http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ผู้ป่วยติดเตียง เสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน

ผู้ป่วยติดเตียง เสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน

ประชากร 1 ใน 4 เสียชีวิตจากปัญหาภาวะลิ่มเลือดอุดตัน นำไปสู่ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (VTE)รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ส่งผลต่อชีวิต ความเสี่ยงจากภาวะดังกล่าว สาเหตุหลักเกิดจากการนอนติดเตียงหลังรักษาตัวในโรงพยาบาล ขณะเดียวกันการใช้ชีวิตประจำวันก็สามารถทำให้เกิดภาวะดังกล่าวได้

นพ.ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา อาจารย์และ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาภาวะลิ่มเลือดอุดตัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ว่าโรคหลอดเลือดดำอุดตัน (VTE) คือ ปัญหาภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่อันตรายถึงชีวิต โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป มีผู้ป่วยที่เผชิญกับโรคหลอดเลือดดำอุดตันมากกว่า 10 ล้านกรณีในแต่ละปี ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากกว่ายอด ผู้เสียชีวิตจากโรงมะเร็งเต้านม เอชไอวี และอุบัติเหตุทางรถยนต์รวมกัน

ทั้งนี้ โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (VTE) เกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดง หรือหลอดเลือดดำในร่างกาย โดยลิ่มเลือดอาจหลุดจากผนังหลอดเลือดแล้วลอยไปตามกระแสเลือด สู่ปอด นำไปสู่โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (PE) โดยทั่วไป ภาวะลิ่มเลือดอุดตันเป็นภาวะที่สามารถป้องกันได้

แต่มักถูกพบหลังจากเกิดกระบวนการทางการแพทย์แล้ว เช่น การผ่าตัดใหญ่ โดยเฉพาะการผ่าตัดที่เกี่ยวกับช่องท้อง กระดูกเชิงกราน สะโพก และขา, ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เช่น การผ่าตัดข้อสะโพก หัวเข่า, การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์เพศหญิง, การผ่าตัดเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ, ศัลยกรรมประสาท, การผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด, การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงส่วนปลาย การให้เคมีบำบัดรักษามะเร็ง

ติดเตียง ไม่เคลื่อนไหว เสี่ยงสูง

นพ.ชาตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การนอนติดเตียงหลังรักษาตัวในโรงพยาบาล ถือเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งมากกว่า 60% ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดดำอุดตัน เกิดโรคดังกล่าวในช่วงของการรักษาตัวในโรงพยาบาล
โดยงานวิจัยที่สนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ประเทศที่รายได้ปานกลางถึงต่ำ มีจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้พิการจากโรคหลอดเลือดดำที่เกิดในโรงพยาบาล มากกว่าภาวะแทรกซ้อนหรืออุบัติเหตุในโรงพยาบาลอื่นๆ อาทิ อาการปอดบวมในโรงพยาบาล การติดเชื้อในกระแสโลหิตจากการใส่สายสวนหลอดเลือดดำ หรือความคลาดเคลื่อนทางยา เป็นต้น

"โดยทั่วไปความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น มีผลกระทบจากการเคลื่อนไหวที่ลดลง เนื่องจากผู้ป่วยต้องนอนติดเตียงในช่วงรักษาตัว การเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดลงก่อให้เกิดการจับตัวของเลือด ซึ่งทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติความเจ็บป่วยเกี่ยวกับเส้นเลือด ซึ่งอาจมาจากการผ่าตัด หรืออุบัติเหตุ ก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดดำอุดตันสูงขึ้น" นพ.ชาตรี กล่าว

