http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รากฟันเทียมเถื่อน อันตราย เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก

รากฟันเทียมเถื่อน อันตราย เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก

กรมการแพทย์ เตือนภัยรากฟันเทียมเถื่อนไม่ควรทำกับช่างทำฟันที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพราะอันตรายอย่างมาก สามารถส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในช่องปาก จึงควรได้รับคำแนะนำและรักษาอย่างถูกวิธี โดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลพบว่ามีการจัดทำรากฟันเทียมเถื่อน เผยแพร่ในโลกออนไลน์ โดยใช้วัสดุที่ไม่ใช่วัสดุทางการแพทย์ และทำโดยช่างทำฟันเถื่อน จึงขอเตือนประชาชนว่า
การทำรากฟันเทียม ถือเป็นการผ่าตัดในช่องปาก ซึ่งต้องทำโดยทันตแพทย์ที่มีความชำนาญในสถานพยาบาลที่มีระบบปลอดเชื้อที่เหมาะสม ผู้ป่วยจึงจะได้รากฟันเทียมที่ใช้งานได้ดี มีความปลอดภัย ซึ่งรากฟันเทียมที่ทำกับช่างทำฟันเถื่อนนั้น ไม่สามารถช่วยในการบดเคี้ยวได้และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องปากอย่างรุนแรง อาจนำไปสู่การติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ ดังนั้น ก่อนทำรากฟันเทียม ควรปรึกษาทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากสถานพยาบาล เพื่อคำแนะนำข้อมูลการรักษาที่ถูกต้อง

ทันตแพทย์อำนาจ ลิขิตกุลธนพร ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า รากฟันเทียม
คือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติ ทำด้วยวัสดุที่ร่างกายยอมรับได้ ไม่มีการต่อต้าน เช่น ไทเทเนียม โดยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกรใต้แนวเหงือก เพื่อยึดต่อกับฟันปลอมทั้งชนิดถอดได้และติดแน่น สามารถทดแทนฟันซี่เดียวหรือหลายซี่ โดยไม่มีผลกระทบกับฟันซี่ข้างเคียง เป็นหลักให้ฟันปลอมยึดติดโดยตรงและมีความมั่นคงนอกจากนี้ยังช่วยในการบดเคี้ยวอาหารทำให้รับประทานอาหารได้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ตลอดจนมีสุขอนามัยช่องปากที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการฝังรากฟันเทียม ควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีสามารถผ่าตัดได้ ไม่สูบบุหรี่ ดูแลสุขภาพช่องปากให้อยู่ในสภาพดี และสามารถเข้ารับการรักษาและติดตามผลอย่างต่อเนื่องได้ ที่สำคัญ ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเข้ารับบริการ ทั้งนี้ รากฟันเทียมจะสามารถอยู่กับเราได้นานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพช่องปากภายหลังการฝังรากฟันเทียม และไปพบทันตแพทย์ตามนัด

https://www.thaihealth.or.th/Content/49045-รากฟันเทียมเถื่อน%20อันตราย%20เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,362
Page Views2,005,468
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view