http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ลายม์ ไมใช่โรคประจำถิ่น

ลายม์ ไมใช่โรคประจำถิ่น

แพทย์ชี้'โรคลายม์'พบยากในประเทศไทย ไม่ติดต่อจาก คนสู่คน หากติดเชื้อมียารักษา แนะสังคมรู้เท่าทันเพื่อป้องกันตัวเอง

กรณีหญิงชาวไทยรายหนึ่งเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศตุรกี หลังจากนั้นกลับมาป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนัก และแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อ "โรคลายม์" (Lyme disease) ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของหลายประเทศ แต่ไม่เคยพบในประเทศไทย โดยได้ทำการรักษาใช้เวลาอยู่โรงพยาบาล 2 เดือน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ความจำบางส่วนหายไปนั้น

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงโรคลายม์ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่าโบเรลเลีย (Borellia) ติดต่อสู่คนจากการถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการรายงานผู้ป่วยจากโรคนี้ มีแค่การทบทวนว่ามีการศึกษาหนึ่งที่มีเพียงสัตว์ตัวเดียวที่ตรวจเจอ ดังนั้นความเสี่ยงที่ว่าเห็บในไทยจะมีเชื้อตัวนี้ค่อนข้างต่ำมาก จึงไม่ต้องเป็นกังวลกับโรคนี้มากนัก ทั้งนี้ โรคดังกล่าวไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนอาการหลังรับเชื้อจะมีระยะเวลาฟักตัว 2-4 สัปดาห์ บางคนอาจสั้นกว่า ซึ่งการถูกเห็บกัดจะคล้ายกับการถูกแมลงกัดทั่วไป คือ จะมีรอยบวมแดงบริเวณที่ถูกกัด บางคนมีรอยเป็นผื่นวงกลม และเนื่องจากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีอาการไข้ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เป็นต้น

"บางส่วนหลังจากผ่านในช่วงแรกไป มักจะไม่ค่อยมีอาการอื่น แต่จะมีจำนวนหนึ่งที่เชื้อลุกลามหรือแพร่ไปสู่อวัยวะอื่น ทำให้หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา จะมีอาการของอวัยวะอื่นๆ ตามมา เช่น ปวดข้อ มักจะเป็นมากกว่า 1 ข้อ หรือหากเชื้อไปที่หัวใจ ก็จะมีอาการเต้นผิดปกติ บางรายไปสู่สมอง ทำให้สมองอักเสบ บางครั้งถ้ารับการรักษาไปแล้ว อาจจะมีผลตกค้างอันเนื่องจากสมองติดเชื้อทำให้มีความผิดปกติที่อาจจะถาวรหรือกึ่งถาวร ถ้าไปอยู่ตรงตำแหน่งความจำ ก็อาจทำให้ความจำหายไป หรือบางรายที่ไปเกี่ยวกับเรื่องจุดที่ควบคุมทำหน้าที่ต่างๆ ก็จะมีอาการไปตามนั้น" นพ.สุวรรณชัยกล่าว และว่า อย่างไรก็ตาม โรคนี้มียารักษาให้หายได้ คือ ยาปฏิชีวนะ เช่น ดอกซี ไซคลีน อะม็อกซีซีลลิน หรือกลุ่มเซฟาโลสปอริน เป็นต้น

นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า การวินิจฉัยหาโรคนี้ทำได้โดยดูประวัติว่าเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการรายงานโรคหรือมีเชื้อนี้เป็นโรคประจำถิ่น และมาด้วยเรื่องอาการไข้ เมื่อทำการตรวจร่างกาย หากสงสัยโรคนี้ก็ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถตรวจระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ และนำมาประกอบการยืนยันวินิจฉัยได้ สำหรับการป้องกัน คือ ควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสัมผัสเห็บ สวมเสื้อผ้าให้มิดชิดในการไปจุดที่มีโอกาสหรือมีความเสี่ยง และการไปท่องเที่ยวในแต่ละวันควรตรวจดูว่ามีรอยนูนแดงที่เกิดจากถูกสัตว์ แมลง หรือเห็บกัดหรือไม่ หากมีก็อาจขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือพบแพทย์เพื่อตรวจ

นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า หากถูกเห็บกัด 1.ทำ ความสะอาดบาดแผล ใส่ยา และขอคำแนะนำจากแพทย์ 2.เห็บอาจไม่ได้ก่อโรคโดยตรง แต่การถูกกัดบางคนจะไปเกาจนมีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม กลายเป็นผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ กลายเป็นแผลหนองหรือติดเชื้อในกระแสโลหิตตามมา บางคนภูมิต้านทานไม่ดี เมื่อเป็นแผลก็มีการลุกลาม ดังนั้น การถูกสัตว์กัดให้ดูแลแผลถือเสมือนมีโอกาสติดเชื้อได้เสมอ และอย่ากังวลมากจนเกินไป เพราะการเกิดโรคติดเชื้อจากต่างประเทศ มีหลายโรค ทั้งนี้ คนไทยที่จำเป็นต้องไปต่างประเทศ ต้องรู้ว่าประเทศนั้นมีคำแนะนำอย่างไร มีโรคประจำถิ่นอะไร เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันตนเองได้ถูกต้อง

https://www.thaihealth.or.th/Content/49574-ลายม์%20ไมใช่โรคประจำถิ่น.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,116
Page Views2,005,222
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view