http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เผยการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในไทย

เผยการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในไทย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  เผยการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย เป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางเวชปฏิบัติ  โดยที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า  มีมติว่าสูตรการฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรคยังคงให้ปฏิบัติเช่นเดิม และดำเนินการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคพิษสุนัขบ้าหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อให้แน่ชัดว่าระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอต่อการป้องกันโรคหรือไม่

             ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ  ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่รุนแรงเสียชีวิตเมื่อมีอาการป่วย นับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย การดูแลผู้สัมผัสหรือสงสัยว่าสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้องตามแนวทางเวชปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นลำดับแรก โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่เป็นไปตามมาตรฐานและแนวทางเวชปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

              จากคำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2561 ที่ให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแบบหลังสัมผัสโรคเข้าผิวหนัง ซึ่งเป็นการฉีดเข้าผิวหนัง 0.1 ซีซี. 2 จุดในวันที่ 0, 3, 7 โดยไม่ต้องฉีดวันที่ 28 ซึ่งเป็นเข็มสุดท้ายของสูตร modified TRC-regimen เพื่อจะลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทางและค่าวัคซีน อย่างไรก็ตาม คำแนะนำใหม่อ้างอิงการศึกษาในประเทศเพื่อนบ้านเพียงการศึกษาเดียว และอีกทั้งไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการฉีดแบบนี้ร่วมกับการฉีดอิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งอาจมีผลทำให้ระดับภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงที่ยังพบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์

               ด้านนายแพทย์โสภณ  เอี่ยมศิริถาวร  ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า สำหรับการดำเนินงานในส่วนของการปรับปรุงคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข นั้น กรมควบคุมโรค ได้เชิญประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า ครั้งที่ 1/2561 ไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 มีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิตและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค เป็นประธานการประชุม และที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า และการฉีดอิมมูโนโกบูลิน ตามคำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลกเรียบร้อย ดังนี้ 1.การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า ซึ่งเป็นการฉีดก่อนสัมผัสโรคสำหรับบุคลากรกลุ่มเสี่ยงที่ต้องทำงานสัมผัสกับโรคพิษสุนัขบ้า โดยให้ฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนัง ขนาด 0.1 ซีซี. 2 จุด ในวันที่ 0, 7 เท่านั้น และ 2.การฉีดอิมมูโนโกบูลิน ให้ฉีดเข้าในและรอบบาดแผลอย่างทั่วถึงโดยไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนที่เหลือเข้าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย สำหรับการทดสอบการแพ้ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแจ้งโรงพยาบาล ในสังกัดให้ทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2561 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาดำเนินการแจ้งบริษัทวัคซีนเพื่อปรับปรุงเอกสารกำกับยาให้มีผลตามกฎหมายไทย

               ในส่วนของสูตรการฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรคยังคงให้ปฏิบัติเช่นเดิมตามแนวทางเวชปฏิบัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2559 เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ ซึ่งสถานพยาบาลในประเทศไทยใช้เป็นแนวทางในการให้บริการผู้ถูกสัตว์กัดข่วน ที่มี 2 แบบ ได้แก่ 1.ฉีดเข้าในผิวหนัง ใช้วัคซีนฉีด 0.1 ซีซี. 2 จุด จำนวน 4 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7, 30 และ 2.ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ขวด ฉีด 5 ครั้ง ในวันที่ 0, 3, 7, 14, 30

             สำหรับสูตรการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังที่ลดเหลือ 3 ครั้ง ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำนั้น สถานเสาวภา สภากาชาดไทย มีข้อเสนอว่า จะทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ร่วมกับการฉีดอิมมูโนโกลบุลินเพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันจนถึงระยะ 3 เดือนหลังฉีดวัคซีน ว่าสูงเพียงพอต่อการป้องกันโรคหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 1 ปี และจะส่งผลการศึกษาให้คณะกรรมการฯ พิจารณาว่าควรลดจำนวนครั้งของการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลกหรือไม่ โดยจะตัดสินใจบนพื้นฐานความปลอดภัยของประชาชน

               คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า โดยขอให้ยึดหลัก “คาถา 5 ย.” ดังนี้  1.อย่าแหย่ ให้สัตว์โมโห 2.อย่าเหยียบ บริเวณลำตัว ขา หรือหางของสัตว์  3.อย่าแยก สัตว์ที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า  4.อย่าหยิบ อาหารขณะสัตว์กำลังกิน  และ 5.อย่ายุ่ง กับสัตว์ที่ไม่รู้จักคุ้นเคย เพราะสัตว์เหล่านี้อาจกัดหรือข่วนได้  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

http://www.thaihealth.or.th/Content/47148-เผยการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในไทย.html


Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,530
Page Views2,005,638
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view