http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กินอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด ลดเสี่ยงโรค

กินอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด ลดเสี่ยงโรค

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยอาหารที่ผ่านการปรุงสุกด้วยความร้อนและเลือกใช้วัตถุดิบ  ที่สะอาด ปลอดภัย ช่วยลดเสี่ยงโรคทางเดินอาหารได้ พร้อมย้ำกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ช่วยคุมเข้มให้ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาดปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวชาวต่างชาติ 2 รายที่บอกว่า  ป่วยด้วยโรคติดต่อทางอาหารและน้ำจากการกินผัดไทยเมื่อครั้งมาเที่ยวในประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานั้น ซึ่งผัดไทยที่จำหน่ายจะผ่านการปรุงประกอบด้วยความร้อนมากกว่า 80 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรค  ที่มีอยู่ได้ แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือสุขลักษณะของการปรุงประกอบอาหาร ต้องเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ล้างวัตถุดิบและปรุงด้วยความร้อนให้สุกทั่วถึง  ใส่ในภาชนะที่สะอาด ไม่ใช้มือหยิบจับโดยตรง ล้างมือก่อนปรุงอาหาร แต่อาจจะมีวัตถุดิบที่มีความเสี่ยงจะปนเปื้อนได้ เช่น ถั่วงอกดิบ ใบกุยช่าย หัวปลี ผักสดอื่น ๆ เป็นต้น   พ่อค้า แม่ค้าที่จำหน่ายอาหารจึงต้องใส่ใจความสะอาด  โดยเฉพาะการล้างผักอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างหรือการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ ให้ล้างด้วย น้ำไหล แช่ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นเปิดน้ำไหลผ่านและคลี่ใบผักถูไปมานาน 2 นาที หรือแช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วนน้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด หรือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) ครึ่งช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้  15 นาที จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาด ส่วนผู้ประกอบกิจการขายอาหารต้องมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ปฏิบัติตามสุขลักษณะหมั่นตรวจสอบดูแล ระมัดระวังจุดเสี่ยงต่าง  ๆ ที่ทำให้อาหารปนเปื้อน

           “ทั้งนี้ ผู้บริโภคควรสังเกตสภาพร้าน การเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ และสุขลักษณะของคนขาย ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และการสอบสวนโรค พร้อมทั้งได้มีประกาศกฎกระทรวงสุขลักษณะ ของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ครอบคลุมใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การควบคุมสุขลักษณะสถานที่ขาย ต้องดูแลให้ถูกต้องตั้งแต่จุดเตรียมอาหารแสงสว่าง ที่ล้างมือ ห้องน้ำ ที่กำจัดขยะและน้ำเสีย 2) ควบคุมการปรุงประกอบและจำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะ วัตถุดิบก็ต้องมีความสด มีการจัดเก็บอย่างดี  น้ำดื่มหรือน้ำที่เอามาใช้ทำอาหารก็ต้องสะอาด ส่วนน้ำแข็งที่ใช้กินก็ห้ามเอาหมู เอาผักหรือ เอาน้ำอัดลมลงไปแช่  3) ควบคุมดูแลภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้อื่น ๆ ให้สะอาดปลอดภัย เช่น จาน ชาม  ช้อน ส้อม ห้ามใช้ก๊าซหุงต้ม เมทิลแอลกอฮอล์ หรือเมทานอล เป็นเชื้อเพลิงในการทำประกอบปรุงอาหารบริเวณโต๊ะรับประทานอาหาร รวมทั้งต้องจัดให้มีมาตรการอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยและน้ำใช้  ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และ  4) ควบคุมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคล ที่ดี  โดยต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรของกรมอนามัย  ดังนั้น จึงขอย้ำเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ผลักดันให้ร้านอาหารดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ  ตามกฎกระทรวงฯ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/49527-กินอาหารปรุงสุก%20ร้อน%20สะอาด%20ลดเสี่ยงโรค.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,327
Page Views2,005,433
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view