http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

"ปศุสัตว์" คุมเข้มสุนัขบ้าระบาดอีสานกักหมา-แมว

"ปศุสัตว์" คุมเข้มสุนัขบ้าระบาดอีสานกักหมา-แมว

"ปศุสัตว์" ติดตามการดูแลสุนัข-แมวจากพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งถูกนำมากักกัน ด่านกักกันสัตว์นครพนม กักสัตว์จากจังหวัดใกล้เคียง รวม 700 ตัวคุมโรคพิษสุนัขบ้า 6 เดือน

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีและโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มอบหมายให้ ด่านกักกันสัตว์นครพนม จัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.โดยรับสุนัขและแมว ที่มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ซึ่งสุนัขและแมว         

ส่วนใหญ่ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของและประชาชนในชุมชนที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้ารวบรวมนำส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อนำมากักกัน สังเกตุอาการ และเฝ้าระวังโรค ตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ รวมถึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สู่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นในพื้นที่เกิดโรค         

โดยในระหว่างการกักกันนั้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้มีการแยกเพศ ขนาด และอายุ เพื่อง่ายต่อการดูแล การให้อาหาร และการจัดการทั่วไป การคัดแยกสัตว์ป่วยเพื่อทำการรักษา และที่สำคัญสัตวแพทย์ ประจำศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกตัว ตัวละ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 วัน         

ทั้งนี้ การกักกัน สังเกตุอาการ และเฝ้าระวังโรค จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะถือว่าปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากนั้น กรมปศุสัตว์จะติดต่อเจ้าของ สัตว์ให้มารับกลับ หรือกรณีที่สัตว์ไม่มีเจ้าของจะพิจารณาดำเนินการหาบ้านใหม่ หรือส่งต่อให้สถานที่พักพิงสัตว์ที่มีความพร้อมรับดูแลต่อไป

ปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้ ยังคงมีสุนัขและแมวที่อยู่ในระหว่างการสังเกตุอาการ และการเฝ้าระวังโรค รวมประมาณ 700 ตัว ซึ่งคาดว่าในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ จะมีสุนัขที่ครบกำหนดการกักกัน 6 เดือน และมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 120 ตัว ส่วนที่เหลือจะทยอยครบกำหนดการกักกันภายในเดือนตุลาคม 2561

อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ เพิ่มเติมอาหารที่เหมาะสม กับสัตว์ป่วย การทำความสะอาดคอกและรางอาหาร ระมัดระวังการจับบังคับสัตว์ให้เหมาะสม การสังเกตุอาการสัตว์ป่วยในระยะเริ่มต้น การเพิ่มจำนวนสัตวแพทย์และเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรค สำหรับดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ รวมทั้งฝึกอบรมคนงานให้มี ความรู้ความเข้าใจในการจัดการทั่วไปมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุนัขและแมวในรูปแบบโครงการประชารัฐร่วมใจ ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อให้การดูแลสุนัขและแมวในศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นต่อไป

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวว่า จากการรายงานของศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าแห่งนี้ พบว่า เริ่มต้นรับสุนัขและแมวมาตั้งแต่ต้นปีโดยมีการทยอยนำเข้าจากพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดใกล้เคียง ในระหว่างการกักกันนั้น ได้มีสุนัขและแมวเสียชีวิตจำนวนหนึ่งด้วย

โรคพิษสุนัขบ้า โรคลำไส้อักเสบ โรคไข้หัดสุนัข โรคพยาธิในเม็ดเลือด โรคปอดบวม เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสุนัขขนาดเล็กที่อายุ น้อยกว่า 4 เดือน มีที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ไม่มีการถ่ายพยาธิ มีความเครียดจากการ เคลื่อนย้าย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำสุขภาพไม่แข็งแรง มีการป่วยตายได้ง่ายและรวดเร็ว

http://www.thaihealth.or.th/Content/42492-"ปศุสัตว์"%20คุมเข้มสุนัขบ้าระบาดอีสานกักหมา-แมว.html

Tags :

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,534
Page Views2,005,642
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view