http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แพทย์รพ.ราชวิถี แนะคนไทยระวัง! "มะเร็งตับ"

แพทย์รพ.ราชวิถี แนะคนไทยระวัง! "มะเร็งตับ"

 แพทย์โรงพยาบาลราชวิถี แนะคนไทยระวัง มะเร็งตับ

                นพ.กนกพจน์ จันทร์ภิวัฒน์  นายแพทย์ชำนาญการ งานโรคทางเดินอาหาร  โรงพยาบาลราชวิถี 
               “มะเร็งตับ” เป็นโรคที่มีความสำคัญที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลกและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้มากที่สุดอีกโรค ซึ่งคร่าชีวิตคนไทยมานานแล้ว ปัจจุบันมะเร็งตับพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุสำคัญมาจากไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วน หากตรวจพบช้ามีโอกาสเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือนทั้งนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่ค่อยมีอาการแสดง กว่าจะได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกก็มักอยู่ในระยะท้ายของโรคแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญต้องรู้เท่าทัน -หมั่นตรวจเช็ค- ดูแลสุขภาพตัวเองและคนใกล้ชิด
              จากสถานการณ์ในปัจจุบัน โรคมะเร็งถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของไทย ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ60,000 คนต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 8 ราย โดยมีสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 5 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก จากสถิติมะเร็งตับฯ คือการตายอันดับ1 พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับที่ 3 ของเพศหญิง
              “ตับ” เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยกำจัดสารพิษและของเสีย ผลิตน้ำดีในการย่อยอาหาร ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด สร้างและเก็บสะสมแป้งและไขมันเพื่อเป็นพลังงาน รักษาสมดุลในร่างกาย ดังนั้นเมื่อเซลล์บริเวณตับมีลักษณะหรือการทำงานผิดปกติแล้วพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุดซึ่งมักเกิดจากการที่ตับอักเสบพัฒนาอักเสบพัฒนาไปเป็นตับแข็งและเซลล์ตับแข็งพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งตับ ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการแพร่กระจาย และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของโรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นระยะที่ยากต่อการรักษา
            สาเหตุของมะเร็งตับ เกิดจากภาวะตับแข็งที่มาจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรังทั้งบีและซี การดื่มแอลกอฮอล์ ไขมันเกาะตับ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้ โดยโรคมะเร็งตับมักไม่มีสัญญาณหรืออาการบ่งบอกในระยะแรก จนพัฒนาถึงขั้นแสดงอาการจึงจะสังเกตได้ดังนี้ คือ น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่อยากอาหาร รู้สึกอิ่มแม้รับประทานไปเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บช่องท้องส่วนบน โดยมักจะปวดบริเวณด้านขวา มีอาการบวมที่ช่องท้องหรือคลำพบก้อนใต้ชายโครงด้านขวา เนื่องจากตับโต เมื่อคลำพบก้อนที่ชายโครงด้านซ้ายเนื่องจากม้ามโต ผิวหนังและตาเหลือง (ดีซ่าน) อุจจาระอาจมีสีซีดลง อ่อนแรงและเหนื่อยล้าอาการคันตามร่างกาย และไข้เรื้อรัง
            การวินิจฉัยก่อนที่จะสาย การตรวจมะเร็งตับสามารถทำได้หลายวิธี คือ
การตรวจเลือดเพื่อตรวจมะเร็งตับ เป็นวิธีตรวจหาค่าโปรตีนที่ผลิตจากเนื้องอกตับ สามารถตรวจหามะเร็งตับในผู้ป่วยได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจะมีค่ามะเร็งตับ (AFP) สูงกว่าปกติ
การถ่ายภาพตับ การวินิจฉัยด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือซีทีสแกน
(CT scan) หรือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การเจาะชิ้นเนื้อตับ ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างจากก้อนที่สงสัยที่ตับเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่ ในกรณีที่ผลตรวจการถ่ายภาพและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระบุแน่นอนแล้วว่าเป็นมะเร็งตับก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่ต้องเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจอีก
        การรักษาโรคมะเร็งตับ แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ทำได้ โดยพิจารณาจากสุขภาพของผู้ป่วย ระยะของโรคมะเร็งตับ ขนาดของก้อนมะเร็ง จำนวนของก้อนมะเร็ง ค่าการทำงานของตับ โดยมีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
การผ่าตัด ในระยะเริ่มแรก เมื่อเนื้องอกยังมีขนาดเล็กและอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของตับ การรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัดเอาเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก หรือตัดตับบางส่วน
การผ่าตัดเปลี่ยนตับ    วิธีนี้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะเริ่มแรกที่มีเนื้องอกขนาดเล็กและมีจำนวนไม่มาก
รังสีรักษา    การรักษาด้วยการฉายรังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอกซเรย์และโปรตอนตรงไปยังเซลล์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง
เคมีบำบัด    การให้ยารับประทานหรือฉีดยาฆ่าเซลล์มะเร็งไปยังหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง
Ablative Therapy    การฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการฉีดสารเข้าไปที่เนื้อร้ายโดยตรง สารที่ใช้ฉีดอาจเป็นความร้อน เลเซอร์ กรด หรือแอลกอฮอล์ชนิดพิเศษ หรืออาจใช้คลื่นวิทยุก็ได้การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เป็นวิธีการใช้ยาเพื่อชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงกับเซลล์ที่มีความผิดปกติมากขึ้นกว่าการทำเคมีบำบัดทั่วไป
        การป้องกันโรคมะเร็งตับโดยลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับ
โรคตับแข็งที่สัมพันธ์กับมะเร็งตับการป้องกันมะเร็งตับจึงควรลดปัจจัยที่นำไปสู่โรคตับแข็งด้วย เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไปโดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปริมาณไขมันที่บริโภค และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี การป้องกัน ทำได้ด้วยการฉีดวัคซีน ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการติดต่อเชื้อทั้ง 2 ชนิดจากผู้อื่นทำได้โดยการสร้างสุขอนามัยที่ดี เช่น ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี ไม่ใช้เข็มฉีดยา หรือเข็มที่ใช้สักลายตามร่างกายร่วมกับผู้อื่น
       ทั้งนี้ มะเร็งตับไม่ใช่โรคไกลตัวอย่างที่หลายคนเข้าใจ นอกจากการดูแลสุขภาพด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆแล้วนั้น
       การตรวจสุขภาพเป็นประจำคือสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจไวรัสตับอักเสบบีและซี รวมถึงเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งตับได้เป็นอย่างดี
       รพ.ราชวิถี รักษาผู้ป่วยมะเร็งตับและมีผู้ป่วยมะเร็งฯ ที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ บุคลากรทางการแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องรักษาอาจต้องรอคิวการรักษายาวนานซึ่งการรอเพื่อรับการรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งเหล่านี้ เป็นปัญหาสำคัญ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วโอกาสที่จะหายสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

https://www.thaihealth.or.th/Content/50658-แพทย์รพ.ราชวิถี%20แนะคนไทยระวัง!%20%22มะเร็งตับ%22.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,134
Page Views2,005,240
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view