http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วิ่ง...ครั้งแรก

วิ่ง...ครั้งแรก

หลายคนที่เริ่มวิ่งครั้งแรก ก็เกิดปัญหาว่า ภายหลังการวิ่งจะปวดเมื่อยขามากจนแทบจะเดินไม่ไหวในวันต่อมา อาการที่เป็นกันบ่อยๆ ได้แก่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขา เจ็บเข่า เจ็บข้อเท้า เจ็บเอ็นร้อยหวาย เจ็บส้นเท้า บางรายปวดหลังก็มี บางรายปวดเจ็บเป็นสัปดาห์ พอทุเลาไปเริ่มวิ่งใหม่ ก็เป็นอีก หลายรายเลยบอกศาลา เลิกวิ่งไปเลย แม้ใจจะอยากวิ่ง อยากวิ่งเพื่อสุขภาพเหมือนคนอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าสภาพร่างกายไม่ยอมรับการวิ่งซะเลย

คนที่ไม่สามารถใช้การออกกำลังกายโดยการวิ่งมีไม่มากนัก แต่คนส่วนหนึ่งคิดจะเลิกวิ่ง เพียงเพราะละเลยสิ่งผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่

1. เริ่มวิ่งครั้งแรกก็หักโหม แม้ตัวเองจะรู้สึกว่าเริ่มต้นวิ่งอย่างช้าๆ และวิ่งไม่นานเกินไป แต่ความรู้สึกที่ว่าวิ่งช้าและไม่นานนั้น บางคนไปเปรียบเทียบกับเพื่อนที่วิ่งมานานแล้ว โดยลืมไปว่าสภาพร่างกายของเราในระยะเริ่มแรกยังไม่ดี หากไม่ได้วิ่งมาเป็นเวลานานปีควรเริ่มโดยการเดินก่อน แล้วเป็นเดินสลับวิ่ง กว่าจะวิ่งได้อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อย่าฝืนวิ่งเมื่อเริ่มรู้สึกปวด

2. ขาดการอุ่นเครื่องอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะการยืดกล้ามเนื้อขา เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยลดการบาดเจ็บ และวิ่งได้สบายขึ้น อย่างน้อยต้องอุ่นเครื่องก่อนสัก 5-10 นาที

3. ละเลยการผ่อนคลายหลังวิ่ง ซึ่งต้องยืดกล้ามเนื้ออีกครั้งเหมือนตอนเริ่มต้นเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพราะการวิ่งทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว การยืดกล้ามเนื้อนี้จะช่วยให้หายปวดเมื่อยได้ดี

4. พักผ่อนน้อยเกินไป ให้สังเกตตัวเองว่าหลังจากวิ่งแล้ววันต่อมาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากหรือไม่ ถ้าปวดเมื่อยมาก แสดงว่าเราได้วิ่งหักโหมมากเกินไป ต้องพักผ่อนต่อจนอาการดีขึ้นก่อน จึงจะเริ่มวิ่งได้ใหม่ ระหว่างนี้อาจออกกำลังกายโดยการบริหารและยืดกล้ามเนื้อไปพลางก่อน และเมื่อเริ่มวิ่งใหม่ให้วิ่งช้ากว่าเดิม หรือลดเวลาลงกว่าเดิม การวิ่งที่พอดี วันรุ่งขึ้นเราจะรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ไม่ใช่ปวดเมื่อยจนแทบเดินไม่ไหว

5. ท่าวิ่งไม่ถูกต้อง ควรวิ่งเต็มเท้า ไม่ใช่วิ่งด้วยปลายเท้า และไม่ก้าวยาวเกินไป วิธีสังเกตว่าไม่ก้าวยาวเกินไป คือ ในจังหวะเท้าแตะพื้น เท้าไม่ก้าวเลยเข่าออกไป

6. รองเท้าไม่พอดี ผู้เริ่มฝึกหัดวิ่งบางคนใช้รองเท้าผ้าใบเก่าๆ บางคนยืมรองเท้าคนอื่นเพราะอยากลองดูก่อนว่าจะวิ่งได้หรือไม่ เนื่องจากเสียดายค่ารองเท้า ถ้าซื้อมาแล้วเกิดวิ่งไม่ได้

รองเท้าที่ไม่พอดีทำให้บาดเจ็บได้ง่ายและวิ่งไม่สนุก ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง อยากแนะนำให้ซื้อรองเท้าสำหรับวิ่งจ๊อกกิ้งใส่ตั้งแต่แรกเริ่มเลย น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มกว่าการใช้รองเท้าที่ไม่ถูกต้องแล้วทำให้บาดเจ็บ หรือเบื่อการวิ่งไปเลย

การวิ่งไม่ใช่สิ่งที่ยากยิ่งเกินไปสำหรับคนทั่วๆ ไป ถ้าคุณผ่านการวิ่งครั้งแรกไปด้วยความประทับใจ คุณก็จะสามารถก้าวสู่การเป็นนักวิ่งเพื่อสุขภาพด้วยดี หากบาดเจ็บตั้งแต่แรก ก่อนจะหันหลังให้กับการวิ่ง โปรดหยุดคิดสักนิดว่า คุณเป็นคนหนึ่งที่ละเลยข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่แก้ไขได้ใช่หรือไม่

http://www.thaihealth.or.th/Content/45171-วิ่ง...ครั้งแรก.html

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,441
Page Views2,003,360
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view