http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. และ บก.ป. เผยผลปฏิบัติการทลายแหล่งนำเข้า “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก”

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. และ บก.ป. เผยผลปฏิบัติการทลายแหล่งนำเข้า “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก”

อย. ร่วมกับ บก.ปคบ. และ บก.ป. แถลงผลปฏิบัติการทลายแหล่งนำเข้า “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก” ผลการตรวจพบยาแผนปัจจุบันกลุ่มยาแก้ปวด กลุ่มยาสเตียรอยด์ กลุ่มยาแก้แพ้ และกลุ่มยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ เข้าข่ายจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์   

          นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ พร้อมด้วย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภายใต้การนำทีมโดย นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก.ปคบ.) นำทีมโดยพลตำรวจตรีศิร์ธัชเขต ครูวัฒนเศรษฐ์ ผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พร้อมด้วยพันตำรวจเอกวินัย วงษ์บุบผา รองผู้บังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค พันตำรวจเอกชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับผู้บริโภค และกองบังคับการปราบปราม นำทีมโดย พลตำรวจตรีจิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการปราบปราม พร้อมด้วยพันตำรวจเอกสันติ ชัยนิรามัย รองผู้บังคับการปราบปราม พันตำรวจเอกแมน เม่นแย้ม ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม พันตำรวจโทมนูญ แก้วก่ำ รองผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม และพันตำรวจตรีจักรี กันธิยะ สารวัตรกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม และ สสจ.นนทบุรี สสจ.เชียงราย สสจ.ราชบุรี แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก 4.บก. ปคบ.) ได้ร่วมกันดำเนินการตรวจสอบแหล่งจำหน่าย “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก” ย่านเยาวราช ผลการตรวจวิเคราะห์พบกลุ่มยาแก้ปวด 3 ชนิด ได้แก่ ไดโคลฟีแนค (Diclofenac), ไพร็อกซิแคม (Piroxicam), ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), พาราเซตามอล (Paracetamol), กลุ่มยา    สเตียรอยด์ เดกซาเมธาโซน (Dexamethasone), กลุ่มยาแก้แพ้ คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) และกลุ่มยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซิลเดนาฟิล (Sildanafil) ซึ่งจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ จึงเข้าข่ายจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ พร้อมทั้งดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

          นอกจากนี้ ยังทำการสืบสวนพบแหล่งนำเข้าและจำหน่ายรายใหญ่สำหรับกระจายสินค้าผลิตภัณฑ์ “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก” โดยใช้ช่องทางผ่านเว็บไซต์และเฟสบุ๊ก ซึ่งทำการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณผลิตภัณฑ์ชาว่า ใช้รักษาโรคกระดูก ปวดเข่า ไขข้อเสื่อม เป็นต้น โดยมีเป้าหมายในการเข้าตรวจสอบทั้งสิ้น 6 แหล่ง แยกเป็นกรุงเทพ 3 แหล่ง ต่างจังหวัดที่ราชบุรี/นนทบุรี และเชียงราย 3 แหล่ง ซึ่งเฟสบุ๊กที่ใช้ในการกระทำผิดกฎหมาย ได้แก่

  1. www.facebook.com/ยาจีนบำรุงกระดูก Liu Wei Zhuang Gu Su Rong Cha-healthyhomemaesai.com สถานที่อยู่อาศัย ต.แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย

2. www.facebook.com/Good-Herbs-ชาจีนบำรุงกระดูก-236382867092573/ สถานที่อยู่อาศัย  ต.บางแม่นาง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

3. www.facebook.com/สมุนไพรจีนกระป๋องเขียวบำรุงกระดูก Liu-wei-zhuang-Gusu-Rongcha-287473725019463/ สถานที่อยู่อาศัย ต.บ้านไร่ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

4. www.facebook.com/ยาจีนบำรุงกระดูก-โรคเก๊าท์-ข้อเสื่อม-108060823393433/ สถานที่อยู่อาศัย แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ

5. www.facebook.com/sirikwan30/ แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ (ที่อยู่ตามหน้าเฟซบุ๊ก)

6. https://www.facebook.com/monds.chai=1516175351 สถานที่อยู่อาศัย แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

โดยการจำหน่ายสินค้าผ่านทางเฟสบุ๊กดังกล่าว มักพบข้อความโฆษณา เช่น “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก...ชาบำรุงกระดูก... บรรเทาอาการปวดข้อ เอ็น กล้ามเนื้อ โรคเก๊าท์ รูมาตอยด์ ข้อเสื่อม กระดูกพรุน ...หายได้   ไม่ต้องผ่าตัด เห็นผลไว...เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ...ปลอดภัยไม่ใช้สารสเตียรอยด์”

โดยมูลค่าของกลางรวมทั้งสิ้น 500,000 บาท ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ดังนี้

1.  ผลิตภัณฑ์อาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท

2.  หากผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์พบยาแผนปัจจุบัน จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสิ่งที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเจือปนอยู่ เข้าข่ายจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

3. กรณีเป็นผู้จำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้นั้นกระทำความผิดอีกภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งก่อน มีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. โฆษณาอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

5. โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดการหลงเชื่อโดยไม่สมควร มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปีหรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

          นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการฯ อย. แถลงเพิ่มเติมว่า อย. และ บก.ปคบ. จะดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มบุคคลที่นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคให้ถึงที่สุด เพราะผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมากินนั้น เป็น “สมุนไพรจีนบำรุงกระดูก” หากรับประทานอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแบ่งบรรจุเพื่อการบริโภคหนึ่งครั้ง และผลการตรวจสอบพบยาถึง 7 ชนิด ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด 3 ชนิด กลุ่มยาสเตียรอยด์ กลุ่มยาแก้แพ้ และกลุ่มยารักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งหากผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสมุนไพร ชาจีนและบริโภคมากกว่า 1 ครั้งต่อวัน อาจเป็นการใช้กลุ่มยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อและส่งผลอันตรายต่อสุขภาพหากมีการรับประทานอย่างต่อเนื่องจะมีผลต่อระบบต่อร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้  ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจรุนแรงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า ระบบเลือดจะขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด มีผลต่อการทำงานของไตอาจทำให้ไตวายได้ นอกจากนี้ กลุ่มยาพาราเซตามอล  หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนำอาจจะนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับจนนำไปสู่ภาวะตับวายและเสียชีวิตในที่สุด จึงขอเตือนร้านค้าให้ระมัดระวังในการเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่ายต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย

          ภญ. สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพก่อนการเลือกซื้อ ได้ที่ Application “ตรวจเลข อย.” ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารที่ช่วยเข้าถึงมือผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว เป็นการสร้างความมั่นใจเบื้องต้นให้กับผู้บริโภค ย้ำอย่าได้หลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายทางช่องทางใดก็ตาม ขอให้พิจารณาให้   ถี่ถ้วนก่อนซื้อ อย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่าสามารถให้ผลในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกัน ทั้งนี้ อย. ได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างใกล้ชิด หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ.1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือ Line @FDAthai หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะทำการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1604?fbclid=IwAR1pweJcRJ8PkzpmezsFiMwVvioO7gC3DhoMhz5wyImU5nzoUL5WGq0fTiY


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,478
Page Views2,008,624
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view