http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคมือ เท้า ปาก โรคที่ต้องเฝ้าระวังในเด็กเล็ก

โรคมือ เท้า ปาก โรคที่ต้องเฝ้าระวังในเด็กเล็ก

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ปกครองและสถานศึกษา ในช่วงหน้าฝนนี้ระมัดระวังบุตรหลานป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก เน้นสังเกตอาการ หากมีไข้สูง ซึม อ่อนแรง ชักเกร็ง มือสั่น เดินเซ หายใจหอบเหนื่อย อาเจียน ให้รีบพบแพทย์ทันที และหมั่นทำความสะอาดของเล่นของใช้ ถ้าเด็กป่วยให้หยุดรักษาตัวอยู่บ้านจนกว่าจะหาย

นายแพทย์อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนและสถานศึกษาอยู่ในระหว่างเปิดการเรียนการสอน หลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง อากาศเย็นลงและมีความชื้น ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ที่มักพบบ่อยในช่วงนี้ สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-21 กันยายน 2563 พบผู้ป่วย 9,442 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือเด็กแรกเกิด-4 ปี (ร้อยละ 84.37) รองลงมาคืออายุ 7-9 ปี (ร้อยละ 4.29) และอายุ 5 ปี (ร้อยละ 4.25) ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นราธิวาส ยะลา น่าน เชียงราย และ แม่ฮ่องสอน

โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่พบมากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ และสามารถติดต่อจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าทางปากโดยตรง โดยเชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการไอ จาม รดกัน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมา 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปาก เพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีไข้ขึ้นสูง ซึม เดินเซ ชักเกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจติดเชื้อโรคมือ เท้า ปากชนิดรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทั้งนี้ ขอเน้นย้ำผู้ปกครองและครู ช่วยกันดูแลและสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ หากพบว่ามีอาการข้างต้น ให้พิจารณาหยุดเรียนและรักษาจนกว่าจะหาย และควรแจ้งให้ทางสถานศึกษาทราบ เพื่อทำการค้นหาเด็กที่อาจป่วยเพิ่มเติม

นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับวิธีป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีดังนี้ 1. ให้ผู้ปกครองสังเกตอาการของเด็กก่อนมาสถานศึกษา ส่วนสถานศึกษาขอให้คัดกรองเด็กก่อนเข้าเรียนทุกวัน หากพบเด็กไม่สบายหรือมีไข้ ควรพาไปพบแพทย์และให้พักอยู่ที่บ้าน 2. ให้เด็กสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ซึ่งเชื้อโรคมือ เท้า ปาก จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือเมื่อผู้ป่วยไปจับของเล่น ของใช้จะทำให้เชื้อกระจายสู่ผู้อื่นได้ หากลดการสัมผัสจะสามารถป้องกันการรับเชื้อได้ 3. หมั่นทำความสะอาดพื้นที่ที่เด็กใช้ร่วมกัน ของใช้ ของเล่นเด็กเป็นประจำเพื่อลดเชื้อโรคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม

4. หมั่นให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำและหลังเล่นของเล่น เพื่อลดเชื้อสะสมบนมือและลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น 5. จัดให้มีพื้นที่ในการเข้าแถวทำกิจกรรม หรือเล่นกลุ่มย่อย โดยมีการเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และ 6. หากพบเด็กป่วยขอให้แยกออกจากเด็กปกติและแจ้งให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน ควรให้หยุดเรียนและพาไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งวิธีดังกล่าว สามารถป้องกันได้ทั้งโรคมือ เท้า ปาก โรคโควิด 19 และโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

https://www.thaihealth.or.th/Content/53231

 

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,435
Page Views2,005,543
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view