http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

โรคร้อนใน ในปาก สาเหตุ กับ วิธีรักษา

แผลร้อนใน (Recurrent aphthous ulceration)
          เป็นโรคที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อบุผิวของช่องปากผลที่เกิดอาจเกิดเพียงหนึ่ง หรือหลายแห่ง ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก

สาเหตุ
          การเกิดแผลร้อนในมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สภาพทางจิตใจ และสังคม มักจะเกิดกับผู้มีรายได้น้อย มีความเครียดและมีการทำงานที่มีการแข่งขันสูง อาจเกิดจากลักษณะทางกรรมพันธุ์ และภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก,โฟเลต หรือวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังพบได้ในผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน

 ลักษณะแผลร้อนใน
          1. แผลร้อนในขนาดเล็ก (minor aphthous ulceration)
          แผลลักษณะนี้พบได้บ่อยในกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 15 - 45 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย มักพบบริเวณเยื่อเมือกด้านริมฝีปาก ด้านแก้ม, กระพุ้งแก้ม และขอบของลิ้น รอยโรคมักปรากฏอยู่ในช่องปากประมาณ 14 วัน และมีอาการเจ็บปวดในช่วงสั้น ๆ แต่เมื่อเยื่อบุผิวในช่องปากฉีกขาด จะเป็นแผลซึ่งมีลักษณะกลมรี มีสีเหลืองอ่อน จะมีความเจ็บปวดมากขึ้น

          2. แผลร้อนในขนาดใหญ่ (major aphthous ulceration)
          แผลชนิดนี้พบได้น้อยกว่าแผลขนาดเล็ก แผลขนาดใหญ่นี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวด การรับประทานอาหาร การพูด การกลืนน้ำลายจะยากลำบาก พบได้ทุกบริเวณในช่องปาก การหายของแผลกินเวลาประมาณ 10 -40 วัน มักพบลอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่

          3. แผลชนิดคล้ายเฮอร์ปีส์ (herpetiform ulceration)
          แผลที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายแผลขนาดเล็กพบได้บ่อยบริเวณใต้ลิ้น เพดานอ่อน ริมฝีปาก ด้านใน ลักษณะแผลจะเป็นกลุ่ม และเจ็บปวด หายได้ภายใน 7 - 14 วัน ผู้ป่วยมักกลืนลำบาก และ น้ำหนักลด เนื่องจากรับประทานอาหารลำบากและไม่เพียงพอ   

การรักษาแผลร้อนใน
          ในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาด โดยไม่ปรากฏอาการเกิดขึ้นมาอีก ดังนั้นการรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาไปตามอาการโดยให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้ 
          1.ไทรแอมซิโนโลนอะเซทโทไนด์ ชนิดขี้ผึ้ง 0.1% ทาวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
          2. ฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% สารละลายหรือชนิดขี้ผึ้ง ทาวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารหรือ อาจใช้ คลอร์
เฮ็กซิดีนกลูโคเนต 0.2 - 1% ใช้อมบ้วนปาก 10 มิลลิลิตร อม 1 นาที วันละ 2 ครั้ง (เช้า - เย็น) หรือหลังอาหาร

สี่งที่ควรทําเมื่อเกิดแผลร้อนใน
          หลีกเลื่ยงอาหารเค็มจัดและอาหารที่มีกรดหรือรสเปรื้ยว  เช่น  ผักดอง  รวมไปถึงขนมหวานที่เคื้ยวจนเหนืยว  รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์อาจทําให้อาการแผลในปากที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น  นอกจากนั้นควรบ้วนปากด้วยนําเกลือวันละ  2 ถึง 3 ครั้ง และถ้าแผลไม่หายภายใน 3 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์

          พึงระลึกไว้ว่า แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกําลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตนเองให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้เหมาะสม นอนหลับอย่างเพืยงพอและออกกําลังกายกลางแจ้งในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจํา จะช่วยลดความเสื่ยงจากโรคนี้ลงไปได้

ที่มา : sanook.com / สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=2424

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 24/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,743,746
Page Views2,008,911
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view