http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

แนะ น่ารู้กับโรคจุดภาพชัดเสื่อม

แนะ น่ารู้กับโรคจุดภาพชัดเสื่อม

รพ.เมตตาฯ (วัดไร่ขิง) แนะโรคจุดภาพชัดเสื่อม เมื่อมองภาพบิดเบี้ยว เห็นภาพเบลอ มองเห็นสีผิดเพี้ยนและเห็นจุดดำตรงกลางภาพ มองในที่สว่างไม่ชัด ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้ มีอาการเหล่านี้ควรพบจักษุแพทย์

          นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคจุดภาพชัดเสื่อม คือภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น พบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอตาเสื่อม ซึ่งโรคจอตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการของจอตาได้แก่ มองในที่สว่างไม่ชัด หรือแพ้แสง ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้ ตามัวมีจุดดำหรือเงาบังอยู่ตรงกลางภาพ เห็นสีผิดเพี้ยน แนะนำให้สังเกตความผิดปกติด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยการใช้แผ่นทดสอบจอตาส่วนกลางด้วยตารางตรวจจุดภาพชัดเช็คอาการจุดภาพชัดเสื่อม ถ้ามองเห็นภาพผิดปกติไป จะต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการตรวจจอตาทันที

          แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เปิดเผยว่า โรคจุดภาพชัดเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตา เกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญทำให้สูญเสียความสามารถการมองเห็นในผู้สูงอายุ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจพบได้ในผู้มีอายุน้อย ซึ่งมักพบในผู้ที่มีประวัติทางครอบครัวเป็นโรคนี้ โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบบแห้ง พบได้ ร้อยละ 90 เกิดจากเซลรับแสงในจุดรับภาพเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆตามวัยที่เพิ่มขึ้น เซลรับแสงในจุดรับภาพมีจำนวนน้อยลง การมองเห็นบริเวณกลางภาพแย่ลง ทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติ เมื่อต้องอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมระยะใกล้ 2.โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบบเปียก เกิดจากมีเส้นเลือดงอกผิดปกติใต้จอตาทำให้สูญเสียการมองเห็นที่รุนแรง ภาวะโรคจุดภาพชัดเสื่อมแบบเปียก จะมีน้ำหรือเลือดรั่วออกมาจากเส้นเลือดที่งอกผิดปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจุดภาพชัดเสื่อมนั้น ได้แก่อายุที่มากขึ้น การเผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต โรคหัวใจ ความดันสูง คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุราและพันธุกรรม สามารถทดสอบด้วยตนเองได้จากตารางแอมสเลอร์กริด มีทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอนโดยมีจุดอยู่ตรงกลางถ้ามองเห็นบางเส้นไม่ชัดหรือเส้นจางหายไป ควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที การรักษาอาจรักษาด้วยยา เลเซอร์ หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน การรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงชะลอการสูญเสียสายตา แต่สามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกายรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่ ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม อาทิ แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ปวยเล้ง ฯลฯ ควบคุมน้ำหนัก สวมแว่นกันแดด งดสูบบุหรี่ จอตาเสื่อมจะไม่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยการรักษาทันท่วงทีจะช่วยชะลอความรุ่นแรงของโรค และลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็น

รพ.เมตตาฯ (วัดไร่ขิง) แนะโรคจุดภาพชัดเสื่อม เมื่อมองภาพบิดเบี้ยว เห็นภาพเบลอ มองเห็นสีผิดเพี้ยนและเห็นจุดดำตรงกลางภาพ มองในที่สว่างไม่ชัด ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้ มีอาการเหล่านี้ควรพบจักษุแพทย์

          นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคจุดภาพชัดเสื่อม คือภาวะที่นำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น พบได้มากในผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป สาเหตุจากจุดรับภาพตรงกลางของจอตาเสื่อม ซึ่งโรคจอตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อาการของจอตาได้แก่ มองในที่สว่างไม่ชัด หรือแพ้แสง ปรับสายตาจากการมองเห็นในที่มืดมาที่สว่างไม่ค่อยได้ ตามัวมีจุดดำหรือเงาบังอยู่ตรงกลางภาพ เห็นสีผิดเพี้ยน แนะนำให้สังเกตความผิดปกติด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก โดยการใช้แผ่นทดสอบจอตาส่วนกลางด้วยตารางตรวจจุดภาพชัดเช็คอาการจุดภาพชัดเสื่อม ถ้ามองเห็นภาพผิดปกติไป จะต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อรับการตรวจจอตาทันที

          แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) เปิดเผยว่า โรคจุดภาพชัดเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมในส่วนกลางของจอประสาทตา เกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญทำให้สูญเสียความสามารถการมองเห็นในผู้สูงอายุ มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี อาจพบได้ในผู้มีอายุน้อย ซึ่งมักพบในผู้ที่มีประวัติทางครอบครัวเป็นโรคนี้ โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบบแห้ง พบได้ ร้อยละ 90 เกิดจากเซลรับแสงในจุดรับภาพเริ่มเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆตามวัยที่เพิ่มขึ้น เซลรับแสงในจุดรับภาพมีจำนวนน้อยลง การมองเห็นบริเวณกลางภาพแย่ลง ทำให้ต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติ เมื่อต้องอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมระยะใกล้ 2.โรคจุดภาพชัดเสื่อม แบบเปียก เกิดจากมีเส้นเลือดงอกผิดปกติใต้จอตาทำให้สูญเสียการมองเห็นที่รุนแรง ภาวะโรคจุดภาพชัดเสื่อมแบบเปียก จะมีน้ำหรือเลือดรั่วออกมาจากเส้นเลือดที่งอกผิดปกติได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคจุดภาพชัดเสื่อมนั้น ได้แก่อายุที่มากขึ้น การเผชิญแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต โรคหัวใจ ความดันสูง คอเลสเตอรอลในหลอดเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มสุราและพันธุกรรม สามารถทดสอบด้วยตนเองได้จากตารางแอมสเลอร์กริด มีทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอนโดยมีจุดอยู่ตรงกลางถ้ามองเห็นบางเส้นไม่ชัดหรือเส้นจางหายไป ควรรีบพบจักษุแพทย์ทันที การรักษาอาจรักษาด้วยยา เลเซอร์ หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน การรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงชะลอการสูญเสียสายตา แต่สามารถป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกายรับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อม ได้แก่ ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองส้ม อาทิ แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว เช่น คะน้า ปวยเล้ง ฯลฯ ควบคุมน้ำหนัก สวมแว่นกันแดด งดสูบบุหรี่ จอตาเสื่อมจะไม่สามารถป้องกันหรือรักษาได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยการรักษาทันท่วงทีจะช่วยชะลอความรุ่นแรงของโรค และลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็น

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,108
Page Views2,005,214
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view