http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคปอดเรื้อรัง

โรคปอดเรื้อรัง Chronic Lung Diseases


โรคปอดเรื้อรังเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง ชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียก เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคถุงลมโป่งพอง โรคอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังเหล่านี้ เกิดจากการระคายเคืองต่อเซลล์บุผนังหลอดลมและถุงลม ทำให้มีเสมหะมาก เกิดการอักเสบต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และส่งผลให้สมรรถภาพการทำงานของปอดและระบบทางเดินหายใจลดลง
สาเหตุของโรค
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะต้องมีการสูดเอาควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย โดยผ่านเข้าไปในปอด สารพิษในควันบุหรี่ที่มีมากมายก่อให้เกิดอันตรายต่อเนื้อปอดและหลอดลม ระยะแรกๆ จะมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะร่วมด้วย เป็นหวัดง่ายแต่หายช้า หลอดลมอักเสบบ่อยๆ และหายช้าหากยังสูบบุหรี่อยู่ อาการก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะต่อมาจะมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นเรื่อยๆ หน้าอกบวมโป่ง หายใจมีเสียงวี้ดในอก ออกกำลังได้น้อย ขึ้นบันไดหรือเดินเร็วๆ ก็เหนื่อยแล้ว
หากไม่หยุดบุหรี่หรือได้รับการรักษาไม่ดีพอ แม้จะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็จะเหนื่อย เช่น เดินไปมาในบ้านก็เหนื่อย และระยะสุดท้ายอยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย ไม่สามารถทำอะไรได้เลย เหมือนคนพิการ ต้องนอนเฉยๆ และต้องใช้ออกซิเจน ช่วยในการหายใจตลอดเวลา เนื่องจากถุงลมถูกทำลายจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีก
ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในชาวตะวันตก คือ ภาวะพร่องเอ็นซัยม์อัลฟาวันแอนติทริปซิน กลุ่มนี้ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม อาการปรากฎเด่นชัดในช่วงวัยกลางคน ผู้ป่วยมักจะไม่สูบบุหรี่ ในประเทศตะวันตกพบได้ร้อยละ 3 ของโรคปอดเรื้อรังทั้งหมด
อาการของโรค
ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง อาจนี้มีอาการแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย จนมากถึงขนาดไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง
และบางครั้งทำให้สูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดดูแลรักษาเป็นอย่างดีทั้งจากแพทย์และจากสมาชิกในครอบครัว
       ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง มักจะมีอาการไอเป็นเลือดได้บ่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่โรคกำลังกำเริบ ผู้ป่วยไอมาก ไอรุนแรง เสมหะข้นเหนียวและ มีหนองปน เลือดที่ปนออกมาไม่มากเท่าใดนัก ที่สำคัญคือ อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอดที่เกิดขึ้นร่วมด้วยได้ จึงควรไปพบแพทย์และตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรค
สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง คือ การประเมินความรุนแรงของโรคในขณะนั้น บางครั้งโรคจะอยู่ในระยะสงบ ผู้ป่วยสบายดีหรือมีอาการหอบเหนื่อยเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางครั้งอาการอาจรุนแรงมาก อาการหอบเป็นมากขึ้น รู้สึกเหนื่อย กินอาหารไม่ได้ นอนไม่ได้ อาการต่างๆ เกิดจากการที่ร่างกายพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากระบบหายใจที่บกพร่องไป และเป็นผลโดยตรงจากการดำเนินของโรค
          เมื่อมาพบแพทย์สิ่งสำคัญที่ช่วยในการประมินความรุนแรงของโรค คือ การตรวจวัดสมรรถภาพของปอดและทางเดินหายใจ ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมืออาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่ผลการตรวจจะช่วยให้แพทย์วางแนวทางการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการบำบัดดูแลผู้ป่วยโรคนี้
        นอกจากนี้ ระดับของความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในเลือด ก็ถือว่าเป็นดัชนีที่มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคเช่นกัน ระดับความเข้มข้นของอ๊อกซิเจนที่น้อยกว่าปกติมากย่อมแสดงถึงการกำเริบของโรคซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของปอดและระบบทางเดินหายใจ
        ในทางปฏิบัติ สามารถตรวจวัดระดับความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในเลือดได้โดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง ซึ่งแตกต่างจากการเจาะเลือดทั่วไปซึ่งจะเจาะจากหลอดเลือดดำ เมื่อนำเลือดมาทำการตรวจวิเคราะห์ก็จะสามารถทราบถึงความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งดัชนีอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงระดับออกซิเจนในเลือด ผลการตรวจดังกล่าวช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้เป็นอย่างดี
           อีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมาก คือ การตรวจวัดระดับก๊าซออกซิเจนในเลือดโดยไม่ต้องเจาะเลือด ใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์สวมเข้าที่ปลายนิ้วนำไปคำนวณเป็นระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลที่ได้มีความถูกต้องแม่นยำเป็นอย่างยิ่ง นิยมใช้ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ หรือนำมาใช้กับแผนกผู้ป่วยนอกได้เป็นอย่างดี การตรวจวัดระดับก๊าซออกซเจนในเลือดในเลือดด้วยวิธีออกซิเมตรี้ยังนิยมใช้ในขณะออกกำลังกายและขณะนอนหลับ ช่วยในการประเมินสภาพการทำงานของปอดได้เป็นอย่างดี
แนวทางการรักษา
ยาที่ควรรู้จักกลุ่มแรก คือ ยาขยายหลอดลม หรือเรียกเต็มๆ ว่ายาออกฤทธิ์ขยายหลอดลม ซึ่งมีทั้งชนิดกินและพ่น ทั้งชนิดออกฤทธิ์ยาวและออกฤทธิ์ในระยะสั้น ปัจจุบันนิยมใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นที่ออกฤทธิ์นาน ส่วนยาขยายหลอดลมชนิดพ่นที่ออกฤทธิ์รวดเร็วมีประโยชน์ในกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการหอบ การเลือกใช้ยาเหล่านี้ตามคำแนะนำของแพทย์ช่วยให้การดูแลรักษาโรคดีขึ้นมาก บ่อยครั้งช่วยให้อาการของโรคที่กำลังจะกำเริบบรรเทาทุเลาลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาพ่นให้ถูกวิธีช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาในขนาดและปริมาณที่เหมาะสม ปัจจุบันเทคนิกการพ่นยาง่ายขึ้นมากและไม่ยุ่งยากเหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามละเลยไป
ในกรณีที่อาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้ใช้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดี บรรเทาอาการต่างๆ ได้มาก นิยมใช้ในระยะกำเริบเพื่อควบคุมอาการให้กลับสู่ปกติ ไม่นิยมใช้ต่อเนื่องเนื่องจากเป็นยาที่มีผลข้างเคียงมาก และจำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยานี้ ร้อยละ 10%-15% ของผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ตรวจพบสมรรถภาพของปอดดีขึ้นภายหลังการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ปัจจุบันนิยมใช้ชนิดพ่นมากกว่าชนิดรับประทานหรือฉีด
        การใช้ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่า ยาอักเสบ ไม่จำเป็นต้องใช้ในทุกกรณี หากพบว่าหรือมีหลักฐานชวนให้สงสัยว่าเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้ยาดังกล่าว ส่วนวัคซีนหลายชนิดได้รับการแนะนำให้ฉีดในผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ได้แก่ วัคซีนเชื้อนิวโมคอคคัส ทุก 5 ปี และวัคซีนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุก 1 ปี
          ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังบางรายได้ผลดีจากการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก นิยมใช้ตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ข้อดีของอุปกรณืชนิดนี้คือสามารถลดการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากพอสมควร และยังสามารถปรับระยะเวลาการใช้เครื่องได้ตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย

นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

ที่มา : http://www.skhospital.com/skmessage/viewtopic.php?t=955&sid=1f90e2cad22e81b68e0e5d6eebb6f073

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ การสูบบุหรี่ โดยโรคนี้ประกอบไปด้วยโรค 2 ชนิดย่อย คือ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง  โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรังเป็นๆหายๆ อย่างน้อยปีละ 3 เดือนและเป็นอย่างน้อย 2 ปีติดต่อกัน  ส่วนโรคถุงลมโป่งพองนั้นเกิดจากถุงลมโป่งพองตัวออกทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติไป  โดยทั่วไปเรามักพบ 2 โรคนี้เกิดร่วมกันและแยกออกจากกันได้ยาก

อาการเป็นอย่างไร
ในช่วงที่เป็นระยะแรกๆ จะไม่มีอาการ แต่ถ้าปอดถูกทำลายมากขึ้นจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง  หอบเหนื่อย  หายใจมีเสียงวี๊ดๆ

ถ้าไปพบแพทย์ แล้วแพทย์จะวินิจฉัยได้อย่างไร
โดยทั่วไป แพทย์จะซักประวัติการสูบบุหรี่ อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นจึงตรวจเอ็กซเรย์ปอดและในบางรายอาจทำการตรวจสมรรถภาพปอดเพิ่มเติม

ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นโรคนี้แล้ว  ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

1.   อย่างแรกสุดคือ ควรหยุดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้น

2.   ควรฝึกหายใจบ่อยๆ จะทำให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจแข็งแรง ต้องทำเป็นประจำจึงจะได้ผล  ทำตอนว่างๆ ตอนไหนก็ได้ วิธีการฝึกมีดังนี้
- ให้หายใจเข้าทางจมูก ปล่อยหน้าท้องให้ป่อง
- ห่อปาก แล้วหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ พร้อมกับแขม่วท้อง
- ให้หายใจออกยาวกว่าหายใจเข้า

3.   ออกกำลังกายเป็นประจำ  แต่ควรปรึกษาแพทย์ด้วยนะครับว่าสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด

4.   ระวังการติดหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ โดยไม่คลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดอยู่ไม่ไปในที่ที่มีคนแออัด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

5.   ไม่ให้ท้องผูก เนื่องจากการเบ่งอุจจาระมากๆ  อาจทำให้หอบเหนื่อยได้

6.   หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง  ควันต่างๆ และหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็น

7.   ดื่มน้ำมากๆ  ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด หรือไอสกรีมเย็นๆ

8.   พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ

9.   ไปพบแพทย์สม่ำเสมอ  ไม่ขาดยา  โดยเฉพาะยาพ่นแก้หอบ ควรพกติดตัวตลอดเวลาและตรวจเช็คว่ายังมีปริมาณเพียงพอก่อนจะถึงนัดการตรวจครั้งต่อไป

10.  ตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี

ที่มา : http://www.carenursinghome.com/index.php/

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,392
Page Views2,003,310
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view