http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ปราบยุงให้สิ้นลาย

ปราบยุงให้สิ้นลาย

“ยุงลาย” ถือเป็นแมลงที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อยุงลายกัด แล้วฉีดน้ำลายลงไปในบริเวณที่เจาะดูดเลือด บางคนจะมีอาการคัน แต่บางคนอาจมีอาการแพ้จนเกาและเป็นแผลติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ในน้ำลายของยุงอาจมีเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นต้น      

หลายคนรู้ว่าวิธีป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง คือการกำจัดแหล่งน้ำขังเพื่อไม่ให้ยุงวางไข่ แต่การเทน้ำทิ้งจากภาชนะเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะยุงลาย 1 ตัว ออกลูกได้ประมาณ 500 ตัว และไข่ก็สามารถอยู่ได้เป็นปีแม้ในที่ไม่มีน้ำ เราจึงต้องล้างและขัดภาชนะรองรับเพื่อกำจัดไข่ยุงลายด้วย ด้วยเหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำสื่อเพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ถูกหลัก และเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนในสังคมในเรื่องของการกำจัดยุงลายให้สิ้นซาก

ในปี 2562 กรมควบคุมโรค ได้คาดการณ์ว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดหนัก และอาจมีผู้ป่วยมากถึงแสนกว่าราย ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี และในช่วงเข้าสู่ฤดูฝน จึงเป็นช่วงที่ยุงลายเตรียมตัววางไข่เพื่อขยายพันธุ์อีกครั้ง ซึ่งในปีนี้โรคไข้เลือดออกที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสเดงกี่สายพันธุ์ที่ 2 ที่มีความรุนแรงมากที่สุดใน 4 สายพันธุ์ และหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกครั้งที่ 2 จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นหากพบผู้ที่มีไข้สูงลอยนาน 2 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน นอกจากนี้มาตรการในการป้องกันคือ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ประกอบไปด้วย

  1. เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง
  2. เก็บขยะ เศษภาชนะ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง
  3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำต้องมีฝาปิดมิดชิด ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

การทำตามมาตรการดังกล่าว จะช่วยป้องกันได้ถึง 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และไข้ปวดข้อยุงลาย โดยในวันนี้ทีมเว็บไซต์ สสส. ขอนำเสนอเทคนิคง่าย ๆ ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมาฝากกันค่ะ

  1. ภาชนะใส่น้ำ ควรปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิดเสมอ โอ่งดินเผาหรือโอ่งซีเมนต์ควรใช้มุ้งหรือตาข่ายไนล่อนหุ้มฝาโอ่งอีกชั้นก่อนปิด ภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้อาจใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ 1กรัม/น้ำ10 ลิตร
  2. แจกันดอกไม้ ต้องเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน และอย่าลืมขัดภาชนะ เพราะตามขอบแจกัน ยุงก็สามารถวางไข่ได้
  3. จานรองตู้กับข้าว ให้ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำ หรือเกลือแกง 2 ช้อนชา หรือน้ำส้มสายชูชนิด 5 % จำนวน 1 ช้อนชาครึ่ง ต่อจานรองขาตู้ 1 ใบ
  4. กระถางต้นไม้ ให้ใส่ทรายลงในจานรองกระถางต้นไม้ให้มีความลึก ¾ ส่วน ของจาน เพื่อให้ทรายดูดซับน้ำเอาไว้
  5. หมั่นสังเกต ยางรถยนต์เก่าและเศษวัสดุต่าง ๆ ที่มีน้ำขัง ควรปิด เก็บ หรือคว่ำภาชนะใส่น้ำที่ไม่ได้ใช้ทุกชนิด

นอกจากการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย การป้องกันตัวไม่ให้ถูกยุงกัดสามารถทำได้ด้วยวิธีดังนี้

  1. นอนในมุ้ง (แม้จะเป็นเวลากลางวัน) หรือห้องที่มีมุ้งลวด
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่เป็นมุมมืด อับลม
  3. ไม่สวมเสื้อผ้ารัดรูป เพราะปากยุงสามารถเจาะผ่านเนื้อผ้าได้การสวมเสื้อผ้า หลวม ๆ แขนยาว ขายาว จะช่วยลดโอกาสที่ปากยุงจะมาสัมผัสผิวหนัง และเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าสีเข้ม เพราะจะดึงดูดยุงมากกว่าสีอ่อน
  4. ทายากันยุงในกรณีที่มีความจำเป็น อ่านวิธีใช้และคำเตือนบนฉลาก และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพราะยาทากันยุงบางชนิดห้ามใช้กับเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี
  5. อาบน้ำและรักษาร่างกายให้สะอาด ผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงหรือมีอุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าผู้อื่นจะดึงดูดยุงให้มากัดมากกว่า

หลายคนมักคิดว่า พอมืดยุงจะเยอะ แต่ที่จริงแล้ว ยุงลายจะออกกัดดูดเลือดในเวลากลางวัน ตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงเย็น และถ้าในห้องมีแสงไฟสว่างเพียงพอ ยุงลายอาจกัดดูดเลือดถึงพลบค่ำเลยทีเดียว ดังนั้นการป้องกันในช่วงเวลากลางวันก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

เนื่องในวันที่ 15 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันไข้เลือดออกอาเซียน (ASEAN Dengue Day) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ตระหนักถึงการป้องกันโรคและร่วมกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง สสส.และกรมควบคุมโรค จึงได้เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไปผ่านโครงการ “เอาจริง ให้ยุงสิ้นลาย” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ประชาชนและตระหนักถึงอันตรายของยุงลาย รวมถึงวิธีการกำจัดยุงลายที่ถูกต้องด้วย โดยใช้ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวกับยุงลาย เช่น ยุงลายมีการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว  การเทน้ำทิ้งอย่างเดียวไม่พอ ต้องล้างและขัดภาชนะเพื่อกำจัดไข่ยุงลายด้วย เป็นต้น

https://www.thaihealth.or.th/Content/49115-ปราบยุงให้สิ้นลาย.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,185
Page Views2,003,101
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view