http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคท่อปัสสาวะตีบ

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture

โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

         โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรืออยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุดกั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลัง...
 

โรคท่อปัสสาวะตีบ urethral stricture 

เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดในท่อปัสสาวะหรือ

อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอุด

กั้นของน้ำปัสสาวะ ซึ่งต่อมาจะเกิดการอักเสบ และการติดเชื้อตามมาในภายหลัง

โรคท่อปัสสาวะตีบเป็นปัญหาสำหรับผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้ชายมีความยาวมากกว่าของผู้หญิงมาก จึงเกิดพยาธิสภาพหรือเกิดภยันตรายได้ง่าย

ท่อปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามส่วน

  1. ส่วนแรกเป็นท่อปัสสาวะที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะผ่านต่อมลูกหมาก เรียกว่า prostatic urethra
  2. ส่วนที่สองเป็นกล้ามเนื้อเรียบทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า membranous urethra ทั้งสองส่วนรวมกันมีความยาว 1-2 นิ้ว
  3. ส่วนที่สามเรียกว่า bulbar urethra และ penile urethra เป็นส่วนของท่อปัสสาวะที่อยู่ภายในองคชาติ ส่วนที่สามนี้มีความยาว 9-10 นิ้ว

สาเหตุ

  1. เกิดจากอุบัติเหตุและภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ
  2. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหนองใน (gonorrhea)
  3. กรณีท่อปัสสาวะส่วนด้านหลังตีบ อาจเกิดจากกระดูกเชิงกรานแตกหักจากอุบัติเหตุรถยนต์หรืออุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม
  4. เกิดจากการใส่สายสวนท่อปัสสาวะ
  5. ในบางรายเกิดภายหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมาก การผ่าตัดนิ่วในไต

อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ปริมาณน้ำปัสสาวะน้อย ไม่พุ่ง อาจพบเลือดในปัสสาวะ หรือปวดท้องได้

การวินิจฉัยโรค

แพทย์วินิจฉัยโรคจากลักษณะประวัติอาการและการตรวจร่างกาย การตรวจทางระบบทางเดินปัสสาวะ การถ่ายภาพรังสี การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้อง การตรวจพิเศษทางรังสีที่เรียกว่า retrograde urethrogram ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้เป็นอย่างดี ทำให้ทราบถึงจำนวน ตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบ วิธีตรวจทำโดยฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในท่อปัสสาวะไม่ต้องใช้สายสวน

การตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ และการตรวจโดยการส่องกล้องที่เรียกว่า urethroscopy ช่วยในการวินิจฉัยเป็นอย่างมาก และช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

แนวทางการรักษาโรค

การรักษาโรคท่อปัสสาวะตีบทำได้หลายวิธี ขึ้นกับตำแหน่ง ความยาว และความรุนแรงของการตีบตันที่เกิดขึ้น ในเบื้องต้นแพทย์อาจพิจารณาถ่างขยายท่อปัสสาวะ โดยใช้สายสวนหรือบอลลูน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดรักษา วิธีที่ได้รับความนิยมคือผ่าตัดโดยใช้กล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ บางรายแพทย์อาจพิจารณาใส่ตาข่ายถ่างขยายค้างไว้ในท่อปัสสาวะ

 นอกจากนี้ ยังมีวิธีผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมท่อปัสสาวะได้อีก 2-3 วิธี ขึ้นกับข้อบ่งชี้และความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ภายหลังการผ่าตัด ท่อปัสสาวะอาจตีบซ้ำได้ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์เป็นระยะๆ เพื่อประเมินอาการแต่เนิ่นๆ

การป้องกันไม่ให้ท่อปัสสาวะตีบ สิ่งสำคัญต้องไม่ให้เกิดภยันตรายต่อท่อปัสสาวะ การใส่สายสวนปัสสาวะที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ให้หายขาด ไม่ปล่อยให้เป็นเรื้อรัง

 ที่มา : http://www.108health.com/108health/topic_detail.php?mtopic_id=704&sub_id=59&ref_main_id=15

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,167
Page Views2,003,083
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view