http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ตั้งเป้าลดโซเดียมในอาหาร

ตั้งเป้าลดโซเดียมในอาหาร

ตั้งเป้าลดโซเดียมลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568 นำร่อง 4 กลุ่ม อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส และขนมขบเคี้ยว

ถ้าเครื่องดื่มบรรจุขวด Sugar-Free กำลังเป็นเทรนด์ในวันนี้ พอๆ กับที่ "หวานน้อยใช่ไหมคะ"กำลังเป็นคำถามที่พนักงานร้านกาแฟพูดใส่คุณลูกค้าแทบทุกวัน แล้วเมื่อไรจะถึงคิว "ลดเค็ม" จะถูกผลักเข้าเป็นพฤติกรรมการกินของคนไทยบ้าง

อย่างที่รู้ ไม่ใช่แค่ "หวาน" กับ "มัน" ที่ทำให้ผู้คนต้องป่วยเป็นโรค NCDs (Non-communicable diseases) ซึ่งทำให้ประเทศต้องเสียงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษากว่า 3.35 แสนล้านบาทต่อปี การรับประทานอาหารรสเค็ม ซึ่งมีส่วนผสมของโซเดียมในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป ล้วน ส่งผลเสียต่อร่างกายร้ายแรงพอๆ กัน

ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุของโรค ความดันโลหิตสูง และภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดการคั่งของเกลือและน้ำ ในอวัยวะเพราะผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ไตจึงทำงานหนักและเสื่อมเร็วขึ้น

การสร้างกระแสสังคม และปลูกฝัง ความคิดให้ลดพฤติกรรมการบริโภคเค็มเพื่อเป็นฐานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจึงต้องมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตอนหนึ่งของเวทีจัดทำเป้าหมายเชิงสมัครใจในการลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำเร็จรูป นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เพื่อประชุมหารือและจัดทำเป้าหมายเชิงสมัครใจในการลดปริมาณโซเดียมในอาหาร โดยแนวทางหลักจะเป็นแนะนำให้เกิดการลดปริมาณการบริโภคเกลือ และโซเดียมลง

          จับตาอาหาร 4 ประเภท

โดยเฉพาะอาหารใน 4 กลุ่มหลักที่มีปริมาณโซเดียมสูง ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส อาหารแช่เย็นและแช่เข็ง โดยเฉพาะอาหารกลุ่มสำเร็จรูป บะหมี่และก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป รวมทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์โจ๊กข้าวต้มสำเร็จรูป ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตเร่งด่วนของผู้คนในปัจจุบัน

"ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีปริมาณโซเดียมประมาณ 1,000-2,000 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค อาหารแช่แข็งอยู่ที่ 400-1,500 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป 400-12,00 มิลลิกรัม ซึ่งอาหารเหล่านี้ควรบริโภคแต่น้อย อาจจะเริ่มจากลดการใส่เครื่องปรุงสักครึ่งหนึ่ง หรือจะรับประทานก๋วยเตี๋ยว อาหารเมนูทั่วๆ ไปก็ลดปริมาณการใส่น้ำปลาลง"

"เราจะตั้งเป้าในการลดปริมาณการบริโภคโซเดียมให้ต่ำกว่าเดิมลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568 หรือลดลงร้อยละ 10 ในทุกๆ 2 ปี ซึ่งช่วงแรกเราต้องสร้างกระแสสังคมให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค ขณะที่ผู้ผลิตเองก็ต้องปรับสูตรเพื่อช่วยกันรับผิดชอบสังคม ส่วนในอนาคตอาจจะมีออกกฎหมาย เช่น การใช้มาตรการภาษีกับอาหารที่มีปริมาณโซเดียม เช่นเดียวกับภาษีเครื่องดื่มที่มีการบังคับใช้แล้วหรือไม่ ยังไม่สามารถบอกได้ อย.ไม่ได้มีอำนาจ แต่การขับเคลื่อนนี้ต้องเริ่มจากการตื่นตัวของประชาชน การเห็นด้วยของภาคเอกชน เหมือนกับการขับเคลื่อนภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นได้ในที่สุด"

          ฉลากปลอดเค็ม 633 ผลิตภัณฑ์

ทั้งนี้ อย.ยังกำหนดแนวทางในการผลักดันมาตรการลดโซเดียมในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นแช่แข็ง ผงหรือก้อนปรุงรส โดยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกัน และจัดทำแผนการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมเพื่อเกิดประสิทธิผลก่อนมีมาตรการทางกฎหมายต่อไป

ขณะเดียวกันกับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอาหาร ผลิตอาหารที่ลดหวาน มัน เค็ม ติดฉลาก "ทางเลือกสุขภาพ" เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกในการบริโภคอาหารที่เหมาะกับสุขภาพของตนเอง โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้วทั้งสิ้น 633 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นกลุ่มอาหารมื้อหลัก 10 ผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส 12 ผลิตภัณฑ์ อาหารกึ่งสำเร็จรูป (บะหมี่และโจ๊ก) 22 ผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยว 30 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องดื่ม 458 ผลิตภัณฑ์ นม 81 ผลิตภัณฑ์ และไอศกรีม 20 ผลิตภัณฑ์

ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายลดบริโภคเกลือและโซเดียม เพื่อลดโรคไม่ติดต่อ ระดับชาติ ได้มีประชุมเพื่อขับเคลื่อน โรงพยาบาลลดเค็ม ทั่วประเทศ จำนวน 83 แห่ง พร้อมที่จะเดินหน้าเพื่อปรับลดปริมาณลดค่าปริมาณโซเดียมลง จากเดิม 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็น 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

นอกจากนี้ การให้บริการอาหารในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของ สธ.ทั้งอาหารสำหรับผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาล อาหารจากร้านค้าสวัสดิการของโรงพยาบาล หรืออาหารสำหรับญาติและผู้ที่มารับการบริการภายในโรงพยาบาลจะต้องเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมต่ำด้วย ซึ่งปัจจุบันความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ในการดำเนินงานเพื่อลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประชากรไทยโดยบูรณาการควบคุมปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่จะต้องมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน ที่ชัดเจน สามารถนำไปสู่การบรรลุ เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แดเนียล เคอร์เทสซ์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่าได้ส่งเสริมให้ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยลดการบริโภคเกลือในประชากรให้เหลือ 5 กรัมต่อวันหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน คนไทยส่วนใหญ่รับประทานโซเดียมมากถึง 2 เท่าองค์การอนามัยโลก และโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของการตายเกือบร้อยละ 30 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในประเทศ

การปรับสูตรอาหารสำเร็จรูปให้ลดปริมาณเกลือลง จึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดการบริโภคเกลือ เพื่อให้การลดเค็มเป็นทั้งเทรนด์และพฤติกรรมถาวรของคนไทย เมื่อเค็มมากไปมีแต่จะเกิดอันตราย ถึงเวลาลดเค็มอย่างจริงจังเสียทีเป็นสาเหตุของโรค ความดันโลหิตสูง และภาวะความดัน โลหิตสูงทำให้เกิด ผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ

http://www.thaihealth.or.th/Content/43353-ตั้งเป้าลดโซเดียมในอาหาร.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,307
Page Views2,003,225
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view