http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

ไฮโปไกลซีเมีย โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

ไฮโปไกลซีเมีย โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ไฮโปไกลซีเมีย HYPOGLYCEMIA

          ฮ้าว.....หาวอีกแล้ว เมื่อคืนก็ว่านอนหลับสนิทดีแล้วนะ ทำไมตื่นเช้ามานั่งทำงานถึงสัปหงกทุกที แถมยังรู้สึกเพลีย อยากนอนตลอดเวลา หนุ่มสาววัยทำงานคนไหนมีอาการแบบนี้ ต้องติดตามเรื่องราวที่กระปุกดอทคอมนำมาเสนอวันนี้ค่ะ เพราะคุณอาจกำลังเป็นฮิตของคนเมือง อย่าง "โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง" หรือ "ไฮโปไกลซีเมีย" ก็เป็นได้


แล้วโรคอ่อนเพลียเรื้อรังนี้คือโรคอะไรกันนะ?
          ต้องบอกว่า โรคที่ว่านี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอะไรหรอกนะ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตแบบผิด ๆ โดยเรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า Chronic fatigue syndrome (CFS) หรืออาจจะเรียกว่า โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ไร้เรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน
          มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่า พฤติกรรมอะไรที่ทำให้เรามีอาการไฮโปไกลซีเมียดังที่ว่า ง่าย ๆ เลยก็ อย่างเช่น การบริโภคอาหารจำพวกแป้งขัดขาว น้ำตาล อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม พิซซ่า หรือขนมหวานมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทีนี้ ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลง พอระดับน้ำตาลลดลงไม่เท่าไหร่ เราเกิดรับประทานอาหารจำพวกนี้เข้าไปอีก น้ำตาลในเลือดก็สูงขึ้นมาอีกแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาลดน้ำตาลอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแล้วลงต่ำสลับกันไปตลอดเวลา ซึ่งเท่ากับว่า ตับอ่อนก็ต้องทำงานตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

          นอกจากนั้นแล้ว ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมอันเป็นพิษ ความเครียด ความรีบเร่ง ความยุ่งเหยิงในการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันกับเวลา นอนดึก ก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เหนื่อยได้ง่าย ๆ และยิ่งใครทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ยิ่งซ้ำเติมให้เจ็บป่วยหนักขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
อาการอะไรบ่งบอกว่าเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
          ทีนี้ลองมาดูกันค่ะว่า อาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังถูกโรคยอดฮิตชนิดนี้คุกคาม โดย อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กล่าวว่า ผู้ที่อาจถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไฮโปไกลซีเมียนั้น จะมีอาการอ่อนเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้ แถมยังนอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว ระบบขับถ่ายทั้งหนักเบาก็รวนเรไปหมด แต่ถึงกระนั้น หากสรุปโดยรวมแล้วยังมีอีกหลายอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ และแพทย์จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มความผิดปกติทางร่างกาย คือ

          อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
          ปวดหัว-เวียนศีรษะ
          นอนไม่หลับ
          เหงื่อแตกบ่อย ๆ
          มือสั่น
          ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
          เป็นตะคริวบ่อย
          เกิดการชักกระตุก
          คันตามผิวหนัง
          หน้าร้อนผ่าวบ่อย ๆ
          มีอาการภูมิแพ้
          มือเท้าเย็น
          เนื้อตัวชาบางครั้ง
          การทรงตัวไม่ดี
2.กลุ่มความผิดปกติของระบบต่าง ๆ คือ

          ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปากแห้งคอแห้ง
          เบื่ออาหาร
          อยากกินของหวาน ๆ
          หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลากินอาหาร
          ถ่ายอุจจาระผิดปกติ
          ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
          หายใจไม่ค่อยออก
          ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลก ๆ
          หัวใจเต้นผิดปกติ
          เป็นลมบ่อย ๆ
          อ้วน-น้ำหนักเกิน
          กามตายด้าน
3.กลุ่มความผิดปกติทางจิตใจ และระบบประสาท
          รู้สึกเบื่อหน่าย
          ฟุ้งซ่านขาดสมาธิ
          วิตกกังวลโดยง่าย
          ลังเลตัดสินใจไม่ได้
          รู้สึกสับสนปั่นป่วน
          ทนเสียงอึกทึก และแสงจ้า ๆ ไม่ได้
          เบื่อการพบปะเพื่อนฝูง ไม่ชอบเข้าสังคม
          การประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเลวลง
          โมโหง่าย
          ฝันร้ายบ่อย
          ความจำเสื่อม
          มีอาการทางประสาท
          อยากฆ่าตัวตาย
           อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน บางอาการอาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก โดยมีอาการหลัก ๆ คือ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง ทั้งที่นอนมาหลายชั่วโมงแล้ว แต่กลับไม่รู้สึกสดชื่นเลย อยากนอนตลอดเวลา บางคนนั่งทำงานไปได้ถึงตอนบ่าย ๆ เกิดรู้สึกง่วงเพลียจนอยากหลับเลยทีเดียว แถมยังสมองมึนซึม ปวดเนื้อปวดตัว รวมทั้งระบบขับถ่ายจะมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ลำไส้แปรปรวน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ก็ส่งสัญญาณว่า โรคไฮโปไกลซีเมียกำลังมาเยือนคุณแล้วล่ะ
มาดูแลตัวเองกันดีกว่า
          เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย หรือใครที่มีอาการดังข้างต้นแล้ว ก็ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่แล้วล่ะ เรามีข้อแนะนำดังนี้

          1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยงดเติมน้ำตาลในอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด

          2.ปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่นฮอร์โมนอะดรีนาลีน ไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมามาก จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ความเครียด ยังนำไปสู่โรคต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งยังทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลงอีกต่างหาก

          3.ก่อนนอนไม่ควรทานอาหารหนัก ๆ รวมทั้งดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนผสม เพราะจะทำให้หลับยาก ยิ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น

          4.อย่าเปิดไฟเวลานอน และพยายามอย่าให้มีแสงเล็ดลอดเข้าไปในห้องนอน เพราะจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ
          5.ฝึกหายใจ หรือนั่งเงียบ ๆ สัก 5 นาที ก่อนนอน เพื่อผ่อนคลายความเครียด
          6.ออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับใครที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ควรออกกำลังแต่พอควร อย่าหนักมากเกินไป เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ร่างกายทรุดลงไปอีก
          7.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ซึมเศร้า และไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป
          8.ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียด

          9.หากมีอาการเครียดบ่อย ๆ ให้ฝึกทำสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้สงบ

          10.พยายามเข้านอนแต่หัวค่ำ อย่าออกไปเที่ยวกลางคืนบ่อยนัก

          11.ในรายที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาแพทย์ และอาจรับประทานวิตามินบีเสริมเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้า

          รู้จักโรคนี้กันไปแล้ว หนุ่มสาวชาวเมืองคนไหนที่มีอาการดังข้างต้น ก็อย่าลืมรักษาสุขภาพตัวเองให้มาก ๆ

 

ที่มา : http://health.kapook.com/view3853.html

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,382
Page Views2,003,300
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view