http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

กรน-หยุดหายใจ พุ่ง3ล้านคนในเด็กเพิ่ม-ผู้ใหญ่5%เสี่ยงสูง

กรน-หยุดหายใจ พุ่ง3ล้านคนในเด็กเพิ่ม-ผู้ใหญ่5%เสี่ยงสูง

คนไทย 25% นอนกรนเป็นประจำ และมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ประมาณ 5% หรือ 3 ล้านคน เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งคนนอนกรนถือว่าเป็นคนหลับง่ายแต่คุณภาพการนอนหลับไม่ดี เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต แนะเช็คระดับนอนกรนได้เพื่อป้องกัน

นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบหลักสูตร โสต ศอ นาสิกวิทยาการการนอนหลับ ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงปัญหาโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับในคนไทยว่า จากสถิติ พบว่า คนไทยประมาณ 25% นอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจช่วงบนมีการอุดกั้นเป็นระยะ ตลอด การนอนหลับ และผู้ที่มีอาการกรนมากจนหายใจติดขัด เกิดการสะดุดหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ร่างกายขาดอากาศเป็นระยะๆ ส่งผลเสียต่อหัวใจ สมอง หลอดเลือด และอวัยวะต่างๆ เรียกโรคนี้ว่า โรคหยุดหายใจ ขณะหลับจากการอุดกั้น พบในคนไทยประมาณ 5% หรือประมาณ 3 ล้านคน

ทั้งนี้การนอนกรน เกิดจากบริเวณช่องคอ ซึ่งทางเดินอากาศแคบลงในขณะหลับและลิ้นตกลงด้านล่างอากาศเกิดการกระแทกกันของผนังคอส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนลิ้นไก่ เพดานอ่อน โคนลิ้น ทอนซิลมีความหนา หรือโตขึ้นและกีดขวางทางเดินทางอากาศ ทำให้เกิดเสียงกรน ซึ่งปกติเวลานอน คนเราจะช่องคอแคบลง แต่คนนอนกรนจะแคบลงมากกว่าคนปกติ ทำให้ลมหายใจเข้า -ออกแรงขึ้น

จากผลสำรวจด้านการนอนประจำปีของฟิลิปส์ โกลบอล"The Global Pursuit of Better Sleep Health" พบว่า 44% ของประชากรในวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก ยอมรับว่าตัวเองมีการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และประสบปัญหาการหลับกลางวันระหว่างสัปดาห์ ในขณะที่ประชากรส่วนมาก นอนหลับเฉลี่ยเพียงแค่ 6.3 ชั่วโมงในช่วงวันทำงาน และ 6.6 ชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งต่ำกว่า 8 ชั่วโมงตามคำแนะนำ จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนอนหลับที่เพียงพอ

นอกจากนี้ 8 ใน 10 ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ต้องการพัฒนาการนอนหลับของตนให้ดีขึ้น และ 50% ของผู้ตอบผลสำรวจพบว่า สาเหตุหลักของการนอนที่ไม่มีคุณภาพ มาจากความเครียด ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การง่วงในเวลากลางวัน การไม่มีสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน เป็นต้น ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการนอนส่งผลกระทบทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพในระยะยาว

นพ.ชัยรัตน์ กล่าวต่อว่า คนนอนกรนถือว่าเป็นคนหลับง่าย แต่คุณภาพการนอนหลับไม่ดี เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ ยิ่งคน ที่มีอาการมาก จะพบว่าผนังคอยุบตัวลง จนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ชั่วขณะ และการนอนกรน ถ้ามีอาการมากอาจทำให้มีภาวะโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เมื่ออากาศไปเลี้ยงสมอง ไม่เพียงพออาจจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตความจำเสื่อมถอย สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นต้น

ทั้งนี้ การนอนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 เป็นในขณะนอนหงาย ระดับที่ 2 กรนในทุกท่าที่นอน ระดับที่ 3 มีการหายใจติดขัด หายใจสะดุด หรือมีการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆ แต่ละครั้งนานกว่า 10 วินาที เกิดมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ครั้งต่อชั่วโมง เรียกว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับ หรือ obstructive sleep apnea (OSA) หรือ โรคโอเอสเอ

ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มารักษาโรคนอนกรนจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ได้ออกกำลังกาย และมีภาวะโรคอ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ที่มารักษาโรคนอนกรนมากขึ้น เนื่องจากพ่อแม่พยายามเลี้ยงลูกให้อ้วนท้วน น่ารัก แต่ความอ้วนเป็นสาเหตุทำให้เด็กนอนกรน และเป็นโรคอื่นๆ ตามมา

ด้าน พญ.สุภวรรณ เลาหศิริวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เวชศาสตร์การนอนหลับ(นอนกรน) อธิบายถึงแนวทางการรักษาว่า ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และชนิดของโรคที่ผู้ป่วยแต่ละคนเป็น โดยในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงต่ำ แพทย์จะแนะนำให้ ปรับนิสัยการนอนก่อน อาทิ การนอนหลับในระยะเวลาที่เพียงพอ คือ 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนและตื่นให้เป็นเวลา งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดดื่มชา กาแฟ และบุหรี่ ในรายที่มีน้ำหนักเกิน จำเป็นต้องมีการลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับผู้ป่วยที่มีความรุนแรงระดับปานกลางและมาก จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาด้วย เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (Positive Airway Pressure Therapy) หรือ CPAP ซึ่งเป็นเครื่องอัดอากาศ เข้าทางช่องจมูกหรือปาก เพื่อให้ ช่องคอและทางเดินหายใจส่วนต้น มีอากาศไหลเวียนได้ในขณะหลับ อีกวิธีคือ การใช้เครื่องมือในช่องปาก และการผ่าตัด

"สำหรับผู้ที่มีอาการกรน หรือสงสัยว่าเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ แนะนำให้ไปพบแพทย์ โดยเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพการนอน และมีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จากนั้นอาจจะตรวจสุขภาพการนอนหลับ ซึ่งปัจจุบันจะมีห้องตรวจพิเศษ ที่เรียกว่า Sleep Lab ออกแบบเหมือนอยู่บ้าน และคนไข้ต้องเข้ามานอนพักหนึ่งคืน ภายในห้องนอนจะมีกล้องวงจรปิด และเครื่องมือติดที่ตัวคนไข้ เพื่อตรวจวัดค่าการหยุดหายใจ และระดับออกซิเจนขณะหลับ จากนั้นจึงนำค่าทั้งหมดที่ได้ มาประมวลว่า มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกแนวทางการรักษาในขั้นถัดไป" พญ.สุภวรรณ กล่าว

https://www.thaihealth.or.th/Content/48176-กรน-หยุดหายใจ%20พุ่ง3ล้านคนในเด็กเพิ่ม-ผู้ใหญ่5เสี่ยงสูง.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,424
Page Views2,003,342
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view