http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ปรับแนวทางการดูแลรักษาใหม่ ในผู้ป่วยโควิด-19

ปรับแนวทางการดูแลรักษาใหม่ ในผู้ป่วยโควิด-19

ปรับแนวทางดูแลผู้ติดโควิด-19 ทุกรายต้องรับดูแลในรพ.ก่อน 2-7 วัน ไม่มีอาการส่งเข้าโรงพยาบาล ขณะที่วันเดียวผู้ป่วยกลับบ้าน 215 ราย 15 จังหวัดปลอดผู้ป่วยโควิดรายใหม่รอบ 14 วัน อีก 4 จังหวัดรอบ 7 วัน ย้ำยังคงต้องเข้มมาตรการติดตามคนเข้าพื้นที่เข้มงวด

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ในการดูแลรักษาผู้ติดโควิด-19 จะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ไม่มีอาการ ซึ่งมีราว 20% ของผู้พบเชื้อ จะต้องรับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล 2-7 วัน หากไม่มีอาการ จะส่งเข้ารับการสังเกตอาการต่อในหอผู้ป่วยเฉพาะ หรือโรงพยาบาลเฉพาะกิจ เช่น โรงแรมที่เรียกว่า ฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากตรวจพบเชื้อ เมื่อหายกลับบ้าน สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่จะต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกไปนอกบ้าน แยกตัวเองจากบุคคลอี่นอยู่ห่าง 2 เมตร แยกห้องทำงาน ไม่กินอาหารร่วมกัน จนครบ 1 เดือน

กลุ่มที่ 2 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะอ้วน ภูมิคุ้มกันต่ำ โรคปอดเรื้อรังหรือถุงลมโป่งพอง โรคไตวายเรื้อรัง ตับแข็ง โรคเบาหวารที่ควบคุมไม่ได้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออัมพาต รักษาตามอาการหรือพิจารณาให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล 2-7 วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1

กลุ่มที่ 3 อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาลและติดตามภาพถ่ายรังสีปอด หากภาพถ่ายรังสีปอดปกติ วัน จากนั้นจะส่งเข้าสังเกตอาการต่อในฮอสพิเทล (Hospitel) จนครบอย่างน้อย 14 วันนับจากมีอาการ และเมื่อหายกลับบ้านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับกลุ่ม 1 และ2 กลุ่มที่ 4 ปอดอักเสบไม่รุนแรง ซึ่งมีราว 12 %ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในโรงพยาบาล และกลุ่มที่ 5 ปอดอักเสบรุนแรง พบราว 3% ของผู้พบเชื้อ ให้ยารักษาไวรัสในห้องไอซียู

ด้านนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยที่รักษาหายกลับบ้านได้ 215 ราย รวมมีผู้ป่วยรักษาหายแล้วทั้งหมด 342 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,299 ราย เสียชีวิตรวม 10 ราย ทั้งนี้ จากข้อมูลของผู้ติดเชื้อมากกว่า 50% อยู่ในช่วงอายุ 20-50 ปี และในกลุ่มผู้เสียชีวิตมีจำนวนหนึ่งที่อยู่ในช่วงอายุ 50 ปี ยังไม่เกิน60-70 ปี อีกกลุ่มคือมีโรคประจำตัว และอีกกลุ่มเกิดจากการรับเชื้อมากเกินไป เพราะฉะนั้นการที่ไปอยู่ในสถานที่ที่แนะนำว่าไม่ควรเข้า เช่น ผับ สถานทีค่แออัด แคบ หรือไปในที่ชุมชนบ่อยๆ โอกาสรับเชื้อมากก็จะเสียชีวิตได้

นายแพทย์สุขุม กล่าวอีกว่า ข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2563 จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในช่วง 7 วัน มี 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ ยโสธร ลพบุรี และสุโขทัย และ 15 จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วันล่าสุด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด นครนายก น่าน พังงา พิจิตร ระนอง ลำปาง สกลนคร บึงกาฬ สตูล สมุทรสงคราม อ่างทอง และสิงห์บุรี

“สถานการณ์ประเทศไทยตอนนี้ไม่เหมือนสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเท่าตัวใน 2 วัน และสถานการณ์ไม่น่าจะไปแบบสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ยังไม่ไว้วางใจไม่ได้เพราะยังไม่สามารถกดผู้ป่วยให้เป็นแบบสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และไต้หวันได้ เพราะฉะนั้นถ้าคนไทยช่วยกันปรับพฤติกรรมดำเนินการตามมาตรการรักษาระยะห่าง ไม่จำเป็นอย่าออกจากบ้าน อยู่บ้านก็ไม่สังสรรค์ให้ได้ 90% ก็จะช่วยลดผู้ป่วยลง” นายแพทย์สุขุมกล่าว

นายแพทย์สุขุม กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการรักษา เตียงรองรับผู้ป่วย ในกรุงเทพฯ เตียงในโรงพยาบาลและโรงแรมที่ใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ประมาณ 2,000 เตียง ขณะนี้มีผู้ป่วยรักษาอยู่ราว 700 ราย มีทั้งผู้ป่วยอาการหนักและอาการเบา โดยกลุ่มอาการหนักเตรียมเครื่องช่วยหายใจราว 300 เครื่อง ใช้รักษาผู้ป่วยอยู่ 20 ราย พื้นที่ต่างจังหวัดมีเตียงทั้งหมด 1.2 แสนเตียง ใช้รองรับผู้ป่วยโควิด-19เป็นการเฉพาะ 10,000 เตียง ขณะนี้ใช้รักษาผู้ป่วย 500 เตียง มีเครื่องช่วยหายใจ 1,000 เครื่อง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่เพียงพอแน่นอนหากเกิดการระบาดหนักๆ เพราะฉะนั้นประชาชนต้องช่วยกันอย่าให้ป่วยหรือไม่ให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นพร้อมๆกันจำนวนมาก

