http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. ขยายผลทลายแหล่งจำหน่ายยาไม่มีทะเบียนรายใหญ่

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. ขยายผลทลายแหล่งจำหน่ายยาไม่มีทะเบียนรายใหญ่ สอบเข้มผู้เกี่ยวข้อง พบมีเอี่ยวดำเนินมาตรการทางปกครองทันที

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ.แถลงผลปฏิบัติการทลายแหล่งจำหน่ายยาที่ไม่มีทะเบียนรายใหญ่  หลังตรวจพบเบาะแสในสถานพยาบาลเถื่อน จึงได้สืบแกะรอยจนสามารถทลายถึงแหล่งใหญ่ ยึดยากว่า 2 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า  5 ล้านบาท พร้อมออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องสอบเข้ม หากพบความผิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายและถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ส่วนเภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา หากมีส่วนเกี่ยวข้องจะส่งสภาเภสัชกรรมพิจารณาจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

          วันนี้ (29 เมษายน 2562) ณ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. ปคบ.) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ และ เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก. ปคบ.) นำทีมโดย พลตำรวจตรีศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พร้อมด้วย พันตำรวจเอกวินัย วงษ์บุบผา รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พันตำรวจ เอกชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค และกองบังคับการปราบปราม ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)      ได้ตรวจพบยาไม่มีทะเบียนในสถานพยาบาลเถื่อน จึงได้ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) เก็บข้อมูลหลักฐานและสืบสวนในเชิงลึกจนได้ข้อมูลชัดเจนโดยได้เข้าตรวจสอบสถานที่จำนวน 2 แหล่ง คือ  

แหล่งที่ 1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ พรีเมด ฟาร์มา 17 ซอยอ่อนนุช 64 ตำบลสวนหลวง อำเภอสวนหลวง กทม. ได้ขออนุญาตขายยาแผนปัจจุบันจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จากการตรวจค้นพบ

1.       PredniSone Tablets USP. 5 mg ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา  383,000 เม็ด

                    เม็ดยากลมเคลือบฟิล์ม สีส้ม

2.       ยาเม็ดกลมเคลือบฟิล์มสีส้ม บรรจุในกระปุกพลาสติกสีขาวไม่มีฉลาก    449,000 เม็ด

3.       ยาเม็ดกลมเคลือบฟิล์มสีส้ม บรรจุในถุงพลาสติกสีขาวไม่มีฉลาก          228,000 เม็ด

4.       ยาเม็ดสีฟ้านูนเคลือบฟิล์ม บรรจุในกระปุกพลาสติกสีขาวไม่มีฉลาก         68,000 เม็ด

5.       Lidocaine Viscous 2% 100ml ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา             110 ขวด

6.       ยาเม็ดกลมแบนบรรจุในกระปุกพลาสติกไม่มีฉลาก                                58,000 เม็ด

7.       ยาเม็ดสีเหลืองอ่อนกลมนูน บรรจุในกระปุกพลาสติกสีขาวไม่มีฉลาก         22,000 เม็ด

8.       Aurocoxib 200 USP 200 mg 100 Capsules ระบุผลิตประเทศ India

    ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา                                                              1,300 เม็ด

9.       แคปซูลสีเขียวเข้ม-สีเขียวอ่อน บรรจุในกระปุกพลาสติกสีขาวไม่มีฉลาก     15,000  เม็ด

10.    ฉลากสติ๊กเกอร์ระบุ PredniSone Tablets USP. 5 mg ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา    

     ระบุผลิตประเทศ Jordan                                                                           450 แผ่น

11.    ฉลากสติ๊กเกอร์ระบุ DEXTRO Dextromethorphan HBr Tablets 15mg           92 แผ่น

ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา ระบุผลิตประเทศ Jordan

12.    ฉลากสติ๊กเกอร์ระบุ Tramal Tramadol Hydrochloride Capsule 15mg           20 แผ่น

     ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา  ระบุผลิตประเทศ USA

13.    ฉลากสติ๊กเกอร์ระบุ Diazepam Tablets 2mg ฉลากไม่ระบุเลขทะเบียนตำรับยา 

ระบุผลิตประเทศ Coroco                                                                                        27 แผ่น

14.   ถังสีน้ำตาลบรรจุผงยาสีขาวข้างถังระบุ“370”และ“334” ไม่มีฉลาก ประมาณ 15 กิโลกรัม    2 ถัง

15.   ฉลากสติ๊กเกอร์ยาอีกหลายรายการ พร้อมอุปกรณ์จำนวนหนึ่ง

          แหล่งที่ 2 อาคารเลขที่ 23 อ่อนนุช 64 ตำบล สวนหลวง อำเภอ สวนหลวง จังหวัด กรุงเทพมหานคร     จากการตรวจค้นพบยาเม็ดสีฟ้ากลมนูนบรรจุในถุงพลาสติกใส 1,000 เม็ด 835ถุง ไม่มีฉลาก รวม 835,000 เม็ด

          ทั้งนี้ ได้ยึดยาจำนวนกว่า 2 ล้านเม็ด มูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ดังนี้ ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะดำเนินการทางปกครองต่อไป และ หากตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ผลการตรวจวิเคราะห์พบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 4 จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,000,000 บาท

          นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. และ บก.ปคบ.จะได้ขยายผลเข้า ตรวจสอบโรงงานที่ผลิตหากพบมีส่วนเกี่ยวข้องจะดำเนินมาตรการทางปกครองทันที จึงขอเตือนร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมทั้งสถานพยาบาลทั่วประเทศ ให้ระมัดระวังในการเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่าย ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่กำหนดมีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ซึ่ง อย. และ บก.ปคบ. จะผนึกกำลังร่วมมือกันปฏิบัติหน้าที่ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคอย่างเข้มแข็งต่อไป

          เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า จากการตรวจสอบในครั้งนี้พบของกลางเป็นกลุ่มยาหลายชนิด เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ กลุ่มยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และกลุ่มยานอนหลับ ซึ่งยาเหล่านี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และยาที่พบส่วนใหญ่ไม่มีทะเบียนตำรับยา ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้บริโภค เสี่ยงได้รับยาปลอม ยาไม่มีคุณภาพ หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงขอเตือนไปยังร้านขายยา และ สถานพยาบาลทั่วประเทศ ให้ระมัดระวังในการเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่าย ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และฝากถึงประชาชนผู้บริโภคช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบร้านขายยาหรือสถานพยาบาลใดที่ลักลอบขายยาไม่มีทะเบียนหรือ ขายยาโดยไม่มีเภสัชกรประจำร้าน ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้  ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข  จ.นนทบุรี 11004 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด รวมทั้งสามารถร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application และเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ศรป.) ได้ทุกวันในเวลาราชการ หรือสายด่วน 1135 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อ อย. จะทำการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป หากไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้รับอนุญาตหรือไม่ สามารถ ตรวจสอบได้โดยผ่าน Application “ตรวจเลข อย.” หรือ Line @Fdathai

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1621?fbclid=IwAR2sEAsalhqST634d8jD0U1lWTN3ezi0SGBCwjXlHQFx69oI35QMDZKKNhY

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,286
Page Views2,003,204
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view