http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวครึ่งซีก ควรรีบพบแพทย์

ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยวครึ่งซีก ควรรีบพบแพทย์

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา  เตือนหากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกด้วยมือถือ อาจเกิดอาการอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว  มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่คุณพ่อรายหนึ่งออกมาเตือน เนื่องจากเลี้ยงลูกด้วยโทรศัพท์มือถือ และปล่อยให้เล่นตลอดเวลา ติดโทรศัพท์ จึงทำให้ลูกเกิดอาการปากเบี้ยว โดยอาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ( Bell’s palsy ) คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เช่น ยิ้ม ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย ปากเบี้ยวถือเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง

นายแพทย์ธนินทร์  เวชชาภินันท์  ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว  มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูได้ยินเสียงดังขึ้นข้างเดียว ดื่มน้ำลำบาก ทั้งนี้ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดการอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าว แต่อาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว เช่น โรคงูสวัด ดังนั้น การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ จึงไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก

เด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง  ผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อรีบรักษา ซึ่งการรักษาอาการปากเบี้ยว ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม การรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น กระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือนวดใบหน้า ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็ง และการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าที่มักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

https://www.thaihealth.or.th/Content/53227

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,739,855
Page Views2,004,827
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view