นายแพทย์ธนรักษ์ ผลพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 7 วันและ 14 วัน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่พบผู้ป่วยจำนวนน้อยและการสอบสวนโรคสามารถตามผู้สัมผัสผู้ป่วยได้ทั้งหมดทุกคน แม้จะพบผู้สัมผัสติดเชื้อภายหลังแต่ก็อยู่ในระบบรักษาและเฝ้าระวัง จึงไม่ไปแพร่เชื้อให้ใครต่อ เป็นการค้นหาผู้ป่วยได้โดยเร็ว อย่างไรก็ตาม จังหวัดเหล่านี้จะต้องคงมาตรการที่เข้มงวดต่อไป โดยจังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 7 วัน จะต้องค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงและในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย 7-14 วันก่อนหน้านี้ ส่วนจังหวัดที่ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในรอบ 14 วัน จะต้องเน้นมาตรการ เฝ้าระวังเชิงรุกค้นหากลุ่มก้อนของไข้หวัดในชุมชน และติดตามคนที่เข้ามาใหม่ในพื้นที่อย่างเข้มงวด

“สถานการณ์ในจังหวัดเหล่านี้เหมือนกับสถานการณ์ในกรุงเทพฯช่วงต้นๆที่การพบผู้ป่วยจะเกิดขึ้นจากการนำเข้ามาในพื้นที่ ในต่างจังหวัดก็เช่นกันการพบผู้ป่วยเกิดจากการที่มีคนติดเชื้อนำเข้าไปในพื้นที่ หากสามารถพบผู้ป่วยและติดตามผู้ใกล้ชิดได้หมดก็สามารถคุมสถานการณ์ไม่ให้เจอผู้ป่วยรายใหม่ได้ ส่วนผู้สัมผัสผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวัง เมื่อมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอก็สามารถนำเข้าตรวจหาเชื้อและรักษาพยาบาลได้ทันที อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าผู้สัมผัสผู้ป่วยทุกรายจะติดเชื้อ เพราะจากข้อมูลผู้สัมผัส 100 คน จะติดเชื้อประมาณ 2-4%” นายแพทย์ธนรักษ์กล่าว

นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวอีกว่า ฉากทัศน์การคาดการณ์สถานการณ์ที่กระทรวงสาธารณสุขใช้เพื่อวางแผนเตรียมการอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคมี 3 แบบ คือ 1.ไม่ทำอะไรเลย จะมีผู้ป่วยประมาณ 24,000-25,000 ราย 2.สามารถเพิ่มมาตรการรักษาระยะห่างได้ 50% จะมีผู้ป่วยราว 17,000 ราย และ 3.สามารถเพิ่มมาตรการรักษาระยะห่างได้ 80% มีผู้ป่วยราว 7,000 ราย จะเห็นได้ว่าห่างจากตัวเลขที่มีการพูดถึงผู้ป่วย 3.5 แสนรายและเสียชีวิต 7,000 รายค่อนข้างมาก และสูงกว่าความเป็นจริงทุกตัว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีมาตรการปิดเมืองเพียงแต่ปิดสถานที่เสี่ยงบางแห่ง คนยังใช้ชีวิตประจำวันได้ และทำงานได้ ในสถานที่ราชการและเอกชนก็ยังทำงาน รถติดทุกวัน จึงต้องการให้คนออกจากบ้านน้อยกว่านี้อีกมาก เพื่อทำให้ยอดผู้ป่วยรายใหม่ลดลง

การคาดการณ์ตัวเลขมากให้คนตกใจ พยายามขู่ให้คนกลัวกับโรคภัย ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะเมื่อไหร่ที่คนกลัว จนเกิดความวิตกกังวล คนจะปฏิบัติตัวโดยไม่มีเหตุผล อย่างเช่น เกิดการตีตราผู้ติดเชื้อ คนไข้ปกปิดข้อมูล ไม่เปิดเผยประวัติการป่วยหรือไปในสถานที่เสี่ยงติดโรค ซึ่งเริ่มมีปรากฎแล้ว การยิ่งเพิ่มความกลัว กังวลยิ่งเพิ่มโอกาสแพร่เชื้อได้มากขึ้น วิธีที่ถูกต้องคือให้คนรู้ความจริง ให้เกิดปัญญาและสติ ให้เขาตระหนักรู้ได้ด้วยตัวเอง ระยะนี้จึงอยากบอกว่าเป็นช่วงเวลาที่ต้องขอความร่วมมือประชาชนจริงๆ เพื่อชะลอการระบาดให้ช้าที่สุดและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ทุกอย่างอยู่ที่คนไทยทุกคนจริงๆ” นายแพทย์ธนรักษ์กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/51797-ปรับแนวทางการดูแลรักษาใหม่%20ในผู้ป่วยโควิด-19.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,289
Page Views2,003,207
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view