http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ทันตกรรมบนมาตรฐานใหม่ในบริบท COVID-19

ทันตกรรมบนมาตรฐานใหม่ในบริบท COVID-19 

จากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ในประเทศไทย ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน มีแนวโน้มของที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากตัวเลขการรายงานพบผู้ป่วยติด เชื้อรายใหม่ลดลง ผู้ป่วยหลายราย สามารถรักษาหายและกลับบ้านได้เป็นจำนวนมาก และคาดว่าด้วยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย วิกฤติครั้งนี้จะคลี่คลายในที่สุด

และในส่วนของทันตกรรม ที่ได้รับผลกระทบไม่น้อย จากสถานการณ์นี้ เนื่องจากความกังวลจะเกิดการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อได้ง่าย ทำให้คนไข้ต่างประสบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน จำนวนมาก ที่ไม่สามารถจะเข้าถึงการรักษาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยกเว้นกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน เท่านั้น ดังนั้น เมื่อสถานการณ์การระบาด COVID-19 ถูกควบคุมได้ระดับหนึ่ง จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ทันตแพทย์จะได้เตรียมความพร้อมรับมือเพื่อความปลอดภัยทั้งแพทย์และคนไข้นั่นเอง

ทันตแพทย์ พิทักษ์ ไชยเจริญ สมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการสาธารณสุขวุฒิสภา กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมหลัง COVID-19 คลี่คลาย ว่าที่ผ่านมาในส่วนของการรักษาด้านทันตกรรมของประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากการ ระบาดของโคโรนาไวรัส COVID-19 ทำให้มีการแนะนำเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโดยพยายามจำกัด การรักษาเฉพาะในกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉิน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความกังวลถึงความสามารถการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา ที่เกิดการติดเชื้อและ การแพร่กระจายได้ง่าย เมื่อเทียบกับ การติดเชื้อโรค SARS ซึ่งเป็น ไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน ตระกูล ไวรัสโคโรนาเช่นกัน

แต่ COVID-19 ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกปัจจุบัน ถึงสามล้านเศษ มากกว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโรค SARS (โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ซาร์ส) ซึ่งการระบาดเกิดขึ้นช่วงปี 2545-46 การระบาดดำเนินไปประมาณ 6 เดือน ส่งผล ให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 8,000 คน เสียชีวิต 774 ราย แต่ด้วยความสามารถ ความเสียสละ และ ความมุ่งมั่นของบุคลากรทางการแพทย์ ทุกท่าน ในระบบสาธารณสุขไทย ก็ทำให้ สถานการณ์การระบาดที่รุนแรง ครั้งนี้ ดีขึ้นเป็นลำดับ

ดังนั้น เมื่อสถานการณ์การระบาด COVID-19 ถูกควบคุมได้ระดับหนึ่ง จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ทันตแพทย์ในทุกๆหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ กลุ่มงาน ฝ่ายทันตกรรมในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทุกๆ ขนาด โดยเฉพาะในกระทรวงสาธารณสุขที่รับภาระหนัก ในภารกิจแก้ไขวิกฤติครั้งนี้จะต้องใช้เวลาอันมีค่าในช่วงจากนี้ในการมาร่วมกัน ประชุมหารือจัดระบบ กำหนดแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่จำเป็น ในการเตรียมพร้อมที่จะรองรับ การเข้ารับการรักษาด้านทันตกรรม เพื่อรักษาโรคฟันและช่องปาก ของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ เป็นวงกว้างในการจะเข้าถึงการรักษาด้านทันตกรรมในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ความสำคัญอย่างที่สุดเรื่องหนึ่งที่จะทำให้ การกลับมาของการรักษาทางทันตกรรมให้มีความมั่นใจ ลดความกังวลจากปัญหา COVID-19 คือ "การคัดกรองอย่างเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ"ก่อนคนไข้จะเข้าการรักษาทุกครั้ง ในการที่จะสามารถคัดกรองผู้ป่วย ที่สงสัยติดเชื้อ COVID-19 ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องแยกแผนการรักษาออกมาจากแผนการรักษาทั่วไป

