http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

เมื่อเราดื่มน้ำน้อย

เมื่อเราดื่มน้ำน้อย

"ร่างกายของเรา มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70%" น้ำในร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ในเซลล์ประมาณ 60% มีอยู่นอกเซลล์ประมาณ 30% และที่อยู่ในเนื้อเยื่อ หรือเลือดอีก 10% เหตุนี้จึงทำให้มนุษย์ต้องการน้ำ ประมาณ 2–3 ลิตรต่อวัน ในทางกลับกัน แต่ละวันร่างกายก็มีการขับน้ำออกในลักษณะของปัสสาวะ 0.5-2.3 ลิตร นอกจากนั้นยังมีการขับน้ำออกทางเหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจ

ทั้งนี้การดื่มน้ำก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในขณะนั้นด้วย เช่น อากาศที่ร้อน และแห้ง ร่างกายจะสูญเสียน้ำทางผิวหนังและลมหายใจมากกว่าปกติ ดังนั้น ผู้ที่อยู่กลางแจ้งและในห้องปรับอากาศที่เย็นจัดจะต้องการน้ำมากกว่าคนที่อยู่ในที่ร่มหรือในห้องที่อุ่นสบาย หรือผู้ที่ออกกำลังกาย มีไข้ ท้องเสีย อาเจียนก็ควรดื่มน้ำเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำด้วย ทั้งนี้ ควรดื่มน้ำทีละนิด แบบจิบทีละ 2–3 อึก จิบบ่อยๆ ไปตลอดทั้งวัน ซึ่งจะดีกว่าการดื่มน้ำครั้งละมากๆ เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบขับถ่าย อย่าง ไต ปอด ม้าม และระบบย่อยอาหาร อีกทั้งร่างกายจะดูดซึมไม่ทัน และขับออกมาเป็นปัสสาวะ แม้ดื่มน้ำเข้าไปมากก็ยังรู้สึกหิวน้ำอยู่บ่อยๆ

จำนวนน้ำที่เราต้องการในแต่ละวันนั้น จึงขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวันของแต่ละคน

ควรดื่มน้ำทันทีหลังจากตื่นนอน โดยตอนเช้าควรดื่มน้ำอุ่นทันที 2 แก้ว เพื่อช่วยให้ขับถ่ายอุจจาระได้ดี ดื่มน้ำทุกครั้งที่รู้สึกกระหาย ไม่ควรดื่มน้ำเกินครึ่งแก้วก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที และภายใน 40 นาทีหลังมื้ออาหาร เนื่องจากทำให้น้ำย่อยเจือจางลง ส่งผลต่อระบบการย่อยอาหาร

ถ้าเราดื่มน้ำน้อย จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือดของเรามีความหนืดและข้นขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการไหลเวียนของเลือดไปตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเป็นแบบนี้นานวันเข้าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลียเรื้อรัง มีเสียงในหู ความจำเสื่อม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอาการทางตา เช่น มีเลือดคั่งที่ตา สูญเสียการมองเห็น รวมถึงมีผล กระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงมีการอักเสบเนื่องจากหลอดเลือดดำอุดตัน แต่อาการที่กล่าวจะรวมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ไขมันในเลือดสูง

ดื่มน้ำน้อยก็มีส่วนให้เกิดอาการท้องผูก สาเหตุหลักๆ ก็คือ การขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ กินอาหารที่ขาดใยอาหาร หรือดื่มน้ำน้อย อุจจาระจึงแข็งและลำอุจจาระเล็ก ลำไส้จึงบีบตัวลดลงอุจจาระจึงเคลื่อนตัวได้ช้า การรักษาที่สำคัญ คือ การกินอาหารมีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่างๆ และดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียง หากปล่อยให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรังอาจก่ออาการลำไส้อุดตัน เกิดมะเร็งลำไส้ ได้ในที่สุด

หากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากว่าไตต้องทำหน้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กำจัดสารพิษ ดูดสารอาหารที่มีประโยชน์กลับคืนเข้าสู่ร่างกาย ควบคุมระดับความเป็นกรด ด่าง ของของเหลวในร่างกาย กำจัดของเสียส่วนเกินแล้วขับออกทางปัสสาวะ สร้างฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและวิตามินดี ฯลฯ เมื่อได้รับน้ำไม่เพียงพอ ไตก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ดังที่กล่าวได้ดี จึงเสี่ยงต่อโรคต่างๆ โดยเฉพาะนิ่วในไต และย่อมส่งผลเสียต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะตับที่ต้องมารับทำหน้าที่แทน

นอกจากนี้ การดื่มน้ำน้อยยังเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ผิวพรรณไม่สดใส ตะคริว และโรคอ้วนอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต ที่มีอาการบวมน้ำต้องควบคุมปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันตามที่คุณหมอกำหนด

http://www.thaihealth.or.th/Content/45761-เมื่อเราดื่มน้ำน้อย.html

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,472
Page Views2,008,618
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view