http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคจากความสั่นสะเทือน ภัยเงียบคนทำงาน

โรคจากความสั่นสะเทือน ภัยเงียบคนทำงาน

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับความสั่นสะเทือนหรือจากการสัมผัสความเย็น เช่นคนเจาะถนน เจาะหิน ทำงานในห้องเย็น เป็นต้น เสี่ยงโรคจากความสั่นสะเทือน แนะป้องกันโดยเลือกใช้เครื่องมือที่มีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน ร่วมกับถุงมือป้องกันการสั่นสะเทือน หยุดพักเป็นระยะและไม่ใช้เครื่องมือนานเกินไป

          นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคจากความสั่นสะเทือนหรือปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน เป็นอาการผิดปกติที่เกิดกับนิ้วมือ มือ และแขน หรือจากการสัมผัสความเย็นจะเพิ่มความผิดปกติที่เกิดจากความสั่นสะเทือน เพราะอุณหภูมิที่ลดลงมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดไปเลี้ยงนิ้วมือลดลง และลดอุณหภูมิที่ผิวหนังของนิ้วมือ ส่งผลการรับประสาทสัมผัสลดลงอย่างถาวร เสียความถนัดของมือในการจับต้องอุปกรณ์ต่างๆ มีผลต่อการปฏิบัติงานและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งอาชีพเสี่ยง ได้แก่ คนที่ต้องใช้เครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือน เช่น เจาะถนน เจาะหิน ตอกหมุด ขัดพื้น เป็นต้น คนที่ต้องทำงานในห้องเย็น โรงงานผลิตน้ำแข็ง

          นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของโรคจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน ประกอบด้วย การเสียวแปลบ ชา และซีดขาวของนิ้วมือ เสียความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ และอาจมีอาการปวด การรับความรู้สึกร้อน-เย็น ลดลง ในรายที่รุนแรงจะพบความผิดปกติ คือ 1.มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบและนิ้วมือซีดขาว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดแผลที่ปลายนิ้ว 2.มีการทำลายเส้นประสาทรับความรู้สึกและเส้นประสาทสั่งการ ทำให้เสียวแปลบ ชา เสียการประสานงานระหว่างนิ้ว และความคล่องแคล่วในการใช้มือนอกจากนี้ยังมีการบวมรอบเส้นประสาท เกิดพังผืดและใยประสาทเสียหาย 3.มีความผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงของกล้ามเนื้อปวดในมือและแขน และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียสมรรถภาพ อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้โดย 1.เลือกใช้เครื่องมือที่มีระบบป้องกันการสั่นสะเทือน หรือมีความสั่นสะเทือนน้อย 2.ใช้เครื่องมืออย่างถูกวิธีและมีการบำรุงรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่อง 3.ใช้ถุงมือป้องกันการสั่นสะเทือน 4.มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ไม่ใช้เครื่องมือและทำงานในระยะเวลานานเกินไป ควรหยุดพักเป็นระยะอย่างน้อยครั้งละ 10 นาที 5.รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดยเฉพาะบริเวณมือ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกและ 6.งดการสูบบุหรี่ เพราะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต ทั้งนี้หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์

https://www.thaihealth.or.th/Content/49399-โรคจากความสั่นสะเทือน%20ภัยเงียบคนทำงาน.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,250
Page Views2,003,166
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view