหาคม2562) พบผู้ป่วย 265 ราย เสียชีวิต 23 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และ เกษตรกร โรคนี้เมื่อมีอาการป่วยแล้วจะก่อให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  ติดเชื้อในกระแสเลือด รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หรืออาจสูญเสียการได้ยินถาวร

นายแพทย์ธีรวัฒน์  วลัยเถียร ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกหนัก ทำให้ในฟาร์มหมูมีความชื้นและอาจทำให้หมูป่วยและติดเชื้อได้ง่าย

ดังนั้น จึงขอเตือนประชาชนระมัดระวังการบริโภคอาหารที่มีเนื้อหมูดิบ เลือดหมูดิบหรือสุกๆ ดิบๆ  โดยเฉพาะเมนู  ลาบ ก้อย หลู้ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นโรคไข้หูดับ สำหรับโรค “ไข้หูดับ” เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า  Streptococcus suis (สเตร็ปโตคอคคัส ซูอิส ) สามารถติดต่อสู่คนได้ จากการสัมผัสโดยตรง ทางบาดแผลที่ผิวหนัง การกินเนื้อหรือเลือดหมูที่ปรุงไม่สุก

โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย  อาการที่พบในคนที่ติดเชื้อได้แก่  มีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง คลื่นเหียน อาเจียน บางรายแสดงอาการไข้ร่วมกับมีผื่น หลอดเลือดอักเสบ อุจจาระร่วง  บางรายติดเชื้อที่เยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่รอดชีวิตยังคงมีความพิการหลงเหลืออยู่ เช่น ประสาทหูทั้งสองข้างอักเสบและเสื่อมจนหูหนวกถาวร การป้องกันสำหรับผู้มีฟาร์มหมูคือหมั่นทำความสะอาดฟาร์มด้วยน้ำยาทำลายเชื้อในโรงเรือน

ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มหรือโรงงานฆ่าสัตว์ โรงชำแหละ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ได้แก่ สวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันมิดชิด ปกคลุมแขน ขา สวมรองเท้าบู๊ท สวมถุงมือยาง สวมแว่นตาป้องกันในระหว่างปฏิบัติงาน หากมีบาดแผลต้องปิดบาดแผลให้สนิท และล้างมือหลังสัมผัสกับหมูทุกครั้ง  โดยธรรมชาติเชื้อจะถูกทำลายด้วยความร้อน ดังนั้น จึงควรรับประทานเนื้อหมูที่ปรุงสุกจึงจะปลอดภัย ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บป่วยจากโรคนี้

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภายหลังสัมผัสหมูที่ป่วยหรือหลังกินอาหารที่ปรุงมาจากเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ   ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและบอกประวัติการกินหมูดิบให้แพทย์ทราบ เพราะหากมาพบแพทย์เร็วจะช่วยลดความรุนแรงเป็นหูหนวก หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้

https://www.thaihealth.or.th/Content/53296

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 20/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,437
Page Views2,008,582
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view