http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

วิธีการเลือกซื้อยา

เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย จำเป็นต้องอาศัยยา เพื่อบำบัดรักษา ในการซื้อยาทุกครั้ง ควรพิจารณาดังนี้

1. ซื้อยาจากร้านยาที่ได้รับอนุญาต และมีเภสัชกรประจำอยู่เท่านั้น

2. ยาวางจำหน่ายในตู้ที่สะอาด ไม่ร้อน หรืออับชื้นมากเกินไป

3. ภาชนะบรรจุยาสะอาด ฉลากยาอ่านชัดเจน ชื่อยาที่ปรากฎ มี 2 ชนิด คือ ชื่อสามัญ (generic name) และ ชื่อการค้า (trade name)

      -  ชื่อสามัญ เป็นชื่อเรียกตามสูตรทางเคมี หรือเป็นส่วนประกอบของสารประเภทใด เช่น แอสไพริน (aspirin) เป็นชื่อเรียกสูตรเคมีของยาแก้ปวด แต่ชื่อสามัญจะเป็นชื่อที่ค่อนข้างยาว และจำได้ยาก ทำให้ไม่เป็นที่นิยมจำ
      -  ชื่อการค้าเป็นชื่อที่ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายยานั้น เป็นผู้ตั้งและขอจดทะเบียนไว้กับกระทรวสาธาราณสุข

การตั้งชื่อทางการค้า จะเป็นชื่อที่น่าสนใจ จำง่าย

4. ไม่ควรซื้อยาตามตัวอย่างที่มีอยู่ เพราะยามีมากมาย ยาที่มีรูปร่างและสีเดียวกัน แต่ใช้รักษาโรคแตกต่างกันมีมาก ไม่ควรซื้อยาด้วยวิธีนี้

5. สอบถามวิธีใช้ยาที่ถูกต้องให้แน่ชัดจากผู้ขาย หรือที่ปรากฏบนฉลากยา
ขนาดยาที่ใช้
          ในกรณียาน้ำ การบอกขนาดเป็นช้อนชา ช้อนโต๊ะ สามารถเปรียบเทียบหน่วย มาตรฐานดังนี้
          1 ช้อนชา (มาตรฐาน) = 5 มิลลิลิตร = 2 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 1 ช้อนกินข้าว
          1 ช้อนโต๊ะ (มาตรฐาน) =15 มิลลิลิตร = 6 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 3 ช้อนกินข้าว

6. ยากลุ่มปฏิชีวนะ ควรซื้อในจำนวนที่รักษาโรคให้หายโดยคำแนะนำของ เภสัชกรประจำร้าน

7. ถ้าสามารถพาผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยมาซื้อได้ยิ่งดี เพราะเภสัชกร อาจต้องสอบถามอาการ เจ็บป่วย

8. ควรสอบถามอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น ควรบอกยาที่มี ประวัติแพ้ให้เภสัชกรทราบทุกครั้ง
เมื่อจะซื้อยา

9. เมื่อมีปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ควรรีบปรึกษาเภสัชกรประจำร้าน ที่ท่านซื้อยาทันที

10. เมื่อซื้อยาทุกครั้ง ควรอ่านสลากยาหรือเอกสารกำกับยา ซึ่งระบุ ชื่อยา วันผลิต และ วันหมดอายุยา ลักษณะยาไม่เสื่อมสภาพ และข้อห้ามใช้

"วันหมดอายุยา" ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ โดยทั่วไปดูจากวันผลิต กรณียาเม็ดไม่เกิน 5 ปี และกรณียาน้ำ และยาทาเฉพาะที่ไม่เกิน 3 ปี วันหมดอายุ อาจจะระบุเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ

 ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=030102&month=29-11-2006&group=1&gblog=10

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 10/03/2024
สถิติผู้เข้าชม1,738,163
Page Views2,003,079
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
view