http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ทักษะรู้เท่าทันรับมือกับข่าวปลอม

13 ทักษะรู้เท่าทัน และรับมือกับข่าวปลอม

 สสส. ร่วมกับ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) จัดทำหนังสือรู้เท่าทันข่าว News Literacy ขึ้น เพื่อสร้างค่านิยมใหม่ในการใช้สื่อ รณรงค์ให้ทุกคนมีทักษะการเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

                   ถึงแม้ว่าปัญหาข่าวปลอมจะได้รับการดูแลและจัดการจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การออกกฎหมายลงโทษของภาครัฐ การกำกับดูแลกันเองของภาคอุตสาหกรรม การให้ความรู้และข้อเท็จจริงของภาคประชาสังคมและสื่อมวลชนที่เป็นมืออาชีพและการวางนโยบายการใช้งานของผู้เผยแพร่เนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นผู้รับสารเองควรมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สามารถวิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณในการับข่าวสาร เปิดรับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง ๆ กับความคิดเห็นออกจากกันได้ รู้ถึงเจตนาที่ต้องการสื่อในข่าว เมื่อผู้รับข่าวสารรู้เท่าทันข่าว ก็จะทำให้ลดจำนวนการแชร์และแพร่กระจายของข่าวปลอมได้

ทักษะป้องกันรู้เท่าทันข่าวปลอม

                   1. ตรวจสอบวันที่ ข่าวปลอมจะมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ อย่าลืมดูวันที่ที่เนื้อหาถูกตีพิมพ์ เพราะเรามักพบเห็นผู้คนแชร์ “ข่าว” เก่าอยู่บ่อยครั้งบนโซเชียลมีเดีย

                   2. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่อ อาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

                   3. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมือาชีพ หากเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง

                   4. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหน้าและมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม ข่าวปลอมและข่่าวที่มีคุณภาพต่ำมักจะมีการพาดหัวข่าวที่กระตุ้นความรู้สึกเพื่อให้เกิดจำนวนการคลิกมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

                   5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว เราสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้

                   6. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกหรือข่าวเสียดสีได้ยาก ตรวจสอบดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนและเสียดสีหรือไม่ และพิาจารณาว่ารายละเอียด ตลอดจนน้ำเสียงในการเล่าเรื่องฟังดูเป็นไปได้เพื่อความสนุกสนานหรือไม่

                   7. ตรวจสอบข้อมูลสนับสนุน ตรวจสอบว่าข้อมูลประกอบในบทความ สนับสนุนเนื้อหาหลักของเรื่องราวอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่ ทั้งนี้ต้องระวังข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือข้อมูลที่ถูกหยิบมาเพียงแค่บางส่วน เนื้อหาของข่าวปลอมมักประกอบด้วยภาษาที่กระตุ้นอารมณ์และบางครั้งเป็นคำรุนแรง รวมถึงมีการสะกดคำผิด

                   8. ตรวจสอบแหล่งข่าว ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องนั้นมาจากแหล่งข่าวที่เราไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้น เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม ตรวจสอบเนื้อหาอื่น ๆ ที่ถูกนำเสนออยู่บนเว็บไซต์ แง่มุมในการนำเสนอข่าว และรายละเอียดติดต่อ อื่น ๆ ที่ปรากฎบนเว็บไซต์

                   9. ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผู้เขียนว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือหรือมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และเป็นบุคลากรที่อยู่ในแวดลงการรายการข่าวมาเป็นระยะเวลามากน้อยอย่างไร ลองอ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน

                   10. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น ๆ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า ข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่น่าเชื้อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง

                   11. พิจารณราลิงก์อย่างถี่ถ้วน ระวังเว็บไซต์ปลอมที่แสร้างว่าเป็นองค์กรข่าวที่ดูน่าเชื่อถือ ข่่าวปลอมจำนวนมากเลียนแบบรูปลักษณ์ของแหล่งข่าวหรือมีตัวสะกดที่ดัดแปลงให้คล้ายกับเว็บไซต์ข่าวหลัก ควรไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้

                   12. อย่าใช้อคติ คนเรามีแนวโน้มที่เชื่อข้อมูลที่สอดคล้องกับความเชื่อส่วนตัวของเรา ก่อนที่จะตัดสินว่าเรื่องราวใด ๆ ไม่เป็นความจริง ควรไตร่ตรองให้ดีว่าอคติส่วนตัวของเราไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการพิจารณาเนื้อหาดังกล่าวในขณะนั้น

                   13. บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็นขาวปลอม ควรแชร์ข่าวที่มั่นใจว่าเป็นข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้นด้วยการคิด วิเคราะห์ และพิจารณาบริบทอย่างละเอียดถี่ถ้วน การรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่รูปแบบข่าวปลอมมักใช้ จะช่วยให้เรารู้เท่าทันและมีวิจารณฐาณในการรับข่าวสาร

                   ผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือรู้เท่าทันข่าว สสย. https://shorturl.asia/qH7mW

https://www.thaihealth.or.th/13-%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%9e/


 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2562
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 11/03/2023
สถิติผู้เข้าชม1,583,023
Page Views1,828,034
« March 2023»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
view