http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โควิด-19 กับหลอดเลือดอักเสบในเด็ก

โควิด-19 กับหลอดเลือดอักเสบในเด็ก

กรมการแพทย์ แจงยังไม่พบหลักฐานหลอดเลือดแดงอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก หรืออาการคาวาซากิ สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 ขอผู้ปกครองอย่ากังวล เผยจากการเฝ้าระวังก็ยังไม่เคยเจออาการกลุ่มนี้

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลายประเทศทางตะวันตกที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า มีจำนวนเด็กที่เจ็บป่วยด้วยการอักเสบของอวัยวะหลายระบบทั่วร่างกาย คล้ายกับที่พบในโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) ซึ่งปกติจะพบบ่อยในเด็กเอเชีย แต่พบน้อยมากในเด็กอเมริกาหรือยุโรป โดยอาการที่พบจะเป็นอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ร่วมกับหัวใจอักเสบ และมีภาวะช็อก โดยมีเด็กจำนวนหนึ่งตรวจพบหลักฐานการติดเชื้อโควิด-19 ร่วมด้วย จึงเป็นที่มาของคำแนะนำในประเทศทางตะวันตก ว่า หากมีเด็กที่มีอาการแสดงที่น่าสงสัย หรือเข้าได้กับหรือกลุ่มอาการ Kawasaki หรือมีภาวะช็อกที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ ให้เฝ้าระวังเป็นพิเศษว่าอาจจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 และควรจะพิจารณาตรวจหาเชื้อร่วมด้วย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานเด็ก 3 คนในเมืองนิวยอร์กเสียชีวิต ด้วยอาการที่เข้าได้กับโรคคาวาซากิ และอยู่ในระหว่างสอบสวนโรคว่า มีสาเหตุจากการติดเชื้อโควิด-19 จริงหรือไม่

นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหลอดเลือดอักเสบ Kawasaki เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เข้าใจว่า เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับการสัมผัสกับสารก่อโรคในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี หรือจุลินทรีย์บางชนิด ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่รุนแรง จนกระทั่งเกิดการอักเสบของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยและจีน ยังไม่มีหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 กับกลุ่มอาการ Kawasaki นอกจากนั้น ในเดือนที่ผ่านมา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) มีผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับภาวะหลอดเลือดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ 2 ราย หลังจากรักษาประคับประคอง ผู้ป่วยฟื้นตัวดีซึ่งสามารถกลับบ้านได้ และไม่ได้พบว่ามีอุบัติการณ์ของโรคสูงเพิ่มขึ้นผิดสังเกตแต่อย่างใด

นพ.อดิศัย กล่าวว่า นอกจากนั้นยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิดโดยเครือข่ายแพทย์โรคติดเชื้อในเด็ก ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดอักเสบจากภูมิคุ้มกันของประเทศไทย ตลอดจนกุมารแพทย์โรคหัวใจในเครือข่าย Asian Kawasaki Disease Collaborating Research Network (AKDCRN) จากญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทย และมาเลเซีย แต่ก็ยังไม่มีการรายงานกลุ่มอาการนี้ ในทางตรงข้ามกลับพบว่า โรคคาวาซากิและการเจ็บป่วยเฉียบพลันลดลง จากการทำเว้นระยะห่างทางกายภาพ โดยสรุปในภูมิภาคเอเชีย ยังไม่พบมีจำนวนผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเหล่านี้มากขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย แต่ถ้าหากเด็กมีอาการที่น่าสงสัย คือ ไข้สูงหลายวัน มีผื่นผิวหนัง มีอาการทางเดินอาหารคลื่นไส้ อาเจียน ซึม ผิดสังเกต สามารถปรึกษากุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรมาขอคำปรึกษาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หมายเลข call center 1415 เพื่อให้คำแนะนำในการมาตรวจรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

https://www.thaihealth.or.th/Content/52282-โควิด-19%20กับหลอดเลือดอักเสบในเด็ก.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,128
Page Views2,005,234
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view