http://www.consumerprotection.or.th
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค  เกี่ยวกับสมาคม  ผลการดำเนินงาน  สมัครสมาชิก  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อออนไลน์
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผู้บริโภค
ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ด้านบริการทางการแพทย์
ด้านอสังหาริมทรัพย์
ด้านอื่น ๆ
บทความ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง




 

รู้จัก “ภาวะใจสั่น”

ภาวะใจสั่น คือการรับรู้การเต้นของหัวใจเร็วหรือแรงขึ้น การรู้สึกอาจกินเวลาเป็นวินาที นาที ชั่วโมง หรือเป็นวัน ซึ่งอาจมีสาเหตุโดยการการเต้นของหัวใจช้าเกินไป เร็วเกินไป แรงเกินไป หรือเต้นผิดจังหวะมากกว่าปกติ ภาวะใจสั่นพบได้บ่อยและส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย การเต้นที่ผิดจังหวะมักสำมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงวงจรไฟฟ้าของหัวใจ โดยอาจเกิดจาก หลอดเลือดในหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การเสื่องของลิ้นหัวใจ หรือเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติของตัวมมันเองง

 ในถาวะปกติของการเต้นของหัวใจ อยู่ภายใต้จุดกำเนิดออโตเมติกหรือจุดกำเนิดไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่เรียกว่า เอสเอ โหนด ซึ่งอยู่ที่หัวใจห้องขวาบน ถ้ามีจุดอื่นๆ ในหัวใจสามารถก่อกำเนิดจุดไฟฟ้าเองได้เรียกว่า การกระตุกหรือการกระตุ้นไฟฟ้า หรือวงจรไฟฟ้าผิดปกติ ซึ่งจะรู้ได้ง่ายช่วงออกกำลังกาย ขณะที่มีการหลั่งสารอดรีนาลินออกมา หรือขณะอยู่เฉยๆ ช่วงที่หัวใจเต้นช้าหรือมีการเบี่ยงเบนจากการเต้นให้ใจช่วงที่ปกติ อาจจะเป็นช่วงของปกติได้ที่จะมีการเต้นผิดจังหวะบ้างและบางคนก็รับรู้ได้ว่ามีการกระตุกของหัวใจ

 สารกาเฟอีน เหล้า ภาวะเครียด อ่อนเพลีย ภาวะขาดสารน้ำ เจ็บป่วย ภาวะไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานมากเกินไป และยาบางชนิด อาจกระตุ้นภาวะใจสั่นมากขึ้น การเต้นของหัวใจเร็วเกินไปหรือใจเต้นเร็วที่เกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติมักเกิดขึ้นในทันทีทันใด และหยุดทันทีทันใด บางครั้งเป็นการยากที่จะชี้วัดได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใดและหยุดเมื่อใด

 ภาวะหัวใจเต้นเร็วมากๆ อาจจะมีการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อย หรือเวียศีรษะ บสงครั้งหัวใจเต้นเร็วมากจนไม่สามารถพยุงความดันโลหิต ก็อาจเกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะได้

 ถ้าอาการเกิดขึ้นขณะอยู่เฉยๆ เริ่มต้นและหยุดทันทีทันใด โดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ หรือสัมพันธ์กับอาการเวียน วูบ หน้ามืด มักเกิดจากวงจรไฟฟ้าเต้นผิดปกติ มากกว่าภาวะตื่นเต้น เครียด หรือการออกกำลังกาย ซึ่งมักมีการเต้นเร็ว ค่อยๆ เป็น และบ่อยๆ เต้นช้าลง

 การวินิจฉัยเพื่อค้นหาว่ามีการเต้นของหัวใจผิดปกติบ้างไหมที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการ บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหัวใจเต้นแรงได้ช่วงที่ตะแคงซ้ายในช่วงกลางคืน หรือระหว่างที่ตื่นเต้นตกใจ หรือช่วงเครียด วิธีที่ดีที่สุดของการวินิจฉัยคือการทำกราฟหัวใจช่วงเกิดอาการ ถ้าอาการผิดปกตินานพอที่จะไปทำกราฟหัวใจที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือถ้าเป็นไม่นานพอก็อาจต้องติดการเต้นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงไปที่บ้าน นอกจากนี้การเดินหรือวิ่งสายพานอาจจะพบกับการเต้นผิดปกติขณะที่มีการบันทึกการเต้นหัวใจ

 การรักษา

การรักษาหัวใจในภาวะใจสั่นขึ้นอยู่กับการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันขนาดไหน และรุนแรง หรืออันตรายของการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ในถาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง คงจะไม่ต้องใช้ยา คงให้แค่คำแนะนำหรือการแก้ไขบางอย่างเช่น การเป่าลมไปที่ทวาร หรือใช้ใบหน้าจุ่มลงไปในน้ำเย็น 1-2 นาที ถ้าอาการเกิดจากวงจรไฟฟ้าผิดปกติ เป็นบ่อยหรือรุนแรงก็อาจจะต้องใช้ยา หรือการจี้เส้นด้วยกระแสไฟฟ้าหรือสายเย็น เพื่อทำให้วงจรไฟฟ้านั้นหายไป

 การจี้ คือการใส่สายสวนขนาดเล็กๆ ขึ้ที่ขาหนีบไปที่ภายในห้องหัวใจ เพื่อค้นหาจุดำเนิดที่ผิดปกติแล้วทำการจี้ด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อให้จุดกำเนิดนั้นหายไป บางครั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องใช้ยาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวงจรไฟฟ้าจะช่วยในการตัดสินใจในการรักษาท่าน

 ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก 
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28245

 
Menu
หน้าแรก
เครือข่ายผู้บริโภค
ศูนย์ราชการสะดวก
สื่อวิทยุสมาคม
ข่าวสาร
สรุปกิจกรรม 2566
สรุปกิจกรรม 2565
สรุปกิจกรรม 2564
สรุปกิจกรรม 2563
สรุปกิจกรรม 2561
สรุปกิจกรรม 2560
สรุปกิจกรรม 2559
สรุปกิจกรรม 2558
สรุปกิจกรรม 2557
สรุปกิจกรรม 2556
สรุปกิจกรรม 2555
สรุปกิจกรรม 2554
สรุปกิจกรรม 2553
สรุปกิจกรรม 2562
การร้องเรียน
ติดต่อเรา
แผนผังเว็บไซต์
สถิติเรื่องร้องเรียน
สมัครสมาชิก
เว็บบอร์ด
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 09/12/2010
ปรับปรุง 17/04/2024
สถิติผู้เข้าชม1,740,460
Page Views2,005,568
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
view