http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายช่วงหน้าฝน ป้องกันโรคไข้เลือดออก

แนะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายช่วงหน้าฝน ป้องกันโรคไข้เลือดออก

แนะประชาชนและทุกภาคส่วน ร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในช่วงหน้าฝน ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาะในพื้นที่โรงเรียนที่กำลังจะเปิดเทอมและขอให้ยึดหลักปราบยุงลายใช้ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย นั้น กรมควบคุมโรค จึงขอเตือนประชาชนให้ช่วยกันสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์และระมัดระวังป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพราะอาจเสี่ยงป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยยุงลายได้

สำหรับโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่พบผู้ป่วยจำนวนมาก ได้แก่ โรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคจะมี 3 ระยะคือ ระยะแรก เป็นไข้สูงเฉียบพลัน 38-41 องศา และสูงลอยเกิน 2 วัน ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน อาจมีผื่น หน้าแดง ปวดท้อง หรือท้องเสีย มีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด แต่มักจะไม่มีน้ำมูกและไม่ไอ ใช้เวลา 2-7 วัน แล้วเข้าสู่ระยะที่สอง โดยหากมีภาวะช็อกจะมีอาการมือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็วกระสับกระส่าย ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย ถ้าเป็นเด็กเล็กจะสังเกตได้จากเด็กอาจซึมลง ทานอาหารได้น้อย

ซึ่งส่วนใหญ่เกิดอาการในช่วงที่หมอให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน ซึ่งถ้าหากกลับไปหาหมอช้าก็อาจจะอันตรายมากถึงกับเสียชีวิตได้  แต่หากไม่มีอาการช็อกในระยะที่สองนี้ก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปหาหมอ คนไข้จะค่อยๆ หายเข้าสู่ระยะฟื้นตัว ชีพจรเต้นดีขึ้น กินข้าวได้ ปัสสาวะดี อุณหภูมิกลับมาเป็นปกติที่ 37 องศาก็แสดงว่าหายเป็นปกติ  ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 22 มิถุนายน 2563 พบผู้ป่วย 20,562 ราย เสียชีวิต 11 ราย การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ พบอัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 5-14 ปี รองลงมาคืออายุ 15-24 ปี และอายุแรกเกิด - 4 ปี ตามลําดับ

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ขอให้ประชาชนและทุกภาคส่วน ร่วมดำเนินตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ดังนี้ 1.เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3.เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1.โรคไข้เลือดออก 2.โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3.โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาะในพื้นที่โรงเรียนที่กำลังจะเปิดเทอม ขอให้ครู เจ้าหน้าที่โรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และประชาชน ร่วมกันทำความสะอาดโรงเรียน กำจัดขยะ ทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดโปร่ง พร้อมทั้งสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนทุกสัปดาห์จนเปิดภาคเรียน

สำหรับยุงลายเป็นยุงรักความสะอาด ชอบพักอาศัยอยู่ใกล้ตัวคน เช่น ในบ้าน รอบบ้าน ชอบวางไข่ในภาชนะที่มีน้ำใสนิ่ง ในกาบไม้ที่มีน้ำขังได้ ยุงลายไม่ชอบน้ำเน่าเสีย เช่น ท่อระบายน้ำหรือบ่อน้ำขนาดใหญ่ซึ่งที่เหล่านั้นยุงรำคาญจะชอบ ยุงลายตัวเมียหนึ่งตัว ไข่ได้ถึง 100 ฟอง ใช้เวลาเพียง 7-10 วัน จากไข่ก็จะเจริญเติบโตเป็นยุงตัวแก่ได้ถึง 100 ตัว และยุงลายตัวเมียหนึ่งตัวไข่ได้หลายรอบ จึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ

ยุงลายออกหากินในเวลากลางวัน แต่ถ้าไม่ได้กินเลือดหรือกินไม่อิ่ม ก็จะออกหากินในเวลากลางคืนได้เช่นกัน ลดความเสี่ยงโดยป้องกันการเกิดโรคได้ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อไม่ให้ยุงเกิด หรือตัดวงจรการเกิดยุงด้วยการกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ เช่น กำจัดขยะ ภาชนะเก็บน้ำควรมีฝาปิด เปลี่ยนน้ำในแจกันหรือจานรองกระถางต้นไม้ นอกจากนี้ ต้องป้องกันยุงกัด โดยหลีกเลี่ยงไปในบริเวณที่ยุงชุกชุม ถ้าอยู่ในบริเวณที่ยุงชุกชุม ให้ทายากันยุงหรือใส่เสื้อแขนยาว ขายาว ควรนอนในห้องที่ติดมุ้งลวดหรือกางมุ้ง

ในการลดความรุนแรงของโรค โดยไม่ไปหาซื้อยากินเองเมื่อมีอาการไข้และสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก เพราะการกินยาแก้ไข้แก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ที่ร้านยาจ่ายให้ เช่นยาไอบรูโปรเฟน บรูเฟน โดยยังไม่ได้ทำการวินิจฉัยโรค ทำให้เสี่ยงต่อการทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่าย และทำให้แพทย์รักษาได้ยากขึ้น เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ฉะนั้นหากมีอาการคล้ายจะเป็นไข้เลือดออกดังข้างต้นคือ ไข้เฉียบพลัน ไข้สูงลอยเกิน 2 วัน อ่อนเพลีย อาจมีผื่น หน้าแดง หรือคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ให้รีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาต่อไป

https://www.thaihealth.or.th/Content/52639-แนะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายช่วงหน้าฝน%20ป้องกันโรคไข้เลือดออก.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,190
Page Views2,003,106
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view