ซึ่งหากพบคนไข้ทันตกรรม ที่เป็นผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 มีความจำเป็นที่จะแยกผู้ป่วย เข้าสู่ ระบบขั้นตอนการรักษาโรคติดเชื้อจาก COVID-19 ของกระทรวง สาธารณสุขก่อน ด้วยเหตุของการประกาศของกระทรวงสาธารณสุขให้ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ซึ่งหากมี ความจำเป็นฉุกเฉินด้านทันตกรรม ทันตแพทย์ก็จะต้องเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมแพทย์ ในการรักษาในกรณีคนไข้ที่สงสัยติด เชื้อ COVID-19 ในคนไข้คนนั้นๆ ซึ่งหากมีการคัดกรองอย่างเข้มข้น และมีประสิทธิภาพ การรักษาคนไข้ทันตกรรมที่ไม่มีความเสี่ยงติด เชื้อ COVID-19 ก็จะสามารถดำเนิน ได้ตามมาตรฐานปกติ ภายใต้ การป้องกันติดเชื้อและการรักษาตามมาตรฐานและปลอดภัยนอกจากนี้ ทันตแพทย์ พิทักษ์ ไชยเจริญ กล่าวว่า จากการ พูดคุยกับทันตแพทย์หลายๆ ท่านได้แนะนำประเด็นที่น่าพิจารณา เช่น

1.การวางแผนเรื่องการจัดการด้าน สถานที่ใหม่ อาทิ การจัดสถานที่ให้มีจุดคัดกรองขั้นต้นบริเวณที่กำหนดให้เป็นทางเข้าตามมาตรฐาน ทั้งตรวจอุณหภูมิ ซักประวัติตามแบบ ซักประวัติ ผู้เสี่ยงสงสัยติดเชื้อ COVID-19, ตรวจหาอาการที่อาจเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องจัดเตรียมบุคลากรและ วัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม-การจัดที่รับคิว การจัดที่นั่งรอใหม่มีระยะที่เหมาะสม ฯลฯ

2.การเพิ่มการคัดกรองซ้ำ และตรวจเช็คอุณหภูมิร่างกาย อีกครั้ง โดยทันตแพทย์ที่เก้าอี้ทันตกรรม ก่อนการรักษา(Double Check)

3.เคร่งครัดเรื่องการเตรียมคนไข้ ทุกคนทั้งก่อนและหลังรักษา เช่น ต้องป้วนน้ำยาป้วนปากฆ่าเชื้อก่อนและหลังทำการรักษา

4.เคร่งครัดเรื่องการเตรียมเก้าอี้ทำฟันทุกครั้งก่อนการรักษาหลังรักษาต้องมีการทำความสะอาด ฆ่าเชื้ออย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้ต้องมีระยะเวลาทิ้งห่าง ที่จะต้องให้คนไข้ รอนานขึ้น ระหว่างการเตรียมเก้าอี้ฟัน สำหรับคนไข้คนต่อๆ ไปรวมถึงพื้นที่ทำงานส่วนอื่นๆ กำหนดมีการทำความสะอาดเป็นระยะ

5.ทันตแพทย์ บุคลากรทางทันตกรรม ต้องมีและใส่อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้ออย่างพอเพียง และเหมาะสมตามมาตรฐานทุกครั้ง ที่ปฏิบัติงาน

6.พิจารณา ในการจัดหา ชุด PPE, อุปกรณ์ป้องกันติดเชื้อ ไว้ภายในหน่วยบริการ กรณีสงสัยพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ COVID-19 ณ จุดคัดกรอง

7.ซักซ้อมการใช้งานอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ

8.หน่วยงานทันตกรรมต่างๆ โดยเฉพาะที่มีผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ เช่น คณะทันตแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุขร่วมกันตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษา ผลกระทบของฝอยละอองที่เกิดจากการใช้เครื่องมือทันตกรรมทุกประเภท เช่น ฝอย ละอองจากการอุดฟัน ขูดหินปูน และหัตถการอื่นๆ ในทุกมิติ และศึกษาวิจัยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อิงหลักวิชาการ ถึงประโยชน์ กับ ผลกระทบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องดูดฝอยละอองแรงสูงในห้องรักษาทันตกรรม จากกรวยดูดที่มีลักษณะ ทิศทางการใช้งานที่แตกต่างกันในทุกมิติ เพื่อหา ข้อสรุปที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทางวิชาการ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ และสามารถ นำมาเพื่อพิจารณาใช้ในการทำงานหรือไม่อย่างเหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อเป็นการพัฒนา การรักษาการจัดการด้านทันตกรรม โดยเฉพาะ การป้องกันการติดเชื้อ จากโรคต่างๆ และเป็นการสร้าง ความมั่นใจและความพร้อมของ บุคลากรทุกคนหากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา COVID-19 ยังไม่ยุติโดยง่าย เนื่องจากเป็นการระบาดทั่วโลก และเตรียมความพร้อมรับมือหาก มีอุบัติการณ์โรคระบาดอื่นๆ ขึ้นมา

https://www.thaihealth.or.th/Content/52207-ทันตกรรมบนมาตรฐานใหม่ในบริบท%20COVID-19%20.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 20/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,370
Page Views2,008,515
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view