ขาบวม เจ็บหน้าอก รีบพบแพทย์

สำหรับภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน มี 2 ประเภท ส่วนใหญ่มักอุดตันบริเวณขา หรือ "ภาวะหลอดเลือดตีบลึก" (DVT) และหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ลิ่มเลือดอาจหลุดตามกระแสเลือดและมาอุดตันที่ปอดได้ หรือที่เรียกว่า "โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด" (PE) ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตอาการ เช่น  มีอาการเจ็บบริเวณน่องและต้นขา อาการขาบวม (แตกต่างจากขาบวมเนื่องจากโรคไต คือ ขาบวมข้างเดียว) ผื่นแดง สีผิวที่เปลี่ยนไป ขณะที่หากลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ผู้ป่วยทั่วไปจะมีอาการหายใจสั้น หายใจเร็ว การเจ็บปวดบริเวณหน้าอก (ซึ่งอาจรุนแรงขึ้นเมื่อหายใจลึก) หัวใจเต้นเร็ว

อาการมึนหัว และเป็นลม

ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด หรืออยู่ในภาวะเสี่ยง ต้องหมั่นตรวจเช็กอาการตัวเอง การตรวจสามารถทำได้ดังนี้ คือ ที่ปอด ด้วยวิธี ทีซีสแกน และที่ขา ด้วยวิธีอัลตราซาวนด์ วิธีการรักษามี 2 วิธี คือ 1.การใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และแอสไพริน 2.การใช้เครื่อง Intermittent pneumatic ในกรณีเกิด "ภาวะหลอดเลือดตีบลึก" (DVT) ปั๊มบริเวณขา ทั้งนี้ การใช้ยารับประทานข้อดีคือ การเข้าไปสลายลิ่มเลือด ต้องรับประทานต่อเนื่อง 3 เดือน แต่ข้อเสียคือ ทำให้คนไข้เลือดออกเยอะเมื่อเจออุบัติเหตุ ดังนั้น ควรใช้เมื่อจำเป็นและอยู่ในการดูแลของแพทย์

นพ.ชาตรี กล่าวเสริมว่า คนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงโรคนี้ โดยเมื่อปีที่ผ่านมา เราพบว่ามีเพียง 26% ของคนไทย ที่ตระหนักถึงภาวะหลอดเลือดตีบลึก (DVT) และมีเพียง 30% ที่รู้เกี่ยวกับโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด การเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาภาวะลิ่มเลือดอุดตันกับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยการให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และบุคคลทั่วไป จะช่วยให้เราสามารถสังเกตโรคดังกล่าวได้ง่ายขึ้น และนำไปสู่การรักษาอย่างทันท่วงที

คนทั่วไป นั่ง-นอนนาน เสี่ยง

คนทั่วไปเอง ต้องระมัดระวังไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยง ซึ่งเกิดได้หลายกรณี เช่น นั่งนาน นอนนาน การขึ้นเครื่องบินหรือการเดินทาง ที่เสี่ยงสูงที่สุด คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน ในระยะเวลานานๆ 8 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่ใช่แค่ระยะเวลาที่นั่งอย่างเดียว แต่ยังสัมพันธ์ไปถึงความเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ การขาดน้ำ ความชื้นเปลี่ยน ดังนั้น ระบบในร่างกายของเราจึงเอื้อต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เพราะฉะนั้น หากอยู่ในภาวะแบบนั้นในระยะเวลานาน เราอาจจะต้องมีการบริหารร่างกาย และดื่มน้ำให้เพียงพอ และพยายามขยับขาเป็นระยะ และหากเป็นไปได้อาจจะต้องเดินไปเดินมาในทุกๆ ช่วง

"นอกจากนั้น พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหากไม่มีโรคเพิ่ม เช่น ความดัน เบาหวาน หรือโรคที่ต้องนอนติดเตียง จะลดความเสี่ยงไปได้อีก ท้ายที่สุด เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายระดับโลกของสมัชชาองค์การอนามัยโลก ในการลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อลง 25% ภายในปี 2568" นพ.ชาตรี กล่าวทิ้งท้าย

https://www.thaihealth.or.th/Content/50290-ผู้ป่วยติดเตียง%20เสี่ยงหลอดเลือดดำอุดตัน.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,703
Page Views2,008,868
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view