http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไขมันไม่อิ่มตัวสำคัญอย่างไร

ไขมันไม่อิ่มตัวสำคัญอย่างไร และรับประทานอย่างไรให้เหมาะสม

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fats) เป็นไขมันประเภทหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยแบ่งออกเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fat) การรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งอาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดสมองได้

ไขมันเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน อย่างวิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินอี โดยไขมันประเภทหลักที่ได้จากการรับประทานอาหารประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) และไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวจัดเป็นไขมันดีที่ควรเลือกรับประทาน หากสงสัยว่าไขมันไม่อิ่มตัวพบในอาหารประเภทใดและควรรับประทานอย่างไร อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้

ประเภทของไขมันไม่อิ่มตัว

ไขมันไม่อิ่มตัวมีสถานะเป็นของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวเป็นไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือด ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง รวมทั้งให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างและรักษาเซลล์ในร่างกาย 

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมักพบในพืชและน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันคาโนล่า อะโวคาโด และถั่วชนิดต่าง ๆ 

2. กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนเป็นกรดไขมันที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง และให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ในร่างกายเช่นเดียวกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง ได้แก่

  • โอเมก้า 3 (Omega-3)

โอเมก้า 3 ประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด ซึ่งโอเมก้า 3 ชนิดที่สำคัญ คือ อีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) ที่พบได้ในอาหารจำพวกปลาทะเล อย่างแซลมอน ซาร์ดีน ทูน่า แมคเคอเรล ส่วนเอแอลเอ (ALA) จะพบมากในถั่วและธัญพืชชนิดต่าง ๆ อย่างวอลนัท เมล็ดเจีย เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seeds) 

โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด โดยลดการสร้างวีแอลดีแอล (Very Low-Density Lipoprotein: VLDL) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่นำไขมันจากตับไปใช้เป็นพลังงาน และกระตุ้นการทำงานของไลโปโปรตีนไลเปส (Lipoprotein Lipase) ที่ช่วยสลายวีแอลดีแอล หากมีไขมันชนิดนี้สูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • โอเมก้า 6 (Omega-6)

โอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนอีกชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และเป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้เอง จึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร โดยชนิดที่พบบ่อยคือ กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) พบได้ในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดคำฝอย และน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น

โอเมก้า 6 มีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) เพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด แม้งานวิจัยระยะแรกเผยว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 6 มากเกินไปอาจทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ จึงควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 6 ในปริมาณที่พอเหมาะและสมดุลกับโอเมก้า 3 

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยใหม่ ๆ สันนิษฐานว่าร่างกายมีกลไกป้องกัน ทำให้ไม่เกิดการอักเสบในร่างกาย จึงสามารถรับประทานโอเมก้า 6 ได้อย่างปลอดภัย

รับประทานไขมันไม่อิ่มตัวอย่างให้พอดี

ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากรับประทานมากเกินความต้องการของร่างกาย อาจนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะการรับประทานไขมันชนิดไม่ดี อย่างไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์(Trans Fat) ในปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้

เราจึงควรรับประทานไขมันในปริมาณที่พอดี และเลือกรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวเป็นหลัก โดยการบริโภคอาหารไขมันจะต้องคำนึงถึงปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวันในแต่ละช่วงอายุ โดยเด็กและวัยรุ่นอายุ 2–18 ปี ควรได้รับไขมันทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 25–35 ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน

ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป ควรได้รับไขมันทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 20–35 ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน โดยคิดเป็นปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10 และไขมันทรานส์น้อยกว่าร้อยละ 1 ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น ผู้ใหญ่ที่ได้รับพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี จะสามารถรับประทานไขมันรวมได้ 45–78 กรัมต่อวัน และควรรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวไม่น้อยกว่า 28 กรัมต่อวัน

การรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอและอาจช่วยลดไขมันชนิดไม่ดีในเลือด ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ ทั้งนี้ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างธัญพืชขัดสีน้อย ผักและผลไม้ให้ครบถ้วนทุกมื้ออาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อแดง อาหารรสหวานและเค็มจัด ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรง

https://www.pobpad.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AD%E0%B8%A2

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/09/2023
สถิติผู้เข้าชม1,649,059
Page Views1,896,771
« September 2023»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
view