http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

สธ. เผยผลประชุมหารือสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์

สธ. เผยผลประชุมหารือสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์

สธ. เผยการดำเนินการเกี่ยวกับกัญชา  เพื่อประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ได้เอื้อนายทุนต่างชาติ และ อย. เป็นเพียงฝ่ายเลขานุการของ คกก.ควบคุมยาเสพติดให้โทษ มีหน้าที่กำกับดูแล ไม่ได้ดำเนินการผลิตใด ๆ และการดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

           เมื่อวันที่ 4  มีนาคม 2562 ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เรียกประชุมปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หารือเรื่องการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน โดยย้ำว่า ปัจจุบันกัญชายังคงเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ซึ่งประเทศไทยมีการควบคุมที่สอดคล้องกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. 1961 ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งยังคงควบคุมกัญชาอยู่ภายใต้อนุสัญญาและให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ภายใต้การควบคุมที่รัดกุมมิให้รั่วไหลไปใช้ในทางที่ผิด นอกจากนี้ การที่ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2562 กำหนดบทเฉพาะกาล 5 ปี ให้การผลิตกัญชาทางการแพทย์ในประเทศเป็นภาครัฐดำเนินการ หรือหากเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ก็ต้องดำเนินการร่วมกับรัฐ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ไม่ได้เป็นไปเพื่อนายทุนหรือต่างชาติแต่อย่างใด

           นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษได้ให้ความเห็นชอบในการอนุญาตการศึกษาวิจัยและการครอบครองกัญชาให้กับหลายหน่วยงาน เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยรังสิต องค์การเภสัชกรรม กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์ฝึกสุนัขตำรวจ การอนุญาตการปลูกและการใช้ประโยชน์กัญชาต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบัน

           ทางด้านนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า อย. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ และมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการปลูก และการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ให้รั่วไหลไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่ได้มีหน้าที่ในการดำเนินการผลิตใด ๆ กรณีผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนขออนุญาตปลูกได้ โดยดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ หากดำเนินการภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานของรัฐด้วยในการขออนุญาตปลูกไม่จำเป็นต้องทำโครงการศึกษาวิจัยก่อนแต่อย่างใด ตามแนวทางปฏิบัติด้านการจัดเตรียมสถานที่ปลูกที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษได้ให้ความเห็นชอบไว้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะการปลูกในโรงเรือนระบบปิดเท่านั้น สามารถปลูกได้ทั้งการปลูกแบบภายในตัวอาคาร (indoor) ที่ควบคุมการปลูกด้วยระบบปิด และการปลูกแบบภายนอกตัวอาคาร (outdoor) ซึ่งสถานที่ปลูกเป็นแปลงปลูกกลางแจ้ง อย่างไรก็ตาม ในการปลูกจำเป็นต้องมีการควบคุมให้กัญชาที่ได้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย สามารถนำไปผลิตยาที่มีคุณภาพ มีความบริสุทธิ์ ไม่มีสารพิษ โลหะหนัก เชื้อรา หรือสารปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยากัญชาดังกล่าว

           ทั้งนี้ อย. ได้เผยแพร่แนวทางการพิจารณาอนุญาตและแนวทางการปฏิบัติสำหรับการจัดเตรียมสถานที่สำหรับผู้ขออนุญาตปลูกไว้แล้วทางเว็บไซต์http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/MARIJUANA62.aspx ส่วนกรณีที่เป็นข่าวว่ามีการอนุญาตองค์การเภสัชกรรมอย่างรวดเร็วนั้น ขอชี้แจงว่า องค์การเภสัชกรรมได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษาวิจัยกัญชาตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ตั้งแต่ปี 2561 สำหรับการปลูกองค์การเภสัชกรรมได้เตรียมการที่จะขออนุญาตมาระยะหนึ่งแล้ว มีการจัดทำโรงเรือนในระบบปิด และเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบสถานที่ก่อนการยื่นคำขออนุญาต เมื่อ อย. ตรวจสอบคำขอสถานที่ และเอกสารหลักฐานต่าง ๆ แล้วจึงได้เสนอคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษเพื่อพิจารณาตามลำดับ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบให้องค์การเภสัชกรรมปลูกภายใต้กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก่อนที่พระราชบัญญัติฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับ จึงไม่ใช่กรณีของการอนุญาตอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด

https://oryor.com/digi_dev/detail/media_news/1579?fbclid=IwAR34JXoAujMvp-Jw9p2RuuAN3jUjdCtG5HiTj4dgfdr-WksXJ9sgdmtTZWM

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 20/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,407
Page Views2,008,552
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view