http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สังเกต "โรคฉี่หนู" ช่วงน้ำท่วม

สังเกต "โรคฉี่หนู" ช่วงน้ำท่วม

โรคที่เกิดจากน้ำท่วมขัง หนึ่งในนั้นคือ โรคฉี่หนู ผู้ที่ป่วยเป็นโรคฉี่หนูรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแล้วไม่เข้าใจอาการของโรค กว่าจะมารักษาอาจสายเกินไป  มารู้จักว่าโรคนี้เกิดได้อย่างไร และจะสังเกตได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้

ศ.พญ.ยุพิน ศุพุทธมงคล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกอย่างว่า โรคเลปโตสไปโรสิส เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งติดต่อจากสัตว์สู่คนชนิดหนึ่ง เชื้อก่อโรคจะปนออกมากับฉี่ของสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นพาหะ โดยหนูจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญที่สุด จึงเรียกว่า โรคฉี่หนู อย่างไรก็ตามยังมีสัตว์อื่น ๆ  เช่น สุนัข วัว ควาย ก็สามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้เช่นเดียวกัน โดยเชื้อฉี่หนูจะถูกขับออกมากับฉี่ของสัตว์เหล่านี้มาอยู่ในดินหรือน้ำ เมื่อมีฝนตก น้ำท่วมขัง หรือตามสวนไร่นาที่มีน้ำขัง และเชื้อที่ออกมาก็จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้นานเป็นเดือน เมื่อคนย่ำน้ำที่มีเชื้อฉี่หนูอยู่ เชื้อฉี่หนูก็จะไชเข้าสู่ผิวหนังและทำให้คนป่วยได้

ผู้ที่ได้รับเชื้อฉี่หนูส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ ผู้ที่มีอาการหรือป่วยจากโรคฉี่หนูจะเริ่มแสดงอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังติดเชื้อ  และส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อต่าง ๆ  ตาแดง เบื่ออาหาร ท้องเสีย ซึ่งถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักหายเองได้ภายในเวลา 5 - 7 วัน แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนส่งผลกระทบถึงอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ไต หรือปอด ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ เช่น ดีซ่าน เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้ปวดศีรษะมาก ชัก ปัสสาวะน้อยจากไตวายได้ เป็นต้น

ฉะนั้น ถ้าท่านมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ มาก โดยเฉพาะบริเวณน่อง และเป็นอาการป่วยหลังจากการย่ำน้ำท่วมขังมาไม่เกินสองสัปดาห์ ท่านควรรีบมาพบแพทย์เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาโรคฉี่หนูอย่างทันท่วงที โรคนี้แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงอาจจะยากตรงที่อาการเหมือนไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออกดังที่กล่าวไปแล้ว แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาการจะชัดเจนกว่า ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการซักประวัติผู้ป่วย การตรวจเลือด เอกซเรย์ เพื่อประเมินการทำงานของตับ ไต ปอด

ส่วนการรักษา ถ้าผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7 วัน เพื่อให้หายขาด ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาด้วยยาปฏิชีวนะฉีดเข้าหลอดเลือดดำก่อนในระยะแรกและรักษาอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามสมควร เช่น อาจจะต้องฟอกไต ถ้ามีภาวะไตวายเกิดขึ้น เป็นต้น ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

https://www.thaihealth.or.th/Content/50140-สังเกต%20%22โรคฉี่หนู%22%20ช่วงน้ำท่วม.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,332
Page Views2,003,250
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view