http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. สสจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบโกดังผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ ยี่ห้อ OPI

อย. สสจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบโกดังผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ ยี่ห้อ OPI นำเข้าไม่แสดงเลขที่จดแจ้ง ไม่มีฉลากภาษาไทย มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

อย. สสจ.เชียงใหม่ ร่วมกับ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบโกดังเครื่องสำอางแบรนด์ดัง ยี่ห้อ OPI หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนแจ้งพบการลักลอบนำเข้าในหลายพื้นที่แหล่งการค้าทั่วประเทศ รวมทั้งการจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ เตือนอย่าซื้อเครื่องสำอางที่ไม่รู้แหล่งที่มา ไม่มีเลขจดแจ้ง อาจได้รับอันตรายได้

         นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เข้าตรวจสอบแหล่งนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาทาเล็บ และผลิตภัณฑ์บำรุงเล็บ ยี่ห้อ OPI โดย นายแพทย์ธเรศ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนำเข้าแบรนด์ดัง ยี่ห้อ OPI ที่นำเข้าเครื่องสำอางถูกต้องตามกฎหมาย ว่าได้รับผลกระทบจากการขายสินค้าตัดราคา ทั้งที่ไม่มีเลขที่จดแจ้ง ไม่มีฉลากภาษาไทย และจงใจหลีกเลี่ยงการนำเข้า จำหน่ายที่ไม่ผ่านพิธีการศุลกากร ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่นำเข้าและปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจ จึงได้ทำการขยายผลร่วมกับ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบสถานที่ จำนวน 2 แหล่ง คือ

แหล่งที่ 1 อาคารเลขที่ 20 หมู่ 1 ถนนพระราม 2 ซอย 51 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 

แหล่งที่ 2 ร้าน joy beauty nail 9/3 ถ.อัษฎาธร ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

พบของกลางเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายหลายรายการ มูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 1 ล้านบาท

ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ดังนี้

1. ขายเครื่องสำอางที่ไม่จดแจ้ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

2. ขายเครื่องสำอางที่ไม่แสดงฉลากภาษาไทยและเครื่องสำอางที่แสดงฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน
ไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ได้ประสานแจ้งบริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าเข้ามาร่วมตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น หากพบสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ทางบริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าจะดำเนินคดีภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน  4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

           นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวต่อไปว่า อย. พร้อมร่วมมือกับทาง บก.ปคบ. จะกวาดล้างสินค้าที่ผิดกฎหมาย และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ขอเตือนผู้จำหน่ายและผู้นำเข้าต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ อย. และ บก.ปคบ. จะสืบหาและขยายผลเข้าตรวจสอบสถานที่นำเข้าและแหล่งกระจายเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายว่ามีสถานที่ใดอีกบ้าง เพื่อกวาดล้างเครื่องสำอางผิดกฎหมายให้หมดไป สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งหมดจะมีการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อเผาทำลายต่อไป ทั้งนี้ หากมีการนำเข้าเครื่องสำอางที่ไม่มีเลขที่จดแจ้ง ไม่ผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจาก อย. ถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน  อาจมีการปนเปื้อนสารอันตรายที่ห้ามใช้ เช่น สีห้ามใช้ หรือโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ปรอท ซึ่งหากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก อาจเกิดอาการมึนงง ตัวชา อาเจียน เวียนศีรษะ อ่อนแรงหรือหมดสติถึงขั้นโคม่าได้

          เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวัง  และขอเตือนอย่าซื้อเครื่องสำอางที่ไม่รู้แหล่งที่มา ไม่มีเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง แอบอ้างยี่ห้อดังและนำมาขายในราคาถูก อาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนการเลือกซื้อ ได้ที่ Application “ตรวจเลข อย.” ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงมือผู้บริโภค   ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เป็นการสร้างความมั่นใจเบื้องต้นให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้ อย. ได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างใกล้ชิด หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือ Line @FDAthai หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะทำการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป

https://oryor.com/อย/detail/media_news/1705?fbclid=IwAR2qKSW5SOG877EgaXgEU9Yyq84VMEsTBgBy-5--kf7qjs4STX_n8U29IA8

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,342
Page Views2,003,260